สมาคมเพื่อนชุมชน ร่วมกับภาคีเครือข่าย ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ กับกิจกรรม “วันรวมพลวิสาหกิจชุมชน SE’ Day 2019” (Social Enterprise Day for Eco Industrial Town, Rayong) ชู “ทุนทางสังคม” เป็นเครื่องมือสร้างจุดขายวิสาหกิจชุมชน หนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ งานจัดขึ้น ณ โรงแรมโกลเด้นซิตี้ ตำบลเนินพระ จังหวัดระยอง เมื่อเร็ว ๆ นี้

นายมนชัย รักสุจริต ผู้จัดการสมาคมเพื่อนชุมชน กล่าวว่า สมาคมเพื่อนชุมชน เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เกิดจากการรวมตัวกันของภาคอุสาหกรรมที่มีป้าหมายสู่การอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างมีความสุขและยั่งยืน โดยมีตัวชี้วัดเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้โครงการเพื่อนชุมชน  ธรรมศาสตร์โมเดล และร่วมกับภาคีเครือข่าย อาทิธนาคารออมสิน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2559  รุ่นที่ 1 จนถึงปัจจุบันรุ่นที่ 4  และรุ่นที่ 5 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2563  รวมทั้งหมด 38 กลุ่ม  นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มเครือข่ายที่ยังต้องพัฒนาและส่งเสริมอยู่ในพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์อีกเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ จากผลงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของสมาคมเพื่อนชุมชน มีการใช้ “ทุนทางสังคม” เป็นเครื่องมือในการพัฒนา เช่น ทุนมนุษย์ปราชญ์ชุมชน ทุนทรัพยากรธรรมชาติ ทุนภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ชุมชนมี นำมาผสมผสานกับความรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ก่อให้เกิดการเพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์ของชุมชน ผ่านกระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน 4 ขั้นตอน ได้แก่

1.ขั้นพื้นฐาน คือ การให้ผู้เชี่ยวชาญเตรียมกลุ่มและวิเคราะห์ศักยภาพเบื้องต้น แล้วนำนักศึกษาธรรมศาสตร์ มาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทำบัญชีต้นทุนการผลิตและทำการตลาด

2.ขั้นก้าวหน้า คือ การให้ผู้เชี่ยวชาญส่งเสริมความเข้มแข็งของกลุ่ม ผ่านการสร้างการมีส่วนร่วมแบบค้นหา คนรู้ คนแสดง คนสนับสนุน ซึ่งในขั้นตอนนี้ทางสมาคมได้เชิญนักพัฒนาจากสถาบันวิจัยและวิทยาศาสตร์หรือ วว. มาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ผ่านมาตรฐานต่าง 

3.ขั้นสร้างเครือข่าย คือ การเพิ่มช่องทางการตลาด ทั้ง On line & Off Line และเพิ่มการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก

4.ขั้นขยายผล แบบ Show & Share & Tourism คือ การแบ่งปันประสบการณ์ ส่งประกวดผลงาน และการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ นำไปสู่การท่องเที่ยว ส่งผลดีต่อการมีรายได้อย่างมั่นคงของชุมชน

ทั้งหมดนี้จึงนำไปสู่การจัดงาน “วันรวมพลวิสาหกิจชุมชน SE’ Day 2019” (Social Enterprise Day for Eco Industrial Town, Rayongซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนที่เป็นเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน สู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ที่จะส่งผลต่อการอยู่ร่วมกันของชุมชนกับอุตสาหกรรม อย่างมีความสุขที่ยั่งยืน

ด้าน นายวิชัย ล้ำสุทธิ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและชุมชนเชิงนิเวศของสมาคมเพื่อนชุมชน มีการจัดหาทีมนักพัฒนาทางสังคม เข้ามาช่วยค้นหาอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ดึงวัฒนธรรมเป็นศูนย์รวมจิตใจ สร้างจุดแข็งให้เป็นจุดขาย จนเกิดกระแสการมีส่วนร่วมของประชาชนหลายกลุ่ม เช่น การค้นหาอัตลักษณ์ สวน-ป่า-นา-เล ของเทศบาลตำบลเนินพระ และการพัฒนาข้าวตันละ 2 ล้าน จากแปลงนาผืนสุดท้ายในชุมชนเกาะกก เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า การดึงเอาวัฒนธรรม และการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน นำมาซึ่งการพัฒนาอย่างมีคุณธรรม ตามหลักวิชาการ ทำด้วยความจริงใจ ทำอย่างมีความอดทนและความเพียร โดยเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน จะนำไปสู่การพัฒนาเมืองจริยธรรมอุตสาหกรรมที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข จึงถือเป็นต้นแบบในการพัฒนา โดยคาดว่าจะสามารถขยายให้ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดระยอง และภูมิภาคอื่นๆ ต่อไป นายวิชัย กล่าว

ภายในงาน “วันรวมพลวิสาหกิจชุมชน SE’ Day 2019 มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน  การบรรยายกลยุทธในการขาย “ขายดี ขายดัง ขายให้ปัง…ทำอย่างไร” โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนการให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ เช่น การขอ อย. จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง การให้คำแนะนำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง  การให้คำแนะนำเรื่องการจดวิสาหกิจชุมชน โดยเกษตรอำเภอเมืองระยอง  และการให้คำปรึกษาด้านการเงินจากธนาคารออมสิน เป็นต้น 

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here