ปัจจุบัน สารคีเลติ้งเรซิ่น (chelating resins) ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Lewatit MDS ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับกระบวนการทำน้ำเกลือให้บริสุทธิ์ก่อนผ่านกระบวนการแยกสารคลอร์-อัลคาไลในน้ำเกลือด้วยกระแสไฟฟ้า (chlor-alkali electrolysis)
ผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ในกลุ่ม Lewatit จาก LANXESS ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์สารเรซิ่นกรองน้ำเกลือ ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องความสามารถในการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความคุ้มค่าในการนำไปใช้งาน : สารเรซิ่นในกลุ่ม Lewatit MDS ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการบำบัดน้ำเกลือดิบก่อนนำไปผ่านการแยกสารคลอร์-อัลคาไลด้วยกระแสไฟฟ้าโดยวิธีการกรองผ่านเมมเบรน (membrane method) กระบวนการนี้ จะทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับเมมเบรนที่ใช้กรองน้ำเกลือด้วยการแลกเปลี่ยนประจุ (ion exchange membranes) รุ่นล่าสุด ซึ่งมีความอ่อนไหวสูงขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้อายุการใช้งานของเมมเบรน ยาวนานขึ้น และลดต้นทุนพลังงานของกระบวนการนี้ ซึ่งทาง ดร.เจนนี บาร์บิเยอร์ (Dr.Jenny Barbier) ผู้จัดการฝ่ายการตลาดเชิงเทคนิคแห่งหน่วยธุรกิจเทคโนโลยีการทำของเหลวให้บริสุทธิ์ (Liquid Purification Technologies Business Unit) ของแลนเซสส์ ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ในกลุ่มเรซิ่นกรองน้ำเกลือด้วยการแลกเปลี่ยนประจุ (ion exchange resins) ช่วยปกป้องเมมเบรนให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น ในงาน The Flemion™ Seminar ที่จัดขึ้น ณ นครอัมสเตอร์ดัม เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
ทำให้กระบวนการทำน้ำเกลือให้บริสุทธิ์ มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในกระบวนการไฟฟ้าเคมี (electrochemical process) การแยกสารคลอร์-อัลคาไลในน้ำเกลือด้วยกระแสไฟฟ้า (chlor-alkali electrolysis) จะได้สารโซเดียมไฮดอกไซด์หรือโซดาไฟ ก๊าซคลอรีน และก๊าซไฮโดรเจนจากน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นสูง (concentrated saline solution : brine) – สารที่ได้เป็นองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญในการผลิต PVC, กระดาษ, เซลล์ลูโลส, สารฆ่าเชื้อ และสารฟอกขาว (bleach) เป็นต้น กระบวนการกรองด้วยเมมเบรนนี้ ถูกพัฒนาเพื่อใช้กับอุตสาหกรรมนี้โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ 1970s กระบวนการนี้มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากขึ้น สามารถประหยัดพลังงานลงถึง 25% เมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการอื่น ๆ ที่สำคัญคือ ไม่ต้องใช้สารปรอทและแร่ใยหินเลย เนื่องจากผลดีดังกล่าว จึงมีการนำกระบวนการนี้มาใช้อย่างกว้างขวางในโรงงานใหม่ ๆ กว่า 2 ทศวรรษแล้ว และโรงงานเก่า ๆ ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาใช้วิธีการกรองผ่านเมมเบรนนี้กันมากขึ้น
สิ่งเจือปนสามารถทำความเสียหายที่ซ่อมแซมไม่ได้ให้แก่เมมเบรนที่ราคาค่อนข้างสูง ซึ่งใช้ในกระบวนการแยกสารด้วยกระแสไฟฟ้า (electrolysis) น้ำเกลือดิบจึงต้องถูกทำให้บริสุทธิ์มากขึ้นเสียก่อนโดยการกรองผ่านสารเรซิ่นของแลนเซสส์
ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Lewatit MDS Series การที่เรซิ่นมีขนาดอนุภาคที่มีรูพรุนใหญ่ (macroporous) ขนาดเท่า ๆ กันและกระจายตัวสม่ำเสมอ (monodisperse) ทำให้การทำน้ำเกลือดิบให้บริสุทธิ์ก่อนนำมาทำการแยกสารคลอร์-อัลคาไลโดยใช้กระแสไฟฟ้าผ่านเมมเบรน สามารถทำได้อย่างประสิทธิภาพมากขึ้น ความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างเรซิ่นชนิดใหม่นี้กับชนิดอื่นที่มีมาก่อนคือ เส้นผ่าศูนย์กลางของอนุภาค ซึ่งมีขนาดเพียง 390 μm สำหรับ MDS types (Mono Disperse Small เช่น Lewatit MDS TP 208) และมีขนาดเล็กกว่า Lewatit MonoPlus TP 208 ถึงประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ โดยมีการกระจายตัวสม่ำเสมอ (monodisperse) เช่นกัน อันเนื่องมาจากความแตกต่างนี้ MDS types จึงมีลักษณะทางจลนพลศาสตร์ (kinetics) ที่ดีกว่า มีอัตราการฟื้นตัวที่สูงขึ้น มีความสามารถในการใช้งานรวมและการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการขจัดไอออนบวกของโลหะในหมู่อัลคาไลน์เอิร์ธ จึงถือว่าเรซิรนตัวนี้ มีเสถียรภาพทางกลและการออสโมซิติกที่ดีมาก
“ไอออนของแบเรียมและสตรอนเซียม จะถูกแยกออกจากน้ำเกลืออย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะ เนื่องจากความสามารถในการเลือกขจัดสารโลหะที่ค่อนข้างจำกัดและจลนพลศาสตร์ในการแลกเปลี่ยนที่ช้ามากของเรซินตัวอื่น ๆ ทำให้ความสามารถของผลิตภัณฑ์คีเลตติงเรซิน จึงดูโดดเด่นน่าทึ่ง และน่าสนใจสำหรับลูกค้าอย่างมาก” บารบิเยอร์ กล่าว “คีเลติ้งเรซิ่นยังมีความสามารถจับยึดธาตุที่เบากว่าในหมู่อัลคาไลน์เอิร์ธอย่างเช่น แคลเซียมและแมกนีเซียมได้อีกด้วย อัตราการขจัดสารโลหะในหมู่อัลคาไลน์เอิร์ธที่ดีขึ้น เป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญ เนื่องจากลดการรั่วไหล ช่วยเพิ่มอายุการใช้งานของเมมเบรนในแง่นี้จึงคาดว่า เรซิรนในกลุ่ม Lewatit MDS จะถูกนำไปพัฒนาใช้กับกระบวนการแยกสารผ่านเมมเบรนอย่างต่อเนื่อง และกว้างขวางมากขึ้น เพราะช่วยให้ผู้ใช้สามารถปกป้องเมมเบรนได้ดีขึ้นทด้วยการลดความเข้มข้นของไอออนโลหะในหมู่อัลคาไลน์เอิร์ธลงก่อนที่จะนำมากรองผ่านเมมเบรน” บาร์บิเยอร์ กล่าวเสริม
ผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจ
คีเลติ้งเรซิ่นในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Lewatit MDS เพิ่มผลดีที่เป็นข้อได้เปรียบทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการแยกสารคลอร์-อัลคาไลในน้ำเกลือด้วยกระแสไฟฟ้า โดยเฉพาะในเรื่องของการประหยัดค่าใช้จ่ายพลังงานและผลลัพธ์ของเรื่องดังต่อไปนี้ :
• อายุการใช้งานของเมมเบรนและเรซิ่นที่ยาวนานขึ้น
• ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง อันเนื่องมาจากไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำ (regenerant) และขจัดน้ำเสีย
• วงจรการผลิตยาวนานขึ้น
• ได้ผลผลิตน้ำเกลือดิบที่จะนำมาเตรียมใช้งานต่อมากขึ้น
ทั้งนี้ ในการนำเสนอของบาร์บิเยอร์ที่งาน Seminar Flemion™ ได้แสดงให้เห็นว่า เรซิ่นชนิดใหม่นี้ ถูกนำไปใช้งานจริงได้สำเร็จแล้วในระดับอุตสาหกรรม และยังได้อธิบายถึงประโยชน์ที่โรงงานอุตสาหกรรมจะได้รับ โดยยกตัวอย่างสองกรณีศึกษา รายแรกคือผู้ผลิต PVC ชั้นนำของยุโรปจากประเทศเยอรมนี อีกรายหนึ่งเป็นผู้ผลิตสารเคมีจากทางตอนใต้ของอินเดีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตสารเคมีพื้นฐานและสารเคมีชนิดพิเศษ
อนึ่ง แลนเซสส์เป็นบริษัทผู้นำในอุตสาหกรรมสารเคมีชนิดพิเศษ (specialty chemicals) มียอดรายได้รวมกว่า 9.7 พันล้านยูโรในปี พ.ศ. 2560 และมีพนักงาน 19,200 คนอยู่ใน 25 ประเทศทั่วโลก มีโรงงานทั่วโลกถึง 73 แห่ง ธุรกิจหลักของแลนเซสส์คือการพัฒนา การผลิต และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เคมีที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต (chemical intermediates) เคมีภัณฑ์เติมแต่ง (additives chemicals) ผลิตภัณฑ์สารเคมีชนิดพิเศษ (specialty chemicals) และพลาสติก แลนเซสส์เป็นบริษัทที่อยู่ในดัชนีหลักทรัพย์ที่ประเมินประสิทธิผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทชั้นนำระดับโลก ได้แก่ ดัชนี Dow Jones Sustainability Index (DJSI World) และ FTSE4Good ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.lanxess.com