สวทช. หนุนผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ พัฒนาการเตรียมแฟ้ม CSDT เพื่อรองรับมาตรฐานสากล

เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (ทีเซลล์) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จัดประชุม “การขับเคลื่อนเครื่องมือแพทย์ยุค Thailand 4.0 เพื่อยกระดับมาตรฐานรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ด้วยการจัดเตรียมเอกสาร Common Submission Dossier Template (CSDT)” เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการในการเตรียมแฟ้ม CSDT ก่อนยื่นคำขออนุญาตเพื่อการผลิต พร้อมปรับตัวรองรับมาตรฐานการผลิตเครื่องมือแพทย์ให้ได้มาตรฐานสากล...

ทีมวิจัย มช. เร่งพัฒนาต้นแบบแก๊สเซนเซอร์ แก้ปัญหาการตรวจจับแก๊สเชิงการประยุกต์ให้มีประสิทธิภาพ และมีความจำเพาะสูง

เมื่อเร็วๆนี้ ทีมวิจัย มช. ได้เร่งพัฒนาต้นแบบแก๊สเซนเซอร์โดยพัฒนาโครงสร้างของวัสดุนาโนในรูปแบบใหม่ เพื่อแก้ปัญหาปัจจัยทางเซนเซอร์ให้การตรวจจับแก๊สเชิงการประยุกต์มีประสิทธิภาพและมีความจำเพาะสูง ภายใต้การสนับสนุนของ สกว. และทีมวิจัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบันมีการพัฒนาแก๊สเซนเซอร์ให้ใช้งานได้หลากหลาย เพื่อประโยชน์ทั้งด้านอุตสาหกรรม สังคม สิ่งแวดล้อม การแพทย์ และอื่น ๆ ผศ. ดร.ชัยกานต์ เลียวหิรัญ เมธีวิจัย สกว. สังกัดภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าห้องปฏิบัติการเซนเซอร์เคมี ได้ศึกษาถึงกลไกการทำงานเชิงลึกในส่วนสมบัติของการตรวจจับแก๊สหลายรูปแบบด้วยลักษณะของการเปลี่ยนแปลงสมบัติเชิงไฟฟ้า โดยอาศัยความเชี่ยวชาญพิเศษด้านการคิดค้นวัสดุนาโนโลหะออกไซด์และระบบการเจือวัสดุด้วยโลหะตัวเร่งปฏิกิริยาหลายชนิด...

สวทช. จับมือ สภาวิจัยฯ ตุรกี ร่วมกันพัฒนาโจทย์วิจัย มุ่งเน้นเรื่องอาหารปลอดภัย อินเทอร์เน็ต IoT และความหลากหลายทางชีวภาพ

( 22 พ.ย. 2561) ณ อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี - ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามความร่วมมือกับ Prof. Hasan MANDAL (ศ.ฮาซัน แมนเดล) ผู้อำนวยการสภาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศตุรกี (The Scientific and Technological Research...

นักวิจัยไทยเจ๋ง พัฒนาเครื่องอาบเคลือบโลหะแผ่นด้วยแลคเกอร์ ลดต้นทุนการผลิตปีละกว่า 20 ล้านบาท

สกว.จับมือเอกชนหนุนนักวิจัยจุฬาฯ พัฒนาเครื่องอาบเคลือบโลหะแผ่นด้วยแลคเกอร์ เพื่อลดผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพ เวลาสูญเปล่า และการใช้พลังงานสำหรับอุตสาหกรรมกระป๋องโลหะ ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ถึงปีละกว่า 20 ล้านบาท ปัจจุบัน กระบวนการผลิตกระป๋องโลหะจำเป็นต้องเคลือบผิวกระป๋องด้วยแลคเกอร์ เพื่อป้องกันการกัดกร่อนของเนื้อโลหะด้านในที่สัมผัสกับอาหารที่บรรจุกระป๋อง หรือใช้รองพื้นกระป๋องด้านนอกก่อนการพิมพ์สี หรือเพิ่มความคงทนและความสวยงามของโลหะแผ่นที่พิมพ์สี โดยการเคลือบผิวโลหะแผ่นด้วยแลคเกอร์ดำเนินการโดยใช้เครื่องอาบเคลือบแลคเกอร์ ซึ่งมีขั้นตอนประกอบด้วยการนำแผ่นเหล็กเข้าเครื่อง การอาบเคลือบแลคเกอร์ การอบด้วยความร้อน และการดึงแผ่นเหล็กออกจากเครื่อง ผลการสำรวจโรงงานพบว่า กระบวนการผลิตมีประสิทธฺภาพต่ำ และมีปัญหาเรื่องคุณภาพของโลหะแผ่นเคลือบแลคเกอร์ ซึ่งจำแนกลักษณะปัญหาได้เป็น 4 เรื่อง คือ น้ำหนักฟิล์มแลคเกอร์ไม่สม่ำเสมอ...

ก.วิทย์ฯ-สวทช. ผนึก กลุ่มบริษัทโชคนำชัย พัฒนาเทคโนโลยีการออกแบบการผลิตยานพาหนะสมัยใหม่ น้ำหนักเบา

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จับมือ บริษัท โชคนำชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง จำกัด และ บริษัท สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำกัด หนึ่งในกลุ่มบริษัทโชคนำชัย (CNC Group) ผู้ผลิตแม่พิมพ์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการออกแบบการผลิตยานพาหนะสมัยใหม่ และโครงการสร้างน้ำหนักเบา รวมถึงการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนายานยนต์สัญชาติไทยรุ่นใหม่ครั้งแรกในประเทศไทย ที่สามารถนำมาต่อยอดในการสร้าง หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้...

ม.อ. สุดเจ๋ง คิดค้นน้ำมันทำความสะอาดเครื่องสำอางจากน้ำมันเมล็ดยางพารา

ทีมงานคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผลิตผลิตภัณฑ์ในทางเครื่องสำอาง น้ำมันทำความสะอาดเครื่องสำอางจากน้ำมันเมล็ดยางพารา ทำความสะอาดผิวหน้าได้อย่างหมดจด ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวเป็นธรรมชาติ เป็นผลงานวิจัยคิดค้น โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ธนภร อำนวยกิจ หัวหน้าภาควิชาภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.สิริรัศมิ์ ปิ่นสุวรรณ และนายปณิธิ รักนาม นักศึกษาปริญญาเอก ซึ่งได้รับการจดอนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1703000996 นับเป็นข่าวน่ายินดีของสาวๆในการทำความสะอาดผิวหน้า...

งานวิจัยยางพาราไทยเจ๋ง คว้ารางวัลโลก

เมื่อเร็วๆนี้ มีผลงานวิจัยจากนักวิจัยสงขลานครินทร์ ที่หวังสร้างมูลค่าเพิ่มพืชเศรษฐกิจภาคใต้ “โฟมยางพาราผสมสารล่อแมลง” และ “น้ำมันเช็ดเครื่องสำอางจากน้ำมันเมล็ดยางพารา” ล่าสุดคว้ารางวัลระดับเหรียญทองจากเวทีสิ่งประดิษฐ์นานาชาติที่กรุงโซล ยางพารา จัดเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยสำคัญ เนื่องจากเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีกำลังผลิตได้มากกว่า 4 ล้านตันต่อปี และมีผลกระทบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น เกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ผลิตยางดิบ อุตสาหกรรมผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งในแต่ละปีราคาผันผวน จึงเป็นเหตุผลทำให้รัฐบาลพยายามสนับสนุนให้ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาแปรรูปยางดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้ในประเทศและส่งออกหลากหลายรูปแบบ ผลงานวิจัยการพัฒนาโฟมยางพาราผสมสารล่อแมลง เพื่อการควบคุมแมลงวันผลไม้ ของ ผศ.นริศ ท้าวจันทร์...

สร้างนวัตกรรมใหม่ เพิ่มมูลค่ายางพารา พัฒนากาวน้ำผสมน้ำยางธรรมชาติ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสร้างผลงานวิจัยและเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อพัฒนางานด้านการเกษตรของประเทศไทยให้มีความทันสมัยสามารถแข่งขันได้กับต่างประเทศ ตลอดจนยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้มีความมั่นคง มั่นคั่งและยั่งยืน สิ่งหนึ่งที่มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญคือ การส่งเสริมให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยสร้างงานวิจัย สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีศักยภาพตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และงานวิจัยมีความพร้อมที่จะให้ภาคเอกชนนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ หรือสร้างผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในยุคปัจจุบันที่ต้องการนำเทคโนโลยีที่สร้างสรรค์ขึ้นจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ไปช่วยในการพัฒนา ผู้ประกอบการของประเทศให้มีความเข้มแข็ง เมื่อเร็วๆนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ลงนามข้อตกลงอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย "กาวน้ำที่มีส่วนผสม ของน้ำยางธรรมชาติ,ฟีนอลิก เรซิน และกัมโรซินและกรรมวิธีการผลิต"...

ส่องนวัตกรรมยางพารา “ที่น่าลงทุน”

อีกหนึ่งหนทางที่จะเพิ่มราคายางพาราที่กำลังตกต่ำ คือ การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้พัฒนา 5 ผลิตภัณฑ์จากยางพาราที่พร้อมถ่ายทอดสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ ดร.ลักษมี ปลั่งแสงมาศ ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า ปัจจุบันราคายางตกต่ำยังเป็นปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องเกษตรกร เนื่องจากปริมาณการผลิตยางดิบมีมากกว่าความต้องการของตลาด ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางจากการขายน้ำยางสดและยางดิบลดลง จากที่เคยมีรายได้เดิมมากถึง 50% หรือบางครั้งมากกว่า ซึ่งก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อความเป็นอยู่ของครอบครัวเกษตรกร "วว. เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) พัฒนายางพาราให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยผลงานดังกล่าวสามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์สำหรับผลิตจำหน่ายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ"...

สองนศ.ม.หาดใหญ่ ผลิต ‘สบู่เหลวกำจัดกลิ่นขี้ยาง’ คว้ารางวัลประกวดนวัตกรรมโลก-จดสิทธิบัตรแล้ว

สองนศ.ม.หาดใหญ่ ผลิต ‘สบู่เหลวกำจัดกลิ่นขี้ยาง’ คว้ารางวัลประกวดนวัตกรรมโลก-จดสิทธิบัตรแล้ว น.ส.มลฤดี อุทัยหอม อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยว่า 2 นักศึกษา ม.หาดใหญ่ น.ส.กันธิรา เกื้อแก้ว และ น.ส.ทิพวรรณ เมืองทอง สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองระดับโลก ในงานประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “27th International +Invention Exhibition”...

Stay connected

114FansLike
1,066FollowersFollow
14,700SubscribersSubscribe
- Advertisement -

Block title

Latest article

เริ่มแล้ว Kind + Jugend ASEAN 2024 มหกรรมสินค้าแม่และเด็กแห่งอาเซียน รวมนวัตกรรมสุดล้ำจากแบรนด์ชั้นนำทั่วโลกกว่า 300 แบรนด์!

มหกรรมสินค้าแม่และเด็กแห่งอาเซียน Kind + Jugend ASEAN 2024 (คินอันยูเก้น อาเซียน) เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการ ที่แรกและที่เดียวในภูมิภาคอาเซียนสำหรับโอกาสทางธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด บนเครือข่ายผู้ประกอบการชั้นนำทั่วโลก กว่า 300 แบรนด์ 150 บริษัท พบกับสินค้าและนวัตกรรมนำเทรนด์จากทุกมุมโลก พร้อมไฮไลต์ส่งเสริมเพื่อโอกาสทางการค้า กับโปรแกรมจับคู่ธุรกิจ Business Matching Programme / เวทีสัมมนากลยุทธ์การขายสินค้าแม่และเด็ก...

สมาคมสื่อมวลชนเกษตรฯ-VNU จัดสัมมนา “เทคนิคปั้นแบรนด์สินค้าเกษตรไทยฯ” เชิญลงทะเบียนล่วงหน้า เข้าร่วมสัมมนาฟรี !

สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค จำกัด จัดสัมนาหัวข้อ“เทคนิคปั้นแบรนด์สินค้าเกษตรไทย เพิ่มมูลค่า พัฒนาสู่สากล” งานประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาคเอเซีย หรือ  AGRITECHNICA ASIA (อะกริเทคนิก้า เอเชีย) และงาน HORTI ASIA (ฮอร์ติ เอเชีย) ในวันที่ 22 พฤษภาคม...

“ไฟเซอร์” ชูแคมเปญ “โซนนี้อุ่นใจ ปลอดภัยจากโควิด-19”  เน้นให้ความรู้ด้านภูมิคุ้มกันที่ถูกต้อง รณรงค์สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับครอบครัว

เนื่องด้วยในวันที่ 24 – 30 เมษายนของทุกปี เป็นสัปดาห์รณรงค์เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของโลก หรือ World Immunization Week บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดแคมเปญ “โซนนี้อุ่นใจ ปลอดภัยจากโควิด-19” เน้นสร้างการตระหนักรู้เรื่องการดูแลและป้องกันตนเองและครอบครัวจากโควิด-19 ที่ยังคงมีผู้ได้รับผลกระทบอยู่จนถึงปัจจุบัน พร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับประชาชนในทุกมิติ ทั้งการระวังป้องกันจากภายนอก และเสริมสร้างความรู้ด้านการสร้างภูมิคุ้มกันที่ถูกต้องให้กับทุกคน พร้อมดึง “บอย...