จากสถานการณ์เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1/2562 เศรษฐกิจโลกค่อนข้างชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะ เศรษฐกิจจีน ที่ดัชนี PMI ภาคการผลิต ในช่วงต้นไตรมาส ปรับตัวอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 แสดงว่าอยู่ในภาวะหดตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากมาตรการทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทำให้องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ประกาศปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ และปีหน้า สู่ระดับ 3.3% และ 3.4% ตามลำดับ รวมทั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า ถ้า ประเทศปรับเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าทั้งหมด 25% จะทำให้การค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนอาจหดตัวลงราว 30-70% ในระยะยาว รวมทั้ง GDP ที่แท้จริงของสหรัฐจะหดตัวลงในช่วง –0.3 ถึง –0.6% และ GDP ของจีนจะหดตัวลง –0.5 ถึง –1.5%

สำหรับ GDP ของประเทศไทยในไตรมาส 4/2561 อยู่ที่ระดับ 3.7 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ระดับ 3.2 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการส่งออกสินค้าและบริการ และ GDP ไตรมาส 4/2561 ของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และอินเดีย อยู่ที่ 2.2, 6.4, 1.9 และ 7.0 แต่ราคายางในไตรมาสที่ 1/2562 ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับปัจจัยหนุนจากมาตรการแก้ปัญหาเร่งด่วนจากหน่วยงานภาครัฐ และสัญญาณตลาดล่วงหน้าต่างประเทศมีแนวโน้มขาขึ้น

จากสถานการณ์ราคายางไตรมาสที่ 1/2562 ภาพรวมราคายางปรับตัวเพิ่มขึ้น ราคายางแผ่นดิบเฉลี่ย ณ ตลาดกลางยางพาราอยู่ที่ 45.39 บาท/กก. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.94 บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ 15.06 ราคายางแผ่นรมควัน ชั้น อยู่ที่ 48.23 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.67 บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ 16.05 และราคายางแผ่นดิบท้องถิ่น อยู่ที่ 43.54 บาท/กก. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.73 บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ 15.15 ราคาน้ำยางสดอยู่ที่ 43.67 บาท/กก. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.64 บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ 14.84 และราคาเศษยางอยู่ที่ 37.30 บาท/กก. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.53 บาท/กก. คิดเป็น ร้อยละ 10.45 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าต่างประเทศที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ดังนี้

1) ตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์ ราคาซื้อขายยางพาราไตรมาส 1/2562 ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) อยู่ที่ 163.69เซนต์สหรัฐฯ/กก. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 24.14 เซนต์สหรัฐฯ/กก. คิดเป็นร้อยละ 17.30 คิดเป็นเงินบาทโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 51.77 บาท/กก. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.98 บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ 13.06 และราคายางแท่ง STR 20 อยู่ที่ 139.21 เซนต์สหรัฐฯ/กก.ปรับตัวเพิ่มขึ้น 12.49 เซนต์สหรัฐฯ/กก. คิดเป็นร้อยละ 9.86 หากคิดเป็นเงินบาทจะอยู่ที่ 44.03 บาท/กก. ปรับตัว เพิ่มขึ้น 2.45 บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ 5.89 2) ตลาดล่วงหน้าโตเกียว ราคาซื้อขายยางพาราไตรมาส 1/2562 ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) อยู่ที่ 185.94 เยน/กก. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 37.79 เยน/กก. คิดเป็นร้อยละ 25.51 หากคิดเป็นเงินบาทจะอยู่ที่ 53.40 บาท/กก. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 10.33 บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ 23.99 3) ตลาดล่วงหน้าเซี่ยงไฮ้ ราคาซื้อขายยางพาราไตรมาส 1/2562 ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) อยู่ที่ 11,652.81 หยวน/กก. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 945.93 หยวน/กก. คิดเป็นร้อยละ 8.83 หากคิดเป็นเงินบาทจะอยู่ที่ 54.56 บาท/กก. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.77 บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ 7.43

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคายางในไตรมาสที่ 1/2562 ประกอบด้วย

1. มาตรการการแก้ไขปัญหาราคายางเร่งด่วนจากหน่วยงานภาครัฐที่ด่าเนินการอย่างต่อเนื่อง จากมติ ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ครั้งที่ 1/2561 ได้แก่ โครงการบรรเทาความเดือดร้อนเกษตรกร ชาวสวนยาง โครงการรณรงค์สร้างถนน หมู่บ้าน กิโลเมตร และโครงการส่งเสริมสถาบันเกษตรกรให้มีบทบาทรักษาเสถียรภาพราคายาง อีกทั้งโครงการช้อปยางล้อช่วยชาติ ตามข้อกหนดของกรมสรรพากร เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการใช้ยางในประเทศ

2. ปริมาณยางออกสู่ตลาดมาก เนื่องจากเกษตรกรมีผลิตผลยางออกสู่ตลาดมาก และสภาพอากาศเอื้ออกรวยต่อการกรีดยาง โดยเฉพาะยางแผ่นดิบ และยางแผ่นรมควันที่เข้าสู่ตลาดโดยภาพรวม ทั้ง ตลาด มีทั้งสิ้น 41,772.63 ตัน เพิ่มขึ้น 7,441.42 ตัน คิดเป็นร้อยละ 21.67 ในขณะที่ผู้ซื้อภายในประเทศยังคงมีความต้องการยางในการส่งมอบ

3. เศรษฐกิจโลกค่อนข้างชะลอตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน และญี่ปุ่น ในเดือนมกราคม – มีนาคม จาก PMI ภาคการผลิต ในไตรมาสที่ 1/2562 อยู่ที่ 49.5, 49.2 และ 50.5 ตามลำดับ และญี่ปุ่นอยู่ที่ 50.3, 48.5 และ 49.2 ตามลำดับ ในขณะที่สหรัฐฯ อยู่ที่ 56.6, 54.2, และ 55.3 ตามลำดับ ซึ่งดัชนี PMI เหนือระดับ 50 แสดงว่ามีการขยายตัว

4. ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อาจจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้พลังงานลดลง และสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด วันที่ 29 มีนาคม อยู่ที่ระดับ 12.2 ล้านบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้น 100,000 บาร์เรล/วัน เมื่อเทียบเป็นรายปี 5. ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้น และนักลงทุนกังวลในท่าทีการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งยังไม่มีปัจจัยใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด ในขณะที่ช่วงกลางไตรมาสที่ 1/2562 ตลาดคลายความกังวลสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ท่าให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากที่สุดในรอบ ปี

จากสถานการณ์ราคายางในไตรมาสที่ 1/2562 ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามความต้องการของผู้ซื้อภายในประเทศ จึงคาดว่าราคายางในไตรมาสที่ 2/2562 ราคายางมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากปัจจัย ดังนี้

1. ปริมาณยางเข้าสู่ตลาดน้อยลง เนื่องจากอยู่ในช่วงปิดกรีด โดยกรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศในช่วงเดือนเมษายนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด และเดือนพฤษภาคมเป็นเดือนเปลี่ยนจากช่วงฤดูร้อนเป็นฤดูฝน เริ่มฤดูเปิดกรีด ส่วนเดือนมิถุนายน จะมีฝนตกชุกในระยะครึ่งแรก จากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จึงคาดว่าปริมาณยางยังคงออกสู่ตลาดน้อย

2. ปริมาณสต็อกยางเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยสต็อกยางตลาดล่วงหน้าเซี่ยงไฮ้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2562 มีจำนวน 437.300 พันตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ที่ระดับ 9.629 พันตัน คิดเป็นร้อยละ 2.25 และสต็อกยางตลาดล่วงหน้าโตเกียว ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2562 มีจำนวน 12.095 พันตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ที่ระดับ 3.630 พันตัน คิดเป็น ร้อยละ 42.88

3. ดัชนี PMI ภาคการผลิตของประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน และสหรัฐฯ ในเดือนมีนาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้นเหนือระดับ 50 บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจมีการขยายตัว ในขณะที่ PMI ของญี่ปุ่น ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แต่นักลงทุนยังคงจับตาดูท่าทีในการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยสหรัฐฯ ประกาศจะสามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้าได้ภายใน สัปดาห์นี้ หากทั้งสองฝ่ายมีการท่าข้อตกลงการค้าร่วมกัน

4. ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยมีการคาดการณ์ว่าค่าเงินบาทใน ไตรมาสที่2/2562 มีโอกาสอ่อนค่าลง 5-10% เนื่องจากเป็นช่วงชะลอตัวด้านการท่องเที่ยว และการจ่ายเงินปันผลของ บริษัทจดทะเบียน ซึ่งจะมีการจ่ายเงินปันผลของบริษัท อาจทำให้มีเงินทุนไหลออก

5. ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ประกาศยกเลิกการประชุมที่มีการกำหนดในวันที่ 17-18 เมษายน 2562 ซึ่งจะทำให้โอเปกและประเทศพันธมิตรยังคงปรับลดกพลังการผลิตน้ำมันต่อไปจนกว่าจะถึงการประชุมกำหนดนโยบายการผลิตในวันที่ 25-26 มิถุนายน 2562 ทำให้ตลาดมีการคาดว่า มีแนวโน้มตึงตัวในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

6. มาตรการการแก้ไขปัญหาราคายางเร่งด่วนจากหน่วยงานภาครัฐที่ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการใช้ยางภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here