โดย นายศตพร สภานุชาต ผู้จัดการศูนย์ข้อมูลและวิจัยอุตสาหกรรมพลาสติก
พฤศจิกายน 2021 ท่ีผ่านมา ภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังคงทรงตัวอยู่ในระดับท่ีน่าพอใจ แม้ว่าระดับ Global PMI จะหดตัว จากเดือนที่ผ่านมาเล็กน้อยในอัตรา -0.2% MoM มาอยู่ที่ 54.2 จุด จากทิศทางคาสั่งซื้อการจ้างงาน และราคาวัตถุดิบท่ีชะลอตัวลง ในขณะที่ทิศทางการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ทางด้านประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจโลกอย่างสหรัฐฯ และจีน ต่างมีค่า PMI หดตัว เล็กน้อยจากเดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นกลับมีค่า PMI ขยายตัวได้ดี สำหรับประเทศไทยแม้ว่า PMI จะหดตัวจากเดือนท่ีผ่านมาเล็กน้อย แต่ยังคงระดับที่ 50.6 จุด รวมถึงดัชนีความ เช่ือมั่นภาคอุตสาหกรรมยังสะท้อนทิศทางเชิงบวกอยู่
ด้านภาวการณ์ผลิตในอุตสาหกรรมพลาสติกไทย ทิศทาง การผลิตโดยรวมยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนท่ีผ่านมา ระดับสินค้าคงคลังหดตัวทั้งในกลุ่มเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เช่นเดียวกับทิศทางการค้าในอุตสาหกรรมพลาสติกที่ทรงตัวเช่นกัน โดยปริมาณการส่งออกเม็ดพลาสติกหดตัวเล็กน้อยจากเดือนที่ผ่านมา -0.7% MoM แต่ด้วยระดับราคาเม็ดพลาสติกท่ีค่าเฉลี่ยโดยรวมสูงข้ึนกว่าเดือนท่ีผ่านมาประมาณ +3.0% MoM ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกขยายตัวจากเดือนท่ีผ่านมา +2.7% MoM โดยปรับเพิ่มขึ้นในตลาดส่งออกสำคัญอย่างจีนที่มีอัตราการขยายตัวของการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์สื่อสารเพิ่มขึ้น รวมถึงประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศจากการเตรียมเปิดประเทศในช่วงต้นปี 2022 ทำให้มี Demand เพิ่มข้ึนเพื่อรองรับอัตราการบริโภคท่ี คาดว่าจะสูงขึ้น ในทางกลับกันการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกในเดือนน้ีกลับขยายตัวได้อย่างเห็นได้ชัด (+3.5% MoM) ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มข้ึนในตลาดส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น (+1.6% MoM) และ สหรัฐฯ (+9.6% MoM) จากบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่เร่ิมดีข้ึนตามลาดับ
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันที่การระบาดของ COVID-19 สายพันธ์ุ Omicron เริ่มรุนแรงมากข้ึน และพบผู้ติดเชื้อเพิ่มข้ึน เป็นจำนวนมากหลังสิ้นสุดเทศกาลปีใหม่ และยังคาดว่าตัวเลข ผู้ติดเชื้อจะยังคงเพิ่มสูงสูงขึ้นอีก เป็นเหตุให้หลายประเทศรวมท้ัง ประเทศไทย เริ่มมีการทบทวนและเตรียมมาตรการรองรับผลของการแพร่ระบาดท่ีจะตามมาน้ัน สถานการณ์ดังกล่าวอาจจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมต่อไปด้วยเช่นกัน