ส่วนบริหารครื่องจักรกลที่​ 5   กรมชลประทาน มั่นใจแผนปฎิบัติการช่วงหน้าแล้ง  เป็นไปตามเป้าหมาย  และนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ณรงค์  วงษ์ศิริ ผู้อำนวยการส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่​ 5​ หันตรา  พระนครศรีอยุธยา  เปิดเผย พร้อมนำสื่อมวลชนลงพื้นที่ติดตามภารกิจช่วงหน้าแล้งประจำปี​ 2564​ ตามนโยบายของ  ประพิศ  จันทร์มา  อธิบดีกรมชลประทานโดยกล่าวกับผู้สื่อข่าวหลายสำนักอย่างมั่นใจว่า  “ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่​ 5​ กำลังดำเนินการตามแผนอย่างเข้มข้นโดยเฉพาะกิจกรรมหลักในการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในหลายพื้นที่ทั้งในภาคกลางภาคตะวันออก  ซึ่งเป็นเขตพื้นที่รับผิดชอบรวม​ 17​ จังหวัดครอบคลุม  3   สำนักชลประทานคือสำนัก​ 9​  10   และ12​  โดยในส่วนการช่วยเหลือลดผลกระทบด้านภัยแล้ง  สบค​ 5ได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรกลที่มีประสิทธิภาพสูงจากผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล  สุพิศ  พิทักษ์ธรรม  ทำให้สบค  5   มีศักยภาพในการสนองนโยบายของกรมชลประทานตามเป้าหมาย  ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดจากหัวหน้าฝ่ายต่างๆภายในสบคไม่ว่าจะเป็นฝ่ายแทร็คเตอร์รถขุด  เรือขุดเก็บวัชพืชทางนำ้รวมทั้งหน้าฝ่านวิศวกรรม​“  ผอ​. ณรงค์  กล่าว

ในด้านเก็บวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางนำ้  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผักตบชวา  สบค  5   ได้ใช้เครื่องจักรกลขนาดใหญ่  สามารถเก็บผักตบชวาจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว  สามารถปฏิบัติงานได้ในทุกสภาพลำนำ้  ที่ผ่านมา  ฝ่ายเรือขุดเก็บวัชพืชได้เข้าดำเนินการในลุ่มนำ้ลำคลองสาขาที่มีความสำคัญในการบริหารและจัดการนำ้โดยเฉพาะในภาคกลางมีความคืบหน้าไม่น้อยกว่า  60​  %   และคาดว่าการดำเนินงานจะแล้วเสร็จทันตามแผนปฏิบัติการภัยแล้งประจำปีอย่างแน่นอน

และเพื่อให้เห็นภาพการปฏิบัติงานของ  สบค​ 5   ผอณรงค์    วงษ์ศิริ​ ได้นำสื่อมวลชนลงพื้นที่จังหวัดอ่างทอง  ตำบลบางแก้ว  ตำบลท่าอิฐ  ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมภายใต้ลุ่มนำ้คลองบางแก้วที่มีความสำคัญ  และเป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่นำ้เจ้าพระยากับแม่นำ้ลพบุรี  โดยเครื่องจักรขนาดใหญ่กำลังทำงานตบอดเวลา  ด้วยกำลังการตักเก็บจำนวน  30-35   ตันต่อชั่วโมง  ทำให้คาดว่า คลองบางแก้วที่มีความยาวประมาณ  15​  กิโลเมตรจะเสร็จสิ้นภายในเวลาไม่กี่วัน

ในช่วงท้ายของการปฎิบัติภารกิจของส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่​ 5  ผอณรงค์ยังได้เปิดแนวคิดและนโยบายสำคัญของสำนักเครื่องจักรกลซึ่งมีส่วนให้การทำงานประสบความสําเร็จ  กล่วาคือ  การเข้าถึง  เข้าพบ  และเข้าแก้ซึ่งเป็นแนวทางที่อธิบดีกรมชลประทานได้มอบให้เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนของกรมฯต้องลงพื้นที่จริง  นำปัญหามาวิเคราะห์และนำไปสู่การแก้ไขอย่างทันท่วงที  

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here