โดย นายศตพร สภานุชาต สถาบันพลาสติก
     ระดับราคาน้ำมันดิบเดือนกุมภาพันธ์ 2020 ยังคง อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องโดยมีระดับราคาเฉลี่ยอยู่ท่ี 51.9 USD/Barrel อ่อนตัวลงจากเดือนท่ีผ่านมาในอัตราถึง -14.7% การอ่อนตัวในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ท่ีเริ่มมีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างมากขึ้น ส่งผลให้ภาคเศรษฐกิจของหลายประเทศชะลอตัวลง ซึ่งเป็นผลพวงให้ระดับการบริโภคน้ำมันมีแนวโน้มลดลงตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ณ สถานการณ์ปัจจุบัน ราคาน้ำมันดิบยังคงอ่อนตัวลงอย่างมากด้วยเหตุการณ์สงครามราคาน้ำมันระหว่างซาอุดิอาระเบียและรัสเซีย ผนวกกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ซึ่งคาดว่าทั้งสองปัจจัยดังกล่าว จะกดดันระดับราคาน้ำมันดิบต่อเนื่องในอนาคต
     ด้านการผลิตเม็ดพลาสติกในประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 ยังคงอ่อนตัวทั้งจากอุปสงค์ภายในและ ภายนอกประเทศท่ีชะลอตัว โดยการผลิต ปรับตัวลดลงจากเดือนที่ผ่านมาในอัตรา -11.9% และลดลง -9.9% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สอดรับไปในทิศทางเดียวกับแนวโน้มการส่งออกท่ียังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยการส่งออกเม็ดพลาสติกในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 หดตัวจากเดือนท่ีผ่านมา (MoM) ทั้งเชิงมูลค่าและปริมาณในอัตรา -9.3% และ -15.9% ตามลำดับ และหดตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (YoY) ในอัตรา -24.2% และ-21.1% ตามลำดับเช่นเดียวกัน การส่งออกสะสม 2 เดือนแรกมูลค่าลดลงมากในตลาดจีนและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดสำดับที่ 1 และ3
     ทางด้านผลิตภัณฑ์พลาสติกการผลิตในดัชนีผลผลิต (MPI) ในกลุ่มการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกมีการปรับตัวขึ้นเล็กน้อยจากเดือนที่ผ่านมาในกลุ่มสินค้ากึ่งสำเร็จรูปและสำเร็จรูป (+4.5%) รวมถึงบรรจุภัณฑ์พลาสติก (+0.5%) ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกับ การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ขยายตัวจากเดือนท่ีผ่านมา +7.5% เนื่องจากระดับอุปสงค์ในตลาดส่งออกหลักขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนท่ีผ่านมา อาทิ เอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ
     ทั้งนี้ สถานการณ์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ การผลิต รวมถึงการค้าของอุตสาหกรรมพลาสติกไทยยังคงเคลื่อนไหวตามกระแสของอุปสงค์-อุปทาน ท่ีเกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปีท่ีผ่านมาเป็นหลักอยู่ ผลกระทบจากการระบาดของ ไวรัส COVID-19 ยังไม่ส่งผลกับตัวเลขในเดือนนี้อย่างชัดเจน มากนัก อย่างไรก็ตาม ณ เวลาปัจจุบัน ท่ีความรุนแรงของการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตในอุตสาหกรรมและภาคบริการในหลายประเทศท่ัวโลกอย่างชัดเจน ส่งผลให้สายการผลิตในห่วงโซ่อุปทานในหลายอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก ดังนั้น ตัวเลขทางเศรษฐกิจในเดือนมีนาคม มีแนวโน้มที่จะทรุดตัวลงไปอีกจากแรงกดดันของปัจจัยการแพร่ระบาดของไวรัสที่ส่งผลชัดเจนมากขึ้น..

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here