สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร เป็นเจ้าภาพหลักจัดงานร่วมกับสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย ผนึกเครือข่าย 7 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมอารักขาพืชไทย สมาคมกีฏและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย สมาคมนักโรคพืชแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย และสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย จัดใหญ่ประชุมวิชาการอารักขาพืช ครั้งที่ 15  ภายใต้หัวข้อเกษตรยุคใหม่ ทันสมัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมุ่งเป้าขับเคลื่อนภาคการเกษตรด้วยบีซีจี โมเดล (BCG MODEL)  เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมรามาการ์เด้น . วิภาวดี กรุงเทพฯ

นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงาน ว่า การจัดประชุมเชิงวิชาการครั้งนี้ เป็นงานเกี่ยวกับการอารักขาพืชเชิงวิทยาศาสตร์ที่มีความก้าวหน้าทางด้านการเกษตรเป็นอย่างมากและที่สำคัญมุ่งเน้นความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่แต่ละบริษัทที่มาร่วม ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาไปกว่าหลายสิบปีรวมไปถึงการนำจุลินทรีย์  ตัวห้ำและตัวเบียนมาประยุกต์ใช้ร่วมกับสารอารักขาพืช เพื่อใช้สารฯ เท่าที่จำเป็นตามนโยบาย BCG ของภาครัฐบาลที่ส่งเสริมลดการใช้สารเคมีและนำจุลินทรีย์มาผนวกใช้ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงถึงภาคอุตสาหกรรมเรื่องการแปรรูปอาหารของสัตว์ ความปลอดภัยทางด้านอาหาร เกษตรอินทรีย์และเป็นที่ต้องการของตลาดโดยกระทรวงพาณิชย์คอยให้การแนะนำเกษตรกรและที่สำคัญสามารถนำไปต่อยอดได้อีกหลากหลายมิติอีกด้วย ปัจจุบันโลกมีการปรับเปลี่ยนแต่จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของประเทศนั้น แต่ท้ายที่สุดจะมุ่งไปสู่เกษตรกรรมยั่งยืน

ด้าน นายจารึก ศรีพุทธชาดิ นายกสมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร กล่าวว่า การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ เริ่มจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2536 และจัดต่อเนื่องทุก 2 ปีจนถึงปัจจุบัน โดยแต่ละสมาคมหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ โดยปีนี้(2565)สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตรได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงานร่วมกับสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย และสมาคมอื่นรวมเป็น 7 สมาคม จัดขึ้นภายใต้หัวข้อเกษตรยุคใหม่ ทันสมัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อมโดยการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่งานวิจัย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์และความคิดในกลุ่มนักวิชาการด้านอารักขาพืชและผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยด้านกีฏและสัตววิทยา โรคพืชวิทยา วิทยาการวัชพืช วิศวกรรมเกษตรและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

นอกจากนี้ ยังได้จัดให้มีการเสวนาเรื่องทิศทางและนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตรไทยเพื่อเป็นเวทีการพูดคุยเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรด้วย บีซีจี โมเดล(BCG MODEL) การปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรของประเทศไทยด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตสินค้าเกษตรสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเพิ่มขึ้น

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here