ช่วงต้นเดือนธันวาคม 2563 ก่อนเข้าสู่ช่วงปีใหม่ สำหรับจังหวัดนครศรีธรรมราชแล้ว ต้องประสบกับปัญหาความเดือดร้อนอย่างมากกับวิกฤตอุทกภัยที่ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ท่ามกลางการเข้าไปช่วยเหลือของหน่วยงานต่าง ๆ  กรมชลประทาน สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ หนึ่งในหน่วยงานหลักที่เข้าไปดำเนินการกอบกู้วิฤตคลายทุกข์ให้กับชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช และได้เร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

หนึ่งในผู้บริหารของกรมชลประทาน ที่ลงพื้นที่แบบปักหลักแก้ไขปัญหากันอย่างต่อเนื่อง คือ นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีกรมชลประทาน ฝ่ายก่อสร้าง ซึ่งภายหลังจากที่ได้เข้าประชุมและบรรยายสรุปถึงสถานการณ์น้ำท่วม และแผนบริหารจัดการน้ำเพื่อบรรเทาอุกภัยในพื้นที่ แก่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคณะ ที่ได้เดินทางไปยัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำท่วม และเยี่ยมเยียนให้กำลังใจผู้ประสบภัย ในช่วงเช้าของวันที่ 7 ธันวาคม 2563ได้ให้สัมภาษณ์ถึงภารกิจของกรมชลประทานในการช่วยเหลือชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชจากเหตุการณ์อุทกภัยในครั้งนี้

ฝนตกหนัก มากกว่า 900 มิลลิเมตร

รองอธิบดีกรมชลประทานฝ่ายก่อสร้าง ได้สรุปถึงสาเหตุของการเกิดน้ำท่วมในครั้งนี้ว่า ทั้งนี้เป็นเพราะ ได้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ระหว่างวันที่ 26 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา เนื่องจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่างทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มากกว่า 900 มิลลิเมตร และคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง ในหลายพื้นที่

โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช มีฝนตกหนักมากต่อเนื่องทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วม ส่งผลให้ระดับน้ำในคลองเพิ่มสูงขึ้นและเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ 15 อำเภอ ของจังหวัดนครศรีธรรมราชปัจจุบันปริมาณฝนลดลง ระดับน้ำเริ่มลดลงในบางพื้นที่

พื้นที่ประสบอุทกภัย ใน 5 ลุ่มน้ำ

นายประพิศ กล่าวต่อไปว่า สำหรับจังหวัดจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ประสบอุทกภัย แบ่งเป็น 5 ลุ่มน้ำ

หนึ่ง ลุ่มน้ำคลองท่าดี ซึ่งส่งผลกระทบต่อพื้นที่เขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช โดยคลองท่าดี มีต้นน้ำเกิดจากเขาหลวงในเขตอำเภอลานสกา ไหลลงมาจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออกผ่านที่ราบสูงเชิงเขาซึ่งมีความลาดชันมากในช่วงตอนบนของลำน้ำ และไหลเข้าสู่ที่ราบในตัวเมืองนครศรีธรรมราช ผ่านที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลและไหลออกสู่อ่าวไทยที่อ่าวปากพนัง บ้านปากนคร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

โดยเมื่อวันที่ 2 .. 2563 เวลา 09.00 . ปริมาณน้ำได้ไหลผ่านสถานี X.200 บ้านวังไทร .ลานสกา ของกรมชลประทาน 689.60 ลบ../วินาทีผ่านเข้าตัวเมืองที่มีความสามารถในการระบายน้ำ 262 ลบ../วินาที ทำให้ปริมาณน้ำส่วนเกินไหล่บ่าท่วมพื้นที่น้ำในพื้นที่ชุมชนเทศบาลนครนครศรีธรรมราช น้ำท่วมเฉลี่ยลึก 0.50-1.00 .

สอง ต้นน้ำตรัง คลองท่าเลา คลองท่าโลน คลองเปิก ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เขตเทศบาลเมืองทุ่งสง เนื่องจากพื้นที่เทศบาลเมืองทุ่งสงและชุมชนรายรอบที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขาของแนวเทือกเขานครสรีธรรมราช ซึ่งเป็นต้นน้ำของลำคลองสายใหญ่ 3 สาย คือ คลองท่าเลาคลองท่าโลน และคลองเปิก เมื่อเกิดฝนตกหนัก จะเกิดกระแสน้ำไหลแรงและเร็วมาก ไหลบ่ามาท่วมเขตเทศบาลเมืองทุ่งสงลึกเฉลี่ย 1.00-1.50 . จากนั้นน้ำจะไหลลงสู่แม่น้ำตรัง แล้วไหลลงสู่ทะเลที่จังหวัดตรัง

อีกสาเหตุหนึ่งเกิดจากสิ่งก่อสร้างต่าง ที่สร้างขึ้นขวางทางน้ำ เช่นถนน บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย

สาม พื้นที่ลุ่มน้ำตาปี ซึ่งมีต้นน้ำ อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราชประกอบด้วยพื้นที่ ำเภอพิปูน อำเภอช้างกลาง อำเภอฉวาง อำเภอนาบอน ำเภอทุ่งใหญ่ และ อำเภอถ้ำพรรณรา พื้นที่นี้มีอ่างเก็บน้ำคลองกะทูนและอ่างเก็บน้ำคลองดินแดง เพื่อรองรับน้ำฝนที่จะไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก ในช่วงเกิดอุทกภัยปริมาณน้ำจากแม่น้ำตาปีจะไหลต่อไปยังจังหวัดสุราษฎร์ธานี ออกสู่ทะเล บริเวณ อำเภอพุนพิน ังหวัดสุราษฎร์ธานี

สี่ ลุ่มน้ำคลองกลาย โดยน้ำไหลจากต้นน้ำบริเวณอำเภอนบพิตำผ่านอำเภอท่าศาลาออกสู่ทะเล พื้นที่ดังกล่าวมีความรุนแรงของน้ำท่วมเนื่องจากพื้นที่ลาดชันกระแสน้ำไหลเชี่ยวและแรง แต่สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว ถ้าหากไม่มีอิทธิพลน้ำทะเลหนุน ซึ่งปัจจุบันจะต้องติดตามปริมาณฝนที่ตกลงมา หากวัดค่าที่ได้เกินกว่า 150 มิลลิเมตร เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันเกิน 72 ชั่วโมง จะทำให้เกิดน้ำหลากเอ่อล้นตลิ่งบริเวณคลองสายหลัก

ห้า พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำรับน้ำจากแม่น้ำปากพนัง คลองเชียรใหญ่ คลองหัวไทร คลองชะเมา ซึ่งฝนตกเป็นปริมาณมาก ทำให้เกิดไหลล้นตลิ่ง คลองเชียรใหญ่ คลองหัวไทร คลองชะเมา เข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนของราษฎร พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ค่อนข้างราบเป็นแอ่งกระทะบางจุด ซึ่งเป็นอุปสรรคในการระบายน้ำ

กรมชลประทานกับการบริหารจัดการน้ำ

ไม่เกิน 10 วันระบายน้ำได้หมด  

นายประพิศ กล่าวว่า ในส่วนของกรมชลประทานนั้น นอกจากมีการจัดตั้งศูนย์ส่วนหน้าบรรเทาอุทกภัย ฯ และระดมเครื่องจักรเครื่องมือจากส่วนกลาง รวมถึงการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และเครื่องผลักดันน้ำ  ทั้งหมด 90 เครื่อง ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทาน ไม่ว่า นายปริญญา   สัคคะนายก ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 15 นายเดช เล็กวิชัย ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 16 นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล นายเสริมชัย เซียวศิริถาวร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ในทุกระดับชั้นต่างได้ลงพื้นที่เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์  ต่างมีความเป็นห่วงถึงพี่น้องประชาชนทุกคน จึงกำชับให้กรมชลประทานเร่งดำเนินการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ สำหรับการดำเนินการเพื่อบริหารจัดการน้ำนั้น สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดทำให้หลายพื้นที่มีระดับน้ำลดลง”

โดยนายประพิศ อธิบายว่า สำหรับ การระบายน้ำในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช มีทางออกสู่ทะเล 5 ช่องทาง มีการระบายน้ำทั้งหมด13,046,400 ลูกบาศก์ต่อวัน ตามศักยภาพการระบายน้ำ 8 ชั่วโมง ตามการลดลงของน้ำทะเล และการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำ จำนวน 54 เครื่อง บริเวณเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และติดตั้ง เครื่องผลักดันน้ำ จำนวน 46 เครื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการระบาย ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว โดยใช้เวลาในการระบายน้ำเพียง 3 วัน

อีกหนึ่งพื้นที่ คือ การระบายน้ำในเขตลุ่มน้ำปากพนัง ทางโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ทั้งฝั่งอ่าวไทย ฝั่งอ่าวปากพนัง ที่มีออกสู่ทะเล 9ช่องทาง หรือการระบายน้ำทั้งหมด 44,236,800 ลูกบาศก์ต่อวัน ตามศักยภาพการระบายน้ำ 8 ชั่วโมง ตามการลดลงของน้ำทะเล

ทั้งนี้ สำนักงานชลประทานที่ 15 ได้จะดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาอุทกภัยโดยได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำ จำนวน 26 เครื่องเครื่องผลักดันน้ำจำนวน 10 เครื่อง และได้วางแผนจะติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพในการระบาย เพิ่มอีก 75 เครื่อง

คาดว่าจะสามารถเร่งการระบายตามความเหมาะสมออกจากพื้นที่ภายใน 10 วัน ส่วนปริมาณน้ำในทุ่งจะสำรองไว้ให้เกษตรไว้ใช้ทำการเกษตรต่อไป” นายประพิศ กล่าว

นอกจากนี้ ในส่วนพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่ส้มโอทับทิมสยาม บ้านแสงวิมาน อำเภอปากพนัง กรมชลประทานได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 13 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำจำนวน 16 เครื่อง รวมทั้งรถขุดสร้างคันกั้นน้ำ 17 คัน เพื่อดำเนินทำคันกั้นน้ำไม่ให้น้ำไหลเข้าพื้นที่เพิ่มเติม และจะสูบระบายน้ำออกจากแปลงภายใน 5 วัน

วันนี้กรมชลประทานยังคงทุ่มสรรพกำลังเดินหน้าเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะสามารถระบายน้ำออกไปได้หมด ซึ่งรองอธิบดีกรมชลประทาน ฝ่ายก่อสร้าง ยืนยันว่า “ พร้อมทำงานเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here