หลังจากพิธีปล่อยคาราวานเครื่องจักร-เครื่องมือ เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ปี 2563/64 เมื่อเร็วนี้ ทางกรมชลประทาน ก็พร้อมเดินหน้าเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชน และพร้อมที่จะทำงานเพื่อบรรเทาทุกข์ของประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดสุดและเป็นรูปธรรม และผู้ที่อยู่เบื้องหลัง สามารถผลักดันนโยบายต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จในช่วงระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่าน คงจะเป็นใครไม่ได้ นอกเสียจาก ลูกหม้อกรมชลฯที่ชื่อ “สุพิศ พิทักษ์ธรรม” ผอ.สำนักเครื่องจักรกล กรมชลฯ คนปัจจุบัน ทางรับเบอร์พลาส มีเดีย มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษท่านสุพิศ ซึ่งท่านจะมาพูดถึง ภารกิจต่างๆ สำคัญที่ได้ทำมา รวมถึง โครงการเร่งด่วนจากกรมชลประทานที่แก้ปัญหาเรื่องภัยแล้ง และการบริหารจัดการต่างๆ ในการขับเคลื่อนกรมชลฯ ที่จะทำให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยท่านได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจ
เร่งขุดลอกแก้มลิง
นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล เล่าให้ฟังว่า เมื่อเร็วๆนี้ ได้เข้าพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าของงานขุดลอกแก้มลิงฝายแม่ยม ตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ในเขตพื้นที่ของ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม สำนักงานชลประทานที่ 4 จังหวัดแพร่ ซึ่งดำเนินการขุดลอกโดย ฝ่ายเครื่องจักรกลก่อสร้างงานดินที่ 2 ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 2 มีพื้นที่ดำเนินการ 110 ไร่ ปัจจุบันดำเนินการขุดลอกได้ 78% โดยเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะมีพื้นที่เก็บกักน้ำเพิ่มขึ้น 3,150,963 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกได้ถึง 224,000 ไร่ และคาดว่าจะดำเนินการขุดลอกแก้ลิงฝายแม่ยมนี้ให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2564 โดยจะมีราษฎรได้รับประโยชน์จากน้ำในฝายแม่ยมนึ้ถึงประมาณ 35,000 ครัวเรือน ทั้งนี้ ทางเรา ได้กำชับเจ้าหน้าที่ฝ่ายเครื่องจักรกลก่อสร้างงานดินที่ 2 ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 2ให้ปฏิบัติงานขุดลอกให้เป็นไปตามแผนงานเพื่อให้แก้มลิงฝายแม่ยมนี้ สามารถรองรับน้ำในฤดูฝนที่กำลังมาถึงในเดือนมิถุนายนของปีนี้
ที่ผ่านมา สำนักเครื่องจักรกล ได้เข้าไปดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ด้านภัยแล้งในหลายพื้นที่ เช่น การส่งเครื่องจักรทั้งเรือขุด รถขุดเข้าขุดลอกแก้มลิงรวมทั้งขุดลอกเพิ่มปริมาณการเก็บกักน้ำในอ่างเก็บน้ำในหลายพื้นที่ อีกทั้งได้นำเครื่องจักร เครื่องมือ ลงพื้นที่กำจัดวัชพืชและผักตบชวาในทางน้ำชลประทานและทางน้ำสายหลักต่าง ๆ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน รวมทั้งแม่น้ำน้อย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำนครนายก และแม่น้ำบางปะกง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งน้ำให้ประชาชนสามารถใช้น้ำเพื่อกิจกรรมต่างๆ ตลอดช่วงฤดูแล้งนี้
“เครื่องมือและเครื่องจักรกลของกรมชลประทานที่นำมาใช้นี้ เราถือเป็นของประชาชน เนื่องจากปณิธานของผู้บริหารกรมชลประทานในอดีต ได้วางรูปแบบและโครงสร้างไว้ดีมาก ที่จะนำเอาเครื่องมือเครื่องจักรของกรมชลประทาน ไปดูแลช่วยเหลือพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ ไม่ว่าจะอยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร หรือในเขตเมือง ทางกรมชลประทานจะไปถึงทุกที่ ทั้งนี้ เครื่องมือเครื่องจักรที่มีอยู่ เราไม่ได้ดูแลเฉพาะที่อยู่ในเขตกรมชลประทานเท่านั้น จะรวมไปถึงนอกเขตกรมชลประทานด้วย” ผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล ขยายความ
บทบาทหน้าที่และภารกิจหลัก
อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ภารกิจหลักของกรมชลประทาน เราจะคอยดูแลปัญหาเรื่องน้ำท่วม น้ำแล้ง การสร้างแหล่งน้ำ การบริหารจัดการน้ำ และอื่นๆ อีกมากมาย แต่สำหรับสำนักเครื่องจักรกล  จะดูแลเกี่ยวกับเครื่องกลทั้งหมดของกรมชลประทาน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรที่ใช้ทำงานขุดดิน ขุดอ่าง ทำอ่าง ทำทำนบดิน ทำเขื่อน และเครื่องจักรทำแก้มลิง ซึ่งตอนนี้เป็นงานที่ทุกคนให้ความสนใจ ตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาแก้ภัยแล้งน้ำท่วมของประเทศเลย เพียงแต่ว่าแก้มลิง ณ วันนี้ยังไม่เพียงพอ และยังไม่ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทย
ในอนาคต ในฐานะที่ผมผ่านเรื่องราวของการแก้ปัญหาทั้งอุทกภัยและภัยแล้งมา 4-5 ปีนี้ ผมรู้เลยว่า สถานการณ์อย่างหนึ่งก็คือ เรื่องแก้มลิง ที่จะสามารถทำให้พื้นที่แถบอีสาน ทั้ง 20 จังหวัดหายแล้งและหายท่วมได้อย่างยั่งยืน ผมยังมีความมั่นใจว่า อีสานทั้ง 20 จังหวัด แก้มลิงตัวเดียวที่เอาอยู่ในการแก้ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมคู่กัน ถ้าเราแก้ความแลังได้ ก็แก้น้ำท่วมได้ เราสามารถเอาน้ำที่ตกลงมาเท่าไหร่ไม่รู้ นำมาเก็บไว้ในกระพุงแก้มลิงไว้ได้ นี่ก็คือหลักการที่ผมคิดจากการที่ได้ทำงานมา นั่นคือภารกิจของกรมชลประทาน ในส่วนของสำนักเครื่องจักรที่ทำอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งตอนนี้เครื่องจักร ก็กำลังทำงานอยู่ทั่วประเทศตลอด 24 ชั่วโมง
โครงสร้างหน่ายงาน
โดยโครงสร้างแล้ว สำนักเครื่องกลฯ มีศูนย์อยู่ด้วยกันทั้งหมด 7 ศูนย์ เช่น ศูนย์แรกที่เชียงใหม่ ซึ่งดูแลอยู่ประมาณ 10 จังหวัด ศูนย์สองที่พิษณุโลกดูแลประมาณ 10 จังหวัดและ ศูนย์ที่สานมอยู่ที่ทางอีสานคือที่ขอนแก่น ดูแลทั้งภาคอีสานตอนบน และศูนย์ที่สี อยู่ที่โคราช ดูแลอีสานตอนล่าง ศูนย์ที่ห้าอยู่ที่อยุธยา ดูแลทั้งภาคกลางทั้งหมด และศูนย์ที่หกอยู่ที่เมืองกาญจน์ จังหวัดกาญจนบุรีซึ่งดูแลพื้นที่ทางภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ตอนบนและส่วนสุดท้ายอยู่ที่จังหวัดสงขลาที่หาดใหญ่ดูแลทางภาคใต้ทั้งหมด 13 จังหวัด
ทั้งนี้ โดยโครงสร้างที่กล่าวมาเบื้องต้น ทางผู้บริหารในอดีต ได้จัดการเอาไว้ดีมาก สามารถเอาเครื่องจักรไปตอบสนองพี่น้องประชาชนทั้งประเทศโดยผ่านทางสำนักที่กำกับและติดตามดูแลตามนโยบายที่จะขับเคลื่อนไปสู่พี่น้องประชาชนให้ได้
ในส่วนกลาง นอกจากจะมีศูนย์ทั้ง 7 ศูนย์แล้ว ส่วนที่ขึ้นตรงกับสำนักก็มีอยู่ประมาณ 4-5 ส่วนอย่างเช่น ส่วนวิศวกรรมส่วนไฟฟ้า ส่วนโรงงานซึ่งดูแลเรื่องการผลิตและการระบายทั้งประเทศที่ดำเนินการเอง ทั้งนี้ ความสำคัญของเครื่องสูบน้ำเครื่องสูบน้ำของกรมชลประทาน ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ชาวบ้านเขาจะชื่นชมเมื่อมีรถสูบน้ำของกรมชลประทานวิ่งไปหา โดยเฉพาะยามนี้พวกเขาจะไม่มีความสุขเท่าไหร่ แต่ถ้าเห็นท่อสูบน้ำหรือเครื่องสูบน้ำของกรมชลประทานวิ่งเข้าไปหา เขาก็จะมีความสุขอย่างมาก นี่คือสิ่งที่เราสัมผัสได้
เร่งลุยงานกำจัดวัชพืช
ทางสำนักเครื่องจักรกล ได้เริ่มทำการ kick off การกำจัดวัชพืชลุ่มน้ำภาคกลางในฤดูกาลปี 2564 นี้อย่างเป็นทางการแล้วในช่วงที่ผ่านมา โดยได้ส่งเครื่องจักรเครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เรือกำจัดวัชพืช รถแบ๊คโฮลงโป๊ะ รถขุดทั้งชนิดแขนยาวและแขนมาตรฐาน รถเทลเลอร์ รถบรรทุก และเครื่องมืออื่นๆ ที่ต้องใช้งาน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักเครื่องจักรกลเข้าเก็บวัชพืชในพื้นที่ภาคกลางตามแผนที่กรมชลประทานวางไว้โดยจะเร่งกำจัดผักตบชวาและวัชพืชอื่นๆ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2564 นี้ ทั้งนี้ เราต้องวางแผนไม่ให้เศษผักตบต้นเล็กที่เหลือจากการเก็บด้วยเรือกำจัดวัชพืช จะต้องนำเรือนวัตกรรมกำจัดวัชพืชขนาดเล็กที่สร้างขึ้นโดยสำนักเครื่องจักรกล เข้าดูเก็บต้นผักตบชวาต้นเล็กนี้ออกจากคลองให้หมดเพื่อป้องกันการเจริญเติบโตได้อีก รวมทั้งเพื่อไม่ให้มีการไหลของผักตบชวาเข้าไปในคลองที่เก็ยเรียบร้อยแล้ว ก็มีแผนที่จะนำทุ่นกั้นผักตบชาวไปติดตั้งบริเวณปากคลองซอยต่างๆ เพื่อกันผักตบจากบริเวณอื่นไหลเข้ามาในคลองอีกด้วย
พัฒนานวัตกรรมเรือกำจัดวัชพืขขนาดเล็ก
“ในส่วนของวิจัยและพัฒนา เราก็ได้ทำเรือนวัตกรรมทำหลายอย่างเกือบ 10 อย่างแต่ยังไม่ได้ออกสู่ตลาด แต่ที่เร่งด่วนก็คือเรือนนวัตกรรมที่เก็บวัชพืชที่สามารถตอบโจทย์และนำไปใช้เกิดประโยชน์ทั่วประเทศ ตอนนี้เราผลิตได้แค่ประมาณ 200 กว่าลำ เป้าหมายเราต้องการผลิตได้ประมาณ 1,000 ลำเพื่อไปบริหารจัดการวัชพืชที่เป็นผักตบชวาในพื้นที่กรุงเทพกรุงเทพรอบรอบกรุงเทพเพื่อที่จะแก้ปัญหาผักตบชวาได้อย่างดี”
ปัจจุบัน กรมชลประทาน ประสบผลสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมเรือกำจัดวัชพืขขนาดเล็ก Version 3 ซึ่งเป็นการต่อยอดเรือเก็บวัชพืชน้ำขนาดเล็ก Version 2 ที่กรมประดิษฐ์ขึ้นเมื่อปี 2559 โดยเรือกำจัดวัชพืขขนาดเล็กตัวใหม่นี้ มีขีดความสามารถมากกว่าของเดิมคือ เก็บวัชพืชได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพิ่มออกซิเจนในน้ำได้ระหว่างปฏิบัติการ ลุยเหยียบไปบนผักตบชวาได้ ใช้วัสดุที่เบาและแข็งแรงขึ้น จากผลการใช้งานเก็บขยะได้วันละประมาณ 60 ตัน   ขณะที่มีอัตราความสิ้นเปลืองน้ำมันเบนซินเพียงประมาณ 1.2 ลิตรต่อชั่วโมง (หรือชั่วโมงละ 120 บาท) เท่านั้น
สำหรับเรือกำจัดวัชพืขขนาดเล็ก Version 3 ดังกล่าว มีขนาดความกว้างเพียง 1.7 เมตร จึงมีประสิทธิภาพเข้าทำงานในคลองที่เล็กแคบได้ดี ช่วยเรื่องความปลอดภัยให้กำลังคน ประหยัดค่าแรง นอกจากนี้ เรือถูกออกแบบให้ใส่ล้อระหัดพับได้ ง่ายต่อการขนส่ง เกิดความคล่องตัวที่จะไปปฏิบัติการกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำได้อย่างสม่ำเสมอ คาดว่าจะช่วยประหยัดงบประมาณใน การกำจัดวัชพืชทางน้ำและผักตบชวาได้เป็นอย่างดี
“ในช่วง 4 ปีที่ผมมาอยู่ที่นี่ ผมได้เห็นอะไรเยอะแยะมากมาย ทั้งกระบวนการจัดการ สู่กระบวนการบริหารที่ยั่งยืน คิดว่าทางสำนักเครื่องกล สามารถตอบสนองพี่น้องประชาชนได้ทุกเรื่องราวในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นในช่วงฤดูน้ำหลาก หรือเกิดอุทกภัย พวกเราก็ออกไปทำงานทั้งวันทั้งคืนตลอด 24 ชั่วโมง”
ขณะนี้ ทางกรมชลประทาน ได้ระดมเครื่องจักร เครื่องมือ เข้าประจำในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ พร้อมที่จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง โดยเฉพาะน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค หากประชาชนต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อไปที่โครงการชลประทานใกล้บ้าน หรือสายด่วนกรมชลประทานโทร.1460
จึงอยากจะฝากไว้ว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนาแล้ง น้ำท่วม ขอบอกได้เลยว่า พวกเราสามารถช่วยได้ในทุกเรื่องราวชีวิตของพี่น้องประชาชน แล้วที่สำคัญอีกเรื่องก็คือ เรื่องเครื่องจักรเครื่องมือ ก็ถือเป็นเครื่องจักรเครื่องมือของพี่น้องประชาชนทุกคนไม่ใช่เป็นของผมคนเดียว ผมเข้ามาบริหารเพียงไม่กี่ปี ก็หมดวาระ และเกษียณจากไปแล้ว แต่เครื่องจักรกลที่นำมาใช้ประโยชน์นี้ ก็จะเป็นของพี่น้องของพี่น้องประชาชนทุกคนในแผ่นดินนี้ต่อไป

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here