จริงๆแล้วช่วงที่ผ่านมา ถ้าจะแบ่งภารกิจของสำนักเครื่องจักรกลออกเป็นสองเหตุการณ์สำคัญก็คือช่วงหน้าแล้ง ที่เพิ่งจะดำเนินการแล้วเสร็จไป ในส่วนของสำนักบริหารเครื่องจักรกลที่ช 6 ได้มีผลงานในเรื่องที่ตอบสนองแนวนโยบายของทางกรมชลประทาน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการกำจัดวัชพืชสิ่งที่กีดขวางทางน้ำ ตลอดจนการช่วยเหลือประชาชนในช่วงหน้าแล้ง ตรงนี้ก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สำนักงานนี้ มีผลงานไม่น้อยทีเดียว

อีกด้านหนึ่ง เมื่อเราเข้าสู่หน้าฝน นโยบายของกรมชลประทาน ก็คือจะทำอย่างไรก็ได้ให้มีที่กักเก็บน้ำในปริมาณที่มากมาก นั่นหมายความว่า จะต้องมีการขุดลอกหรือว่าจะต้องทำอะไรบางอย่าง ที่จะให้ทางน้ำมันสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งเข้าใจว่าทางสำนักบริหารเครื่องจักรกลที่ 6 มีแผนงานที่น่าจะปฏิบัติอยู่แล้ว ในวันนี้ก็น่าจะมีการมากล่าวถึงกัน

ทั้งนี้ ทางกรมชลประทาน ถือว่า ได้อยู่เคียงข้างประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นน้ำแล้งน้ำมาก ซึ่งพี่น้องที่ทำการเกษตรจะได้มีความมั่นใจ และพี่น้องประชาชนทั่วไป ก็จะได้เห็นว่า ทางกรมชลประทานวันนี้ จะไม่ได้ปิดทองหลังพระอีกต่อไป พวกเขาจะทำงานเพื่อพี่น้องประชาชนกันแบบไหนและเป็นอย่างไรกันบ้าง เราลองมาติดตามกันครับ

โอกาสนี้ ทางรับเบอร์พลาส มีเดีย มีโอกาสพาทีมงานไปเยี่ยมเยียนและสัมภาษณ์พิเศษคณะผู้บริหารจากส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 6 สำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน นำโดย นายบรรพต สุธรรมพันธุ์ ผู้อำนวยการส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 6 พร้อมด้วย นายธีระ ระเด่น หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมที่ 6 นายอดุลย์ เต๊ะแห หัวหน้าฝ่ายเครื่องจักรกลเรือขุดและเรือกำจัดวัชพืชที่ 6 นายโสภณ เพชรกูล หัวหน้าฝ่ายเครื่องจักรกลรถขุดที่ 6 นายสุชาติ ศรีจันทร์ หัวหน้าฝ่ายเครื่องจักรกลก่อสร้างงานดินที่ 6 นายนิวัตร์ สุกแสง หัวหน้าฝ่ายซ่อมบำรุงรักษาที่ 6 และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ให้ข้อมูลถึงขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบปัญหาและอุปสรรค ภารกิจ ผลงาน ตามนโยบายในช่วงแล้งที่ผ่านมา และแผนปฏิบัติงานในฤดูฝน 2564 ของส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 6 สำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน นอกจากนี้ ยังได้พาทีมงานลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้างานขุดลอกคลองและงานกำจัดวัชพืชบริเวณเขื่อนแม่กลอง .ม่วงชุม .ท่าม่วง.กาญจนบุรี

นายบรรพต สุธรรมพันธุ์ ผู้อำนวยการส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 6 เปิดเผยว่า ในส่วนของขอบเขตและความรับผิดชอบของส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 6 ซึ่งขึ้นตรงกับสำนักเครื่องจักรกลโดยมี นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน ได้มอบภารกิจและนโยบายของส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 6 โดยเรามุ่งเน้นทำตามภารกิจของกรมชลประทาน และทำตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และอธิบดีกรมชลประทาน ทั้งนี้ เรามีขอบเขตของส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 6 ที่ดูแลอยู่ 3 สำนักงานเขตรับผิดชอบของ ก็คือสำนักงานชลประทาน มีชลประทานที่ 11 สำนักงานชลประทานที่ 13 และสำนักงานชลประทานที่14 เป็นต้น

สำนักงานชลประทานที่ 11 เรามีพื้นที่เขตรับผิดชอบอยู่ 4 จังหวัด คือ นนทบุรี สมุทรสาคร ปทุมธานี และสมุทรปราการ ในส่วนของสำนักงานชลประทานที่ 13 เราก็ดูแลอยู่ 4 จังหวัดเช่นกัน มีกาญจนบุรี นครปฐม ลพบุรีและ สมุทรสงคราม และในส่วนของสำนักงานชลประทานที่ 14 เราดูแลรับผิดชอบทั้งหมด 12 จังหวัด

ในช่วงหน้าแล้งที่ผ่านมา การทำงานของส่วนบริหารงานเครื่องจักรกลที่ 6 เรามีการทำงานโดยประสานงานกัน 3 ฝ่าย โดยฝ่ายแทรคเตอร์จะรับงานทั้งหมด 13 งาน และมีงานโครงการพระราชดำริอยู่ 5 งานสำหรับงานพระราชดำริ จะอยู่ในส่วนของงานสำนักชลประทานที่ 13 4 งาน กรมชลประทานที่ 14 1 งานในส่วนของรถขุด เรามีทั้งหมด 22 โครงการในเขตสำนักงานที่ 13 และ 14 ในส่วนของเรือมีการขุดลอก 8 งานและงานกำจัดผักตบชวา 22 โครงการ เป็นต้น

นายบรรพต เพิ่มเติมว่าเนื่องจากต้นวัชพืชและต้นผักตบชวาเป็นจำนวนมากขึ้นปกคลุมภายในอ่างเก็บน้ำ ทำให้ปิดกั้นเส้นทางการระบายน้ำ เพื่อเป็นการเปิดเส้นทางการไหลของน้ำให้มีประสิทธิ์ภาพในการระบายน้ำ มากยิ่งขึ้น จึงต้องเร่งกำจัดต้นวัชพืชและผักตบชวา เพื่อนำไปทิ้ง ที่ผ่านมาทางสำนักชลประทานที่ 13 ได้เร่งกำจัดต้นวัชพืช และผักตบชวา อย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายของรัฐบาล และตามคำสั่งของ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งขาติ(กอนช) และดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งนายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน ได้มีคำสั่งให้สำนักชลประทานทุกแห่งทั่วประเทศ เร่งจัดทำโครงการกำจัดต้นวัชพืชและผักตบชวาที่ปิดกั้นเส้นทางการไหลของน้ำตามแหล่งน้ำต่างๆ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ อีกทั้งเพื่อรองรับสถานการณ์น้ำตามอ่างเก็บน้ำต่างๆ ให้สามารถรองรับมวลน้ำได้อย่างเต็มที่

และเนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝน ประจำปี 2564 ทางกรมชลประทานได้กำชับให้สำนักงานชลประทานและโครงการชลประทานทุกแห่งเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เนื่องจากช่วงนี้มีวัชพืชไหลเข้ามาสะสมในแม่น้ำและทางชลประทานสายต่างๆอย่างต่อเนื่อง โดยสั่งการให้โครงการชลประทานทุกแห่ง ให้เร่งดำเนินการกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำในเขตพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง ทั้งในการใช้เครื่องจักร เครื่องมือ และแรงงานคน หากดำเนินการเก็บใหญ่แล้วเสร็จ จะจัดรอบเวรเก็บเล็กอย่างต่อเนื่องด้วยเรือนวัตกรรมกำจัดวัชพืชขนาดเล็ก เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและลดผลกระทบกับประชาชนตลอดจนเป็นการบริหารจัดการน้ำในลุ่มแม่น้ำแม่กลองให้ใสสะอาด ไม่เกิดมลพิษ

ช่วงที่ผ่านมา เราถือว่าประสบความสำเร็จในการเก็บผักตบชวา ต้องเก็บให้หมดภายใน2 เดือน ถ้าเก็บไม่หมด มันจะเจริญเติบโตขึ้นมาอีก ซึ่งในการเก็บให้หมด จะต้องมีการเก็บย่อย ทั้งนี้ การเก็บย่อยก็ต้องใช้หลายส่วนเป็นองค์ประกอบ อย่างเช่น ในการให้คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วม อาจจะเป็นประชาชนในท้องถิ่นหรือส่วนราชการโดยเราจะใช้หรือเล็กๆเพื่อเก็บ เพื่อป้องกันการขยายในวงกว้าง ที่ผ่านมาผักตบ มีปริมาณมากถึง 1,000,000 กว่าตัน ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบลุ่มน้ำภาคกลาง

ด้าน นายอดุลย์ เต๊ะแห หัวหน้าฝ่ายเครื่องจักรกลเรือขุดและเรือกำจัดวัชพืชที่ 6 กล่าวว่า ส่วนใหญ่แล้วการเก็บผักตบ เราจะเน้นในเขตภาคกลาง ซึ่งอยู่ในเขตความรับผิดชอบของกรมชลประทานเขตที่ 11 ช่วงที่ผ่านมา เรามีการกำจัดไปแล้วประมาณ 700,000 ตันในกระบวนการเก็บผักตบ จะมีทั้งเก็บใหญ่ละเก็บย่อยและเก็บปกติตามนโยบายของท่านอธิบดี  คือหยุด เก็บ บ่อยคือ หยุดไม่ให้ผักตบเข้ามาในพื้นที่ และเก็บบ่อยบ่อยเหมือนกับว่ามีคนเฝ้าคลองอยู่ ถ้าทำอย่างนี้ได้ การเก็บผักตบก็จะสะอาด ลดภาวะน้ำท่วมน้ำแล้งได้อย่างมาก

ขอความร่วมมือจากองค์กรส่วนท้องถิ่น

ในการเก็บผักตบเบื้องต้น เราในฐานะหน่วยงานสนับสนุน ก็จะใช้เครื่องจักรใหญ่ในการเข้าไปดำเนินการส่วนการเก็บย่อย จะขึ้นอยู่กับสำนักกรมชลประทานในพื้นที่ที่รับผิดชอบ จะต้องรับช่วงต่อจากเราที่ไปเก็บในบริบทของการเก็บผักตบ ถ้ามันขึ้นหนาแน่นเราจะใช้รถแบ็คโฮว์ลงโป๊ะ และเครื่องจักรขนาดใหญ่เข้าไปเก็บ พอเก็บเสร็จแล้วเมื่อมันโล่งแล้วเราก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของโครงการ คือสำนักชลประทานพื้นที่ เข้ามาเฝ้าระวัง ต่อมาการเก็บย่อย จะใช้กำลังคนหรือจะเก็บย่อยด้วยเรือนวัตกรรม ซึ่งทางสำนักเครื่องจักรกล ก็ได้จัดทำไปหลายลำแล้วในการเก็บย่อย ทั้งนี้ ในส่วนของความร่วมมือ ทางสำนักกรมชลประทาน ก็ได้ประสานกับหน่วยงานในพื้นที่อยู่ในส่วนของเรา โดยให้เราเข้าถึงพื้นที่ และเข้าถึงชาวบ้านเพื่อที่จะให้ชาวบ้านเข้ามาร่วมมือช่วยกัน

สำหรับผักตบชวาที่เก็บได้นั้นไม่ได้นำไปทิ้งที่ไหน  แต่จะนำไปเก็บสะสมเพื่อรวบรวมเอาไว้ทำปุ๋ย เพื่อแจกจ่ายให้พี่น้องประชาชน  ดังนั้น จึงขอฝากไปถึงประชาชนว่า หากพบเห็นผักตบชวาหรือวัชพืชอื่นๆ ที่กีดขวางทางน้ำในคลองชลประทาน  ให้โทรแจ้งมาที่ส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา ที่หมายเลข 034-612525 ได้ในวันและเวลาราชการ

ด้าน นายสุชาติ ศรีจันทร์ หัวหน้าฝ่ายเครื่องจักรกลก่อสร้างงานดินที่ 6 เพิ่มเติมว่า ในเขตสำนักงานชลประทานที่ 13 ซึ่งเป็นเป็นการแก้ปัญหาภัยแล้ง ก็คือการสร้างอ่างเก็บน้ำ ซึ่งมีทั้งหมด 4 โครงการโครงการแรก เป็นโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยกระพัอยอยู่ อำเภอหนองปรือในจังหวัดกาญจนบุรีโครงการที่สองโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยลำทราย ซึ่งจะแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2564 ตอนนี้สามารถกักเก็บน้ำได้เรียบร้อยแล้ว ส่วนอีกโครงการคือ โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ตะกึง ซึ่งเพิ่งจะเริ่มได้ดำเนินการ ส่วนโครงการที่ 4 คือโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยป่าไร่ ซึ่งโครงการนี้อยู่ในระยะดำเนินการปีที่2 ซึ่งจะแล้วเสร็จประมาณปี 2567 จะช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งได้

ส่วนอีกโครงการเป็นการแก้ปัญหาอุทกภัยเมืองชุมพร ซึ่งเป็นโครงการพระราชดำริ ที่ฝ่ายเครื่องจักรกลก่อสร้างงานดิน เข้าไปดำเนินการก็คือในส่วนของงานขุดลอกขยายคลอง ซึ่งมีความกว้างประมาณ 80 เมตรความยาวอยู่ที่ประมาณ 9 กิโลเมตรซึ่งเป็นงานของปีงบประมาณ 2564 ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือนกันยายนปีนี้ โครงการนี้ จะช่วยบรรเทาปัญหาเรื่องน้ำท่วมตัวเมืองได้

ในส่วนของเรือกำจัดวัชพืช ทางฝ่ายเครื่องจักรกลเรือขุดและเรือกำจัดวัชพืชที่ 6 จริงๆแล้วเรือนวัตกรรมจะรับผิดชอบอยู่ที่ส่วนกลาง สำนักเครื่องจักรกล ทางฝ่ายวิศวกรรมเป็นผู้ดำเนินการ แต่ทางส่วนกลางก็ได้มอบให้กับทางฝ่ายต่างๆในส่วนของฝ่ายเรือกำจัดวัชพืชที่6 ก็ได้มา 6 ลำ ทางฝ่ายเรือขุดอีก 2 ลำทั้งนี้ ในส่วนของสำนักเครื่องจักรกลที่ 6 เราไม่ได้เป็นตัวหลักในการดำเนินการ เราเป็นแค่หน่วยสนับสนุนในการช่วยเรื่องเครื่องจักรกลใหญ่และเครื่องจักรกลหนัก แต่หลักๆแล้ว เรือนวัตกรรมจะช่วยใช้เก็บย่อยเก็บเล็กๆน้อยๆที่จะทำให้วัชพืชหมดไปจากลำคลองต่อไป

ทั้งนี้ ทางด้านฝ่ายวิศวกรรม นายธีระ ระเด่น หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมที่ 6 เผยว่า ในส่วนของบริหารเครื่องจักรกลที่ 6 ได้ดำเนินการอยู่ใน 3 สำนักงาน คือสำนักงานชลประทานที่ 11 สำนักงานชลประทานที่ 13 และสำนักงานชลประทานที่ 14 ซึ่งทางฝ่ายวิศวกรรมมีหน้าที่ที่จะคุมอัตรากำลังอัตราเครื่องจักรและงบประมาณ ซึ่งหลักใหญ่ก็คือในเรื่องของการของบประมาณและควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาลและของกรมฯนอกจากนี้ยังควบคุมเรื่องครุภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งได้นำไปใช้งานและจะต้องรายงานผลปฏิบัติงานให้ทางกรมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลสถิติหรือผลงาน และในการใช้งบประมาณ เราต้องควบคุมให้เป็นไปตามระเบียบการใช้เงินให้ถูกต้อง เพื่อนำพาให้ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 6 ไม่มีข้อผิดพลาด

ผู้อำนวยการส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 6 ทิ้งท้ายว่า จากวันที่รับมอบนโยบายมาจากสำนักเครื่องจักรกลที่ 6 ขณะนี้ เราได้ปิดจ๊อบหน้าแล้งไปแล้ว เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ทั้งนี้ การบูรณาการของส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 1 ถึง 7 เราสามารถทำได้ครอบคลุมทั่วประเทศ ตามนโยบายของสำนักเครื่องจักรกลในเรื่องภัยแล้ง เรามีการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง ทำให้เกษตรกรมีน้ำใช้เพียงพอ ทั้งอุปโภคและบริโภค ซึ่งทางส่วนบริหารเครื่องจักรกลทั้งหมด เราได้เตรียมการทั่วประเทศโดยสั่งกำชับทั้ง 7 ศูนย์ถ้ามีเหตุการณ์ฉุกเฉิน ผอ.ท่านสุพิศ พิทักษ์ธรรม และทีมงานทุกส่วน จะต้องเข้าพื้นที่ภายใน 3 ชั่วโมงเครื่องจักรต้องมาถึงหน้างานอย่างช้า 24 ชั่วโมง และต้องพร้อมปฎิบัติงานอย่างรวดเร็วไม่มีวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ทุกคนต้องเตรียมพร้อมตามคำสั่งของผูบังคับบัญชา ซึ่งทั้ง 7 ส่วน เรามีอุปกรณ์เครื่องจักรกลทั้งหมด 938 ชิ้นที่พร้อมเข้าถึง รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์และเชื่อว่า ในปีนี้น้ำน่าจะมาก แต่ในส่วนของบริหารเครื่องจักรกลทั้ง 7 ศูนย์ เราน่าจะเอาอยู่และจัดการได้ดีเนื่องจากเรามีการเตรียมการที่พร้อมเป็นอย่างดี

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here