การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เจ้าภาพจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืชระดับนานาชาติ (Meeting of Experts on PestalotiopsisLeaf Diseaseระหว่างวันที่ 13 – 15 มกราคม นี้ ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผนึกกำลังผู้เชี่ยวชาญโรคพืชจากประเทศสมาชิก ถกประเด็นแลกเปลี่ยนความรู้โรคใบร่วงชนิดใหม่ในสวนยางพารา พร้อมลงพื้นที่ดูงานติดตามผลการยับยั้งโรคใบร่วงในแปลงยาง

ณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านธุรกิจและปฏิบัติการ เผยว่า จากรายงานสถานการณ์การระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ซึ่งทำให้ใบยางร่วงรุนแรงเป็นพื้นที่กว้างขวางครั้งแรกในเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียในปี 2560 จนถึงขณะนี้ โรคได้แพร่ลุกลามอย่างรวดเร็วสู่ประเทศปลูกยางใกล้เคียง ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย อินเดีย ศรีลังกา และในอินโดนีเซียที่ได้รับผลกระทบมากกว่า 2,387,500 ไร่ สมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (The Association of Natural Rubber Producing Countries :ANRPC) จึงได้จัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืช ครั้งที่ ๑ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๒ เป็นการเร่งด่วน โดยเชิญนักโรคพืชของประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุมเพื่ออภิปรายหารือแนวทางและวิธีการแก้ปัญหาโรคใหม่ที่เกิดขึ้น และมีมติร่วมกันให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืช (Meeting of Experts on Pestalotiopsis Leaf Disease) โยมีกำหนดจัดขึ้นวันระหว่างวันที่ 13-15 มกราคม นี้ ณ โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ณกรณ์ กล่าวเพิ่มว่า การจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืช (Meeting of Experts on Pestalotiopsis Leaf Disease) จะเป็นการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความคิดเห็น ระหว่างกลุ่มนักวิชาการด้านโรคพืชและผู้ที่เกี่ยวข้องแต่ละประเทศ ในร่วมการประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วย 
การยางแห่งประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ผู้แทนและผู้บริหารจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสมาชิก ANRPC และ IRRDB ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย  อินโดนีเซีย  อินเดีย  ศรีลังกา จึงถือเป็นการประสานความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศที่เคยมีการระบาดของโรคนี้แล้ว เพื่อศึกษาวิธีการกำจัดและป้องกันที่ได้ผลมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาครั้งนี้ และความร่วมมือครั้งนี้จะนำไปสู่การกำหนดมาตรการการควบคุม ป้องกัน กำจัดโรค

โดยการประชุมในสัปดาห์หน้า จะมีการจัดบรรยายถึงสถานการณ์โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อรา Pestalotiopsis ในปัจจุบัน จากผู้เชี่ยวชาญจากกรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร และการบรรยายในประเด็นผลกระทบของโรคใบร่วงที่มีต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมยางพารา ตลอดจนระดมความคิดร่วมกันกำหนดนโยบายมาตรการควบคุม ป้องกันและกำจัดโรคใบร่วงในอนาคต

นอกจากนี้ กยท. ได้นำคณะลงพื้นที่ศึกษาดูงานในแปลงยางที่มีการระบาดของโรค และติดตามผลการใช้สารเคมีที่ฉีดพ่นด้วยเครื่องอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน ในสวนยางพาราของเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง พร้อมสำรวจแปลงยางและพืชชนิดอื่นๆ ที่แสดงอาการของโรคใบร่วงอีกด้วย 

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here