ปัญหาขยะพลาสติกในทะเล เป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สะสมมานาน จนกระทั่งในปี 2015 จากการศึกษาของ Jenna Jambeck, PhD. อาจารย์ด้านวิศกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา ได้ทำการจัดอันดับประเทศที่ทิ้งขยะลงสู่ทะเลมากที่สุด ผลการศึกษพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ทิ้งขยะลงสู่ทะเลมากที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของโลก โดยประเทศ 10 อันดับแรก ได้แก่ ประเทศจีนอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์เวียดนามศรีลังกา, ไทย, อียิปต์, มาเลเซีย,ไนจีเรียและบังคลาเทศ ทำให้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หน่วยงาน/องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆได้เริ่มตีแผ่บทความเกี่ยวกับปัญหาขยะพลาสติก,ขยะทะเล และไมโครพลาสติก ที่ส่งผลต่อชีวิตของสัตว์ทะเลระบบนิเวศวิทยา และยังส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เนื่องจากคุณสมบัติของพลาสติกที่มีน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นสูงและราคาถูก ทำให้มีการใช้พลาสติกในผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย ส่งผลให้เกิดการใช้พลาสติกที่มากเกินความจำเป็นและพฤติกรรมการใช้อย่างไม่รับผิดชอบของมนุษย์ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โลกประสบปัญหามลพิษจากขยะพลาสติกโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีระบบจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ ภาครัฐบาล จึงต้องออกมาตรการต่างๆเพื่อใช้จัดการและยับยั้งปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ ภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้ประกอบการที่อยู่ในอุสาหกรรมพลาสติก ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงผู้แปรรูปวัตถุดิบได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และเห็นว่าการแก้ไขปัญหานี้จะดำเนินการโดยฝ่ายใดฝ่ายนึงมิได้ ทุกฝ่ายต้องมีส่วนรับผิดชอบร่วมกันและต้องสร้างความร่วมมืออย่างเข้มเข็ง ทั้งจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม

ด้วยเหตุนี้ ทำให้ กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับ องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันพลาสติก และองค์กรอื่นๆ อีก 1องค์กร ทั้งภารัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคมได้ร่วมมือกัน จัดตั้ง โครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อแก้ไขปัญหาขยะและพลาสติกอย่างยั่งยืน หรือ PPP Plastic เมื่อวันที่ มิถุนายน 2561 โดยมีเป้าหมาย คือ การเปลี่ยนขยะพลาสติกให้กลับมาเป็นทรัพยากรและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทั้งหมดตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมถึงให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิธีใช้พลาสติกและการจัดการหลังการใช้ เพื่อที่จะไม่ให้มีขยะจากพลาสติกหลุดไปสู่สิ่งแวดล้อมและสามารถลดขยะพลาสติกในทะเลไทยได้ไม่ต่ำกว่า 50% ในปี 2570

ด้าน นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เสริมว่า การดำเนินการของโครงการ PPP Plastics มีหลักในการดำเนินการ เสาหลัก ดังนี้ เสาหลักที่หนึ่ง ด้านการจัดการขยะและสร้างโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนพลาสติก เน้นการค้นหารูปแบบโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมสำหรับการจัดการขยะของชุมชนเมืองและต่างจังหวัด ในรูปแบบที่แตกต่างกัน (Infra-structure) สำหรับเขตในเมืองนั้นจะดำเนินงานในเขตคลองเตย โดยมีการทำกรณีศึกษาในพื้นที่ แห่งในเขตคลองเตยคือ ได้แก่ 1. อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ (บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)  2. อาคารบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด  3. อาคารไวท์ กรุ๊ป  4. แมริออท เอ็กเซ็กคิวทีฟ อพาร์ทเมนต์ 5. ห้างสรรพสินค้า ดิ เอ็มโพเรี่ยม 6. โรงแรม โอ๊ควู้ด เรสซิเดนซ์ สุขุมวิท 24 กทม. และ 7. การยาสูบแห่งประเทศไทย  มีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับปริมาณขยะที่เกิดขึ้น การคัดแยก และการกำจัด จัดให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรียนรู้ซึ่งกันและกัน พื่อสร้างระบบที่ดีที่สุดสำหรับแต่ละองค์กร คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในกลางปี 2563

โมเดลต้นแบบในการจัดการปัญหาขยะพลาสติกในต่างจัหวัด (จังหวัดระยอง) ณ ตอนนี้ มีการลงนามความร่วมมือจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารตำบล 18 แห่ง ณ วันที่ 18 ธันวาคม 2561 มีองค์กรต่างๆที่สำคัญเช่นโรงเรียน และชุมชนในจังหวัดระยองรวมทั้งหมด 48 ชุมชนโดยตั้งเป้าหมายปัจจุบันของโมเดลนี้คือ จะต้องสามารถนำขยะพลาสติกกลับไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมดและไม่มีขยะหลุดไปยัง Land Fill ภายใน ปี เริ่มจากการปลูกฝังให้มีการคัดแยกขยะพลาสติกโดยเฉพาะขยะจำพวกถุงพลาสติกซึ่งมีน้ำหนักเบาและมูลค่าน้อย ประชาชนในชุมชนหลายๆแห่งมีการเก็บรวบรวมและนำมาขายให้กับผู้รับซื้อเพื่อที่จะรวบรวมแล้วส่งให้กับโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลต่อไป หน่วยงานท้องถิ่นจากภาครัฐหลายๆที่ มีการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนให้มีการรับซื้อเศษพลาสติกและคัดแยกเพื่อจำหน่ายให้กับโรงงานเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน มีกิจกรรมให้นักเรียนำขยะพลาสติกมาจากบ้านเพื่อคัดแยกและจำหน่ายและนำเงินที่ได้เป็นสวัสดิการของนักเรียนเช่นค่าอาหารกลางวันเป็นต้น ในส่วนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองนั้นมีบ่อขยะขนาดใหญ่ซึ่งเป็นแบบ sanitary landfill มีโรงงานคัดแยกขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ และภายในปี 2563 จะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานจากขยะซึ่งจะเป็นวิธีการสุดท้ายที่สามารถกำจัดขยะพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้อีกแล้ว 

เสาหลักที่สอง: ด้านการพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรม ปัจจุบันมีการดำเนินการนำเศษขยะพลาสติกที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้นำมาผสมกับยางมะตอยในการเพิ่มความแข็งแรงให้กับถนนราดยาง ผลการทดลองพบว่าถนนมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น 15-33% โดยที่ไม่เพิ่มต้นทุนในการทำถนนแต่อย่างใดขยะพลาสติกที่นำมาใช้มีทั้งพลาสติกประเภท PET, PE, PP, PS อีกทั้งจะทำการทดลองในพลาสติกหลายชั้น ตัวอย่างเช่น ซองบรรจุน้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน เป็นต้น ปัจจุบันได้ทดลองเทราดในหลายพื้นที่แล้วเช่นบริเวณนิคมอุตสาหกรรม RIL นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ถนนภายในโครงการ Grand Boulevard ของ SC Asset พื้นที่จอดรถของร้านสะดวกซื้อ 7-11 ขนาดใหญ่ในหลายสาขา ทางคณะทำงานจะขยายไปพัฒนาร่วมกับภาครัฐต่อไป อีกทั้งคณะทำงานยังได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนรายหนึ่งพัฒนาไม้เทียมที่มีส่วนผสมของขยะพลาสติกเพื่อนำมาใช้เป็นไม้เทียมที่มีคุณสมบัติเหนือกว่าไม้จริงและมีความสวยงามเหมือนไม้จริง ในขณะนี้ได้ผลิตไม้ออกมาเป็นผลสำเร็จแล้ว

เสาหลักที่สาม: กิจกรรมสื่อสารประชาสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสื่อสารให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการคัดแยกขยะพลาสติก และ สร้างวัฒนธรรมการแยกขยะให้กับคนรุ่นใหม่ โดยมีแผนงานการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ร่วมกับภาครัฐคือกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมและมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในการออกแบบ และ จัดทำ Digital Platform ให้สรถเขาถึงได้ง่าย มีการบันทึกและวิเคระห์พฤติกรรมผู้ใช้งน เพื่อให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึง การใช้ Influencer ในปัจจุบันช่วยในการเผยแพร่ข้อมูลข่วสาร เพื่อให้เกิดความหลากหลายและสามารถเข้าถึงผู้รับสารได้ทุกกลุ่มเป้าหมายๆ จัดกิจกรรมและแคมเปญอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างการรับรู้โครงการต่อสาธารณะชนให้ได้มากที่สุด

เสาหลักที่สี่: ด้านการทำงานร่วมกับภาครัฐเพื่อพัฒนานโยบายและกฎหมายต่างๆคณะทำงานได้เข้าร่วมกับคณะทำงานด้านการพัฒนากลไกทางกฎหมายและข้อกำหนดซึ่งลงนามแต่งตั้งโดยปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งในรอบปีที่ผ่านมาคณะนี้ได้มีส่วนร่วมในการร่างแผนที่นำทาง (Road Map) การจัดการขยะพลาสติกของประเทศไทย ปี 2561 – 2573 และกำหนดเป้าหมายการลดการใช้พลาสติกประเภทที่หลุดไปในสิ่งแวดล้อมมาก และร่วมแสดงความเห็นในร่างกฏระเบียบต่างๆที่ภาครัฐจะออกประกาศบังคับใช้ในอนาคต

เสาหลักที่ห้า: ด้านการจัดทำฐานข้อมูลขยะพลาสติก มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการในการนำขยะกลับมาใช้ใหม่และวัดผลขยะทะเลที่ต้องลดลงตามเป้าหมาย สำหรับฐานข้อมูลในปี 2561 ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วโดยสถาบันพลาสติกได้ว่าจ้างที่ปรึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำการศึกษาสถานการณ์ขยะพลาสติกของประเทศไทยโดยใช้แนวคิด Material Flow Analysis ของปี 2560 จากผลการศึกษาพบว่าประเทศไทยสร้างขยะจากผลิตภัณฑ์เป้าหมายประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง 1.93 ล้านตันต่อปี สามารถจัดการได้ 1.9 ล้านตัน แต่มีเพียง 3.9 แสนตันที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ขยะที่เหลือยังคงอยู่ในหลุมฝังกลบถึง 1.51 ล้านตันต่อปี และมีขยะที่ยังไม่ได้รับการจัดการที่เหมาะสมถึง 30,000-50,000 ตันต่อปี โดยขยะเหล่านี้ได้หลุดไปสู่สิ่งแวดล้อมบนบกและคาดว่ามีการปนเปื้นลงสู่ทะเล 10,000-30,000 ตันต่อปี อย่างไรก็ตามในปี 2562 กรมควบคุมมลพิษได้ว่าจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษาทำการศึกษาข้อมูลอย่างต่อเนื่องจากฐานของข้อมูลปี 2561 โดยจะเพิ่มเติมพื้นที่ศึกษา,ผลกระทบจากมาตราการลดและเลิกใช้สินค้าพลาสติกบางชนิดและแนวทาง การลดผลกระทของผู้ประกอบการต่อไป

เสาหลักที่หก: ด้านการจัดหาเงินทุน และงบประมาณ ปัจจุบันได้รับเงินบริจาคจำนวน 5.2 ล้านบาท มีแผนใช้งบประมาณในปี 2562 แล้วจำนวน 5.2 ล้านบาท ตามแผนการดำเนินงานห้าปี ต้องการใช้เงินทุนทั้งสิ้นจำนวน 5ล้านบาท โครงการยังต้องการเงินทุนสนับสนุนการดำเนินงานอีกมาก

ทั้งนี้ แผนโครงการ PPP Plastics มีแผนดำเนินงาน ปี โดยดำเนินงานทั้ง เสาหลักอย่างต่อเนื่อง คณะทำงานมุ่งหวังว่าเมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วจะสามารถนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมดโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และสามารถลดปัญหาขยะพลาสติกลงทะเลได้ไม่ต่ำกว่า 50%

ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวทิ้งท้ายว่า ปัจจุบัน สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อส่ิงแวดล้อม หรือ TIPMSE เป็นสถาบันในสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีภารกิจในส่งเสริมให้เกิดการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างครบวงจร ซึ่งการดําเนินงานของ TIPMSE ภายใต้การสนับสนุนจากภาคเอกชน 25 องค์กร ที่มีความรับผิดชอบในบรรจุภัณฑ์ของตนไม่ให้เป็นภาระต่อสังคมภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า “บรรจุภัณฑ์เป็นวัตถุดิบ” และยึดแนวทาง ความรับผิดชอบต่อสังคม

นอกจากนี้ TIPMSE วางเป้าหมายในการสร้างสังคมแห่งการบริโภคที่ยั่งยืนด้วยแนวทาง Closed Loop Packaging หรือ CLP ซึ่งการดําเนินงาน CLP เป็นแนวทางการจัดการบรรจุภัณฑ์ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางอย่างยั่งยืน ด้วยการเชื่อมโยงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้มีส่วนร่วมในการส่งต่อบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับเข้าสู่วงจร การรีไซเคิล ทั้งในส่วนของ ผู้ผลิต ผู้จําหน่ายสินค้า ผู้บริโภค ผู้รับซื้อวัสดุรีไซเคิล และโรงงานรีไซเคิล รวบรวม และส่งต่อบรรจุภัณฑ์กลับเข้าสู่กระบวนการแปรรูป สอดรับกับยุทธศาสตร์สภาอุตสาหกรรมในการขับเคลื่อน นโยบาย Industry Transformation ต่อไป

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here