สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมกับ กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงดิจัทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2561 “ECO Innovation Forum 2018” ภายใต้แนวคิด Toward the Smart Eco-city and Sustainable Urbanization โดยมี นางสาวสมจิณณ์ พิลึก รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ให้เกียรติเป็นประธานร่วมในพิธีเปิดและพิธีมอบโล่ Eco IndustrialEstate, Eco Factory, Eco Industrial Town และ I-EA-T Zero Accident Award โดยงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2561 “ECO Innovation Forum 2018” นี้ จัดขึ้นในวันที่ 27-28 กันยายน 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การพัฒนาเมืองของประเทศไทยยังกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นหลัก และไทยมีโครงสร้างระบบเมืองที่ไม่สมดุล มีเพียงกรุงเทพฯ ที่เจริญเติบโตสูงกว่าเมืองรองอื่นๆ อย่างชัดเจน และรัฐบาลเน้นพัฒนาเฉพาะบางกลุ่มจังหวัดในบางภูมิภาคเท่านั้น ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในด้านรายได้ระหว่างจังหวัดเล็กและจังหวัดใหญ่ ดังนั้น แนวทางการแก้ไข ลดปัญหาการกระจุกตัวของเมืองจำเป็นต้องมีการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน สร้างความมั่งคั่งและกระจายความมั่งคั่งไปยังภูมิภาคต่างๆ โดยใช้ศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาในแต่ละพื้นที่ อาทิ การกระจายเมืองขนาดต่างๆ ในภูมิภาคต่างๆ และมีการเชื่อมโยงคมนาคมระหว่างเมืองอย่างเหมาะสม รวมไปถึงการวางแผนจัดการพื้นที่เมือง (Zoning) อย่างเป็นระบบ อาศัยเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ ทุกคนสามารถเข้าถึงทรัพยากรทางเศรษฐกิจได้อย่างเท่าเทียม ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้ และควรจัดหาวัสดุก่อสร้างและอาคารอัจฉริยะ ระบบขนส่งอัจฉริยะ โครงสร้างพื้นฐานของสังคมที่อัจฉริยะ และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ โดยยึดหลักการพัฒนาโดยเอามนุษย์เป็นศูนย์กลาง ให้เกิดการพัฒนาคนอัจฉริยะ รองรับอย่างเพียงพอ และทุกคนใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะทำให้เกิดศักยภาพทางเศรษฐกิจ เพิ่มอัตราการจ้างงาน การแบ่งพื้นที่ทางเศรษฐกิจและพื้นที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม และก่อเป็นชุมชนเมืองที่มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับอย่างเป็นระบบ

ทั้งนี้ ส.อ.ท. มีความพร้อมและสามารถรองรับการพัฒนาดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันมีการทางานเชื่อมโยงระหว่างคลัสเตอร์อุตสาหกรรมต่างๆ และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดแล้ว และผลที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ ความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมและยกระดับมาตรฐานสินค้า เพื่อรองรับนโยบาย Made in Thailand ส่งเสริมสร้างสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ตัวอย่างเช่น

คลัสเตอร์วัสดุก่อสร้าง สามารถผลักดันการสร้างเมืองอัจฉริยะ ในการใช้วัสดุก่อสร้างที่ผลิตในประเทศ การออกแบบบ้านที่เน้นคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Smart Building) เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการก้าวสู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในอนาคต ภายใต้แนวคิด “บ้านเมืองไทย อยู่สบายแบบไทย ให้คุณค่าเรื่องประหยัดพลังงาน” เช่น เหล็ก หลังคา อลูมิเนียม ปูนซีเมนต์ เซรามิก เป็นต้น

ส่วนคลัสเตอร์วิศวกรรมเครื่องจักรกลและงานโลหะ ช่วยส่งเสริมระบบการขนส่งสาธารณะอัจฉริยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การใช้ระบบขนส่งทางราง หรือการผลิตรถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบขนส่งมวลชนรางเบา (LRT) การใช้ไอที เชื่อมโยงระบบการขนส่ง และเครื่องยนต์สาหรับรถยนต์ใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

ทั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมฯ โดยสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน ยังมีความต้องการให้เกิดเมืองที่ยั่งยืน มีองค์ประกอบที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของคน มีสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะที่ดีสำหรับคนในเมือง สร้างพื้นที่เมืองที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ รวมถึงสร้างสภาพแวดล้อมเมืองที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของเมืองในด้านต่างๆ อย่างเต็มประสิทธิภาพ บนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สำหรับงานในวันนี้ ยังได้จัดให้มีพิธีมอบโล่เกียรติยศให้กับสถานประกอบการอุตสาหกรรมและนิคมคมอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ แบ่งเป็นระดับดังนี้ ระดับ Eco-Excellence จำนวน 4แห่ง นิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับ Eco-Champion จำนวน 23 แห่ง โรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) จำนวน 60 แห่ง โรงงานที่ได้รับ I-EA-T Zero Accident Award จำนวน 56 แห่ง และจังหวัดที่ได้รับการประเมินเป็น Eco Industrial Town จำนวน 14 จังหวัด

นอกจากนี้ ภายในงานยังได้จัดสัมมนาวิชาการ ที่ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิและวิทยากรทั้งจากภาครัฐและเอกชนมาบรรยายในหัวข้อต่างๆ อาทิ การขับเคลื่อนเมืองสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (Green City) Smart City เมืองอัจฉริยะ ยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อม และถอดรหัส Eco Industrial Town สำหรับการสัมมนาในปีนี้คาดว่าจะได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม นักวิชาการ และภาคประชาชน ประมาณ 1,000 คน นายสุพันธุ์ กล่าว.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here