โดย : นายโชติพัฒน์ กลิ่นสุคนธ์ นางสาวสุพิชญา สุวรรณโภชน์ ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ภาคอีสานเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรท่ีสำคัญของประเทศ ผลผลิตข้าว มันสำปะหลัง และอ้อย มากกว่าครึ่งมาจากภาคอีสาน ในขณะท่ีผลผลิตยางพารา ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหน่ึงเป็น ผลจากนโยบายส่งเสริมการปลูกยางของภาครัฐในช่วงที่ผ่านมา นอกจากจะบริโภคภายในประเทศแล้ว ยังส่งสินค้าเกษตรที่ผลิตในอีสานออกไปขายในต่างประเทศด้วย
แม้ว่าสินค้าเกษตรจะเหมาะกับการขนส่งทางรางเพราะมีน้ำหนักมาก ปริมาณขนส่งต่อครั้งสูง และ มูลค่าต่อหน่วยต่ำ แต่ส่วนหนึ่งเพราะข้อจำกัดของเครือข่ายเส้นทางรถไฟท่ีมีเพียง 4,430 กิโลเมตรทั่วประเทศ ซึ่งน้อยกว่าถนน 100 เท่า รวมทั้งความไม่แน่นอนของเวลาที่ใช้ในการขนส่ง ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานอื่นยังไม่เพียงพอ ทำให้การขนส่งทางรางไม่เป็นที่นิยมนัก โดยข้อมูลสถิติของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งจราจร (สนข.) (ข้อมูลปี 2559) ชี้ให้เห็นในภาพรวมว่า การขนส่งทางราง มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 1.4 ของการขนส่งทั้งหมดในประเทศไทยเท่านั้น
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ เป็นหน่ึงในโครงการสำคัญที่คาดว่า จะช่วยยกระดับศักยภาพการขนส่งสินค้าทางรางของประเทศ หากถามว่า การขนส่งสินค้าเกษตรแปรรูปของอีสานจะได้ประโยชน์จากโครงการนี้อย่างไร คำตอบคือ โครงการน้ีจะตอบโจทย์อย่างน้อยใน 3 เรื่อง ได้แก่ (1) ช่วยลดเวลาการขนส่งและ เพิ่มความแน่นอน เพราะรถไฟไม่ต้องจอดรอสับหลีกขบวนอีกต่อไป (2) โครงข่ายรถไฟครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น นอกเหนือจาก 2 เส้นทางเดิม ซึ่งได้แก่ ชุมทางถนนจิระ-หนองคาย และชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี แล้ว จะมีเส้นทางใหม่อีก 1 เส้นทาง คือ บ้านไผ่-นครพนม ซึ่งทุกเส้นทางสามารถเช่ือมต่อไปยังท่าเรือกรุงเทพฯ และท่าเรือแหลมฉบังได้ และ (3) สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานมีความพร้อมมากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มสถานท่ีเก็บตู้สินค้า (Container Yard: CY) ซึ่งจะเอื้อให้การรวบรวมสินค้าเกษตร ก่อนเคลื่อนย้ายต่อไปยังท่าเรือ ทำได้สะดวกขึ้น
คำถามต่อไป แล้วโครงการน้ีจะช่วยให้ผู้ประกอบการประหยัดต้นทุนได้เพียงใด เมื่อแล้วเสร็จ คาดว่า จะช่วยลดเวลาที่ใช้ในการขนส่งได้ถึงร้อยละ 30 เช่น การส่งสินค้าจากขอนแก่นไปยังท่าเรือแหลมฉบัง โดยการใช้รถไฟทางเดี่ยวในปัจจุบันใช้เวลาประมาณ 12-14 ชั่วโมง จะลดลงเหลือเพียง 9-10 ชั่วโมงเท่านั้นหากเป็นการขนส่งโดยรถไฟทางคู่ ซึ่งใกล้เคียงกับการขนส่งด้วยรถบรรทุก แต่ต้นทุนถูกกว่า 2 เท่า นอกจากนี้ หากสินค้าเกษตรสำคัญของอีสานทัง 4 ชนิด คือ ข้าว อ้อย มันส้าปะหลัง และยางพารา ซึ่งมีผลผลิตรวมประมาณ 80 ล้านตันต่อปี เปลี่ยนไปใช้การขนส่งทางรางเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 คาดว่า จะสามารถประหยัดต้นทุนได้มากกว่า 1 พันล้านบาทต่อปี
อย่างไรก็ดี ข้อมูลภาคสนามที่ได้จากการที่ ธปท. ได้หารือกับภาคธุรกิจในพื้นที่ พบว่า การขนส่งทางรางจะตอบโจทย์ได้นั้น มีประเด็นที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม คือ (1) ลักษณะสินค้า หากเป็นสินค้าท่ีเสียหายได้ง่ายในระหว่างขนย้าย การขนถ่ายหลายครั้ง อาจทำให้สินค้าเกิดความเสียหาย (2) ปริมาณการขนส่ง การขนส่งทางราง จะคุ้มก็ต่อเมื่อขนส่งปริมาณมาก ๆ ต่อครั้ง ซึ่งผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม อาจได้รับประโยชน์จากการขนส่งในระบบรางไม่มากนัก และ (3) ที่ต้ังของผู้ประกอบการ หากโรงงานตั้งอยู่ไกลจากสถานีขนถ่ายสินค้า ผู้ประกอบการอาจไม่ได้ประโยชน์จากการขนส่งทางรางเท่าที่ควร
จากประโยชน์และข้อจากัดข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า ผู้ประกอบการสินค้าเกษตรประเภทแป้งมันสำปะหลัง น้ำตาล และยางพารา มีแนวโน้มเปลี่ยนมาใช้การขนส่งทางรางเพิ่มขึ้น เพราะเป็นสินค้าที่ไม่ค่อยเกิดความเสียหายขณะขนย้าย และส่วนมากเป็นกิจการขนาดใหญ่ ทำให้ง่ายต่อการรวบรวมและขนส่ง ขณะที่ข้าวมีโอกาสเปลี่ยนมาใช้การขนส่งทางรางน้อยกว่า เพราะเป็นสินค้าที่เสียหายจากการขนส่งได้ง่าย โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิท่ีผู้ซื้อเน้นคุณภาพเป็นหลัก ประกอบกับโครงสร้างอุตสาหกรรม ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ทำให้การรวบรวมสินค้าจ้านวนมากเพื่อขนส่งโดยรถไฟแต่ละครั้ง เป็นเรื่องท่ีทำได้ยาก
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า รถไฟทางคู่ จะเข้ามามีบทบาทสำต่อการขนส่งสินค้าเกษตรของภาคอีสาน จากจำนวนเส้นทาง ความแน่นอนด้านเวลา และสถานที่เก็บตู้สินค้า คาดว่าผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกิจการขนาดใหญ่บางประเภทท่ีจะให้ความสนใจต่อการขนส่งทางรางมากขึ้น อย่างไรก็ดี การขนส่งระบบรางจะได้รับความนิยมมากขึ้น หากมีกุญแจสำคัญฤดู คือ การมีหน่วยงานกลางท่ีมาทำหน้าที่บริหารจัดการส่วนกลาง เช่น การ ผลักดันให้เกิดการแบ่งปันตู้คอนเทนเนอร์ในขบวนเดียวกัน (เศรษฐกิจเชิงแบ่งปัน หรือ Sharing Economy) เพื่อให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม มีส่วนร่วมได้มากขึ้น และการลงทุนด้านเทคโนโลยีระบบติดตามสินค้า (GPS Tracking) ในขบวนรถไฟ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบสถานะสินค้า และวางแผนการขนส่งได้แม่นยำขึ้น การขนส่งระบบราง ก็จะมีส่วนช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ภาคธุรกิจในภาคอีสานได้ดีขึ้น