ต่อไปชิ้นส่วนที่เป็นของเล่นจากบริษัท LEGO เช่น ใบไม้ พุ่มไม้และต้นไม้ จะทำจากพลาสติกจากพืชที่ได้จากอ้อย และจะปรากฏในกล่อง LEGO ที่วางจำหน่ายในปี 2018
การผลิตได้เริ่มขึ้นแล้วสำหรับชิ้นส่วนต่างๆ ที่ยั่งยืนของ LEGO ที่ทำจาก polyethylene ที่ทำจาก ethanol ที่ได้จากอ้อย ถึงแม้จะทำจากอ้อย แต่ polyethylene ดังกล่าว ซึ่งเป็นพลาสติกที่นุ่ม คงทนและยืดหยุ่น ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเหมือนทางเทคนิคเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลาสติกดั้งเดิม ส่วนประกอบดังกล่าวได้รับการทดสอบเพื่อให้พลาสติกจากพืชดังกล่าวได้มาตรฐานสูงด้านคุณภาพและความปลอดภัยของ LEGO Group และความคาดหวังของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของ LEGO
ชิ้นส่วนของ polyethylene คิดเป็น 1-2% ของชิ้นส่วนพลาสติกทั้งหมดที่ผลิตโดย LEGO Group ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ยั่งยืนดังกล่าวครอบคลุมชิ้นส่วนของ LEGO หลายชนิด เช่น ใบไม้ พุ่มไม้ และต้นไม้ ที่ทำจากพลาสติกจากพืชทั้งหมด
Tim Brooks รองประธาน รับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม ของ LEGO Group กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ LEGO ผลิตของเล่นเด็กที่มีคุณภาพสูงเสมอเพื่อให้เด็กทุกคนมีโอกาสที่จะสร้างโลกของตัวเอง ผ่านทางของเล่นเชิงนวัตกรรม ทั้งนี้ polyethylene ทำจากพืชมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ polyethylene ดั้งเดิม
การดำเนินการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของ LEGO Group ที่จะใช้วัสดุที่ยั่งยืนในผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์หลัก ภายในปี 2030 และ Tim Brooks ยังกล่าวว่า จะเป็นก้าวใหญ่ก้าวแรกที่จะผลิตกล่องทั้งหมดของ LEGO ที่ใช้วัสดุยั่งยืนที่จะวางจำหน่ายในปีนี้
LEGO Group ได้เป็นพันธมิตรกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) เพื่อสนับสนุนความต้องการของพลาสติกจากแหล่งที่ยั่งยืน และร่วมกับกลุ่ม Bioplastic Feedstock Alliance (BFA) ภายใต้ WWF เพื่อให้มีการจัดหาวัตถุดิบยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ทั้งนี้ ชิ้นส่วนจากพืชของ LEGO ได้รับการรับรองโดยมาตรฐาน Bonsucro Chain of Custody สำหรับอ้อยที่ได้มาอย่างมีความรับผิดชอบ ทั้งนี้ ซัพพลายเออร์ทุกรายจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานด้านคุณธรรม สิ่งแวดล้อม สุขภาพและความปลอดภัย จากแนวทางชั้นนำทั่วโลกดังกล่าว และบริษัทฯ ก็จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับซัพพลายเออร์ เพื่อประเมินวัฏจักรชีวิต ของการผลิตวัสดุชีวภาพ
Alix Grabowski เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านโครงการ ของ WWF กล่าวว่า เป็นสิ่งสำคัญที่บริษัทต่างๆ ในแต่ละอุตสาหกรรมจะต้องจัดหาแหล่งวัสดุอย่างมีความรับผิดชอบ ที่ซึ่งผู้คน ธรรมชาติ และเศรษฐกิจต่างก็เติบโตได้ การตัดสินใจของ LEGO Group ในการใช้พลาสติกจากพืชที่ยั่งยืน เป็นโอกาสที่จะลดการพึ่งพาทรัพยากรที่หมดสิ้น และการทำงานร่วมกับกลุ่ม Bioplastic Feedstock Alliance จะช่วยบริษัทฯ ให้เชื่อมโยงกับบริษัทอื่นๆ ในส่วนของความยั่งยืน
LEGO Group ตั้งเป้าให้ปี 2030 เป็นปีที่การดำเนินงานต้องไม่มีของเสีย ซึ่งจะช่วยลดขยะพลาสติกในการไปสู่ขยะฝังกลบ