ในยุคที่คนให้ความสำคัญกับความยั่งยืน (Sustainability) ทั้งด้านความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน หรือการทำธุรกิจและอุตสาหกรรม คำว่า AgriTech (Agriculture Technology) ก็ถูกพูดถึงบ่อยขึ้นมาก ซึ่งก็คือนวัตกรรมที่ว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยี เพื่อลดการใช้แรงงานสิ่งมีชีวิต เพิ่มคุณภาพผลผลิต ตอบสนองแนวคิดการลดภาวะโลกร้อน และยังอำนวยความสะดวกให้บุคลากรทางการเกษตรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และที่สำคัญอย่างยิ่งยวดกับประเทศไทยที่วิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของคนในประเทศพึ่งพาอาชีพด้านเกษตรกรรมมาช้านาน
AXONS (แอ๊กซอน) ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาซอฟต์แวร์และบริการโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ให้กับภาคอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแบบครงวงจรฝีมือคนไทย และยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จด้านเทคโนโลยีของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ในการก้าวสู่ “ครัวของโลก” มาแล้วด้วย โดย AXONS เป็นองค์กรที่มีจุดมุ่งหมายสู่ความเป็นผู้นำด้าน AgriTech เพื่อช่วยยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรและการจัดการห่วงโซ่อาหารของไทย เชื่อมโยงกับระดับโลกอย่างครบวงจร ซึ่งการจะไปถึงจุดมุ่งหมายดังกล่าวได้นั้น AXONS ต้องเริ่มจากการสร้างรากฐานทัศนคติอันเข้มแข็งให้กับคนในองค์กร ให้ทุกคนเห็นภาพเป้าหมายที่ชัดเจนตรงกัน มอบลู่ทางให้ได้ค้นหาความฝันตามเส้นทางที่ตนถนัด เมื่อมีความมุ่งมั่น หนทางสู่การเปลี่ยนแปลงก็ย่อมปรากฏชัดเจน และนี่คือสิ่งที่3 คน IT รุ่นใหม่จาก AXONS ต้องการจะบอกเรา
ต้องมีความเข้าใจโลกยุค 4.0
คุณยงค์ยุทธ์ บูรณเทพาภรณ์ AVP- Strategy and Digital Transformation กล่าวว่า “AXONS คือเบื้องหลังความสำเร็จของวงการธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมมากว่า 40 ปี โดยมีคู่ค้าคนสำคัญอย่าง บริษัท เจริญภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) จากเดิมเราเคยทำเพียงสนับสนุนซอฟต์แวร์อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในยุคก่อน ในสมัยนั้นระบบ IT จะง่ายตรงที่มีคำสั่งอะไรมา คน IT ก็จะนำมาแก้ไขเป็นรายกรณีและจบลงแค่นั้น เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันที่เป็นโลกยุค 4.0 ความสำคัญของ IT ในโลกยุคนี้คือการให้ความสำคัญกับลูกค้า มองความต้องการของพวกเขาเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติงาน (Customer Centric) โดยเน้นปัญหาที่หน้างานจริงของลูกค้ามาออกแบบคุณค่าการทำงาน หน้าที่ของผมคือการเปลี่ยนภาพการทำงาน IT ให้เป็นยุค 4.0 โดยมี 3 หัวใจหลัก ได้แก่ การพัฒนาคน กระบวนการ และเทคโนโลยี”
“ในส่วนของการ พัฒนาคน ต้องเล่าว่าคนยุคใหม่มีประสบการณ์การใช้งานซอฟต์แวร์มาก่อนแล้ว หลายคนอยู่ในยุคที่เติบโตมากับสมาร์ทโฟน หรือระบบอัจฉริยะต่างๆ และมีตัวอย่างซอฟต์แวร์ที่ดีในตลาดอยู่รอบตัวเต็มไปหมด ฉะนั้นการปรับคนให้เข้ากับโลกยุค 4.0 ต้องทำให้คน AXONS มีสกิลในการเข้าใจปัญหาลูกค้าและดีไซน์ประสบการณ์ที่แก้ปัญหาจริงให้กับลูกค้าให้ได้ ถัดมาคือเรื่องกระบวนการทำงาน ที่เน้นการให้ความสำคัญของเรื่องการส่งมอบให้เร็วและมีคุณภาพ โดยมีเวลาเป็นต้นทุนที่สำคัญที่สุด เพราะธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก ดังนั้นกระบวนการทำงานก็ต้องใช้ความเป็น Agile มากขึ้น โดยจะเน้นเรื่องการส่งมอบงานอย่างต่อเนื่อง ต้องเอาสิ่งที่ส่งมอบแต่ละเวอร์ชั่น ไปทดสอบตลาด และลูกค้าเสมอ
ส่วนลักษณะซอฟต์แวร์และการส่งมอบที่จะเปลี่ยนไปแบบ Agile หากเล่าให้เห็นภาพง่ายๆ ให้นึกถึงถ้าลูกค้าต้องการพาหนะที่จะเดินทางจากกรุงเทพฯ–เชียงใหม่ เราคงไม่เริ่มด้วยการสร้างเครื่องบินให้ลูกค้า เพราะเสี่ยงที่จะไม่ตอบโจทย์ หรือใช้ทรัพยากรไม่ถูกต้อง เราอาจจะคุยเรื่องประสบการณ์การเดินทางของลูกค้าว่าระหว่างเดินทาง เป็นการเดินทางแบบไหน อาจจะออกแบบให้เป็นมอเตอร์ไซค์ หรือรถยนต์ขนาดเล็ก ที่เหมาะสมกับการเดินทางครอบครัว หรือคู่รักก่อน โดยที่เราจะไม่ไปสร้างปืนใหญ่มายิงยุง แต่ต้องทำซอฟต์แวร์ที่ตอบโจทย์ได้ตรงที่สุด ท้ายสุดคือ ด้านเทคโนโลยี เราเน้นการผลิตงานที่ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าได้มากขึ้น ผ่าน PDCA ซึ่งหมายถึง Plan (วางแผนด้วยการเห็นจุดเจ็บปวดและปัญหา) Do (ลงมือทำ เน้นประสบการณ์ลูกค้า) Check (ตรวจสอบด้วยข้อมูล) Adjust (ปรับเปลี่ยนและต่อยอด) ซึ่งเป็นพื้นฐานที่บริษัทเทคฯ ยุคใหม่ก็ให้ความสำคัญเช่นกัน”
ต้องมีความเข้าใจธุรกิจของลูกค้า
คุณอรรถวุฒิ ศักดาภินันท์ General Manager (Business Partner) เล่าว่า “งานของผม คือการให้คำปรึกษาทั้งBusiness Unit กับคู่ค้าและลูกค้า ในการพัฒนาระบบ IT ภายในของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการเพิ่มผลผลิตการแก้ pain point การลดจำนวนภาระงาน ให้กับ User เราจะนำองค์ความรู้ที่เรามี รวมถึง Solutions ต่าง ๆ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเข้าไปนำเสนอผู้ใช้งาน จนกว่าจะเกิดความพอใจทั้งสองฝ่าย ตามด้วยการลงพื้นที่จริงเพื่อดูสภาพงานที่แท้จริง และปิดท้ายด้วยการติดตั้งระบบซอฟต์แวร์
ตัวอย่างความสำเร็จที่เห็นได้ชัดเจน เช่น การพัฒนา LINE OA Wet Market บัญชีไลน์เพื่อธุรกิจ ‘ตลาดสดทั่วไทย’ สำหรับกลุ่มธุรกิจแบบ B2B ที่ต้องการสร้างช่องทางในการคอมมูนิตี้กับคู่ค้า เช่น พ่อค้า แม่ค้า ในตลาดสด และแก้ไขpain point ที่ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง คือ ธุรกิจได้ยอดขาย ส่วนลูกค้า (End user) ได้สิทธิประโยชน์ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้อย่างสะดวกแล้ว ยังสามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างแบรนด์และคู่ค้าได้ในระยะยาว ขณะที่ด้าน IT จะได้รับข้อมูลพฤติกรรมของผู้ใช้งานจำนวนมากสามารถนำไปพัฒนาและต่อยอดแพลตฟอร์มให้ตอบโจทย์การใช้งานได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้ใช้งานLine OA นี้แล้วกว่า 2 หมื่นราย
ซึ่งความสำเร็จเหล่านี้ เกิดจาก Passion และความตั้งใจของทีมงานทุกคน รวมถึงการที่ทีมงานลงหน้างานจริง ทำให้รับรู้ปัญหาต่าง ๆ และพัฒนาระบบต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด กล่าวได้ว่าเราคือ “เพื่อนคู่คิด” ในธุรกิจของบริษัทคู่ค้า และโดยเฉพาะ New Business ที่เพิ่งเริ่มตั้งตัว ธุรกิจใหม่เหล่านี้มักจะขาดองค์ความรู้ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ นอกจากนั้นในยุคที่โลกหมุนไปเร็วขึ้นเรื่อย ๆ ธุรกิจใหม่จะมีข้อจำกัดเรื่องเวลา หากเปิดตัวช้ากว่า หรือคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการไม่ดีเท่าเทียมกับคู่แข่งในระดับใกล้เคียงกัน ก็อาจทำให้เสียเปรียบตั้งแต่เริ่มฉะนั้นนอกจากทักษะด้านเทคโนโลยีแล้ว คน IT ยุคใหม่จะต้องมีความรู้ด้านธุรกิจติดตัวไว้เพื่อจะตอบโจทย์ อำนวยความสะดวกให้กับทุกฝ่ายได้ดีที่สุด”
ต้องเป็นคนหลังบ้านที่เข้าใจคนหน้าบ้าน
ตำแหน่ง UX/UI Designer คือ ทีมเบื้องหลังในการสร้างเบื้องหน้าที่ดี ซึ่งเราได้ คุณราศี อิสราสิริ Senior User Experience Designer มาเล่าถึงความเป็นคน IT ในมุมมองของฝ่าย UX/UI ว่า “หน้าที่ของเราเริ่มจากการเข้าใจความต้องการลูกค้า โดยต้องเข้าใจก่อนว่าผลิตภัณฑ์ (Product) ที่เรากำลังจะเข้าไปสำรวจนั้นเกี่ยวกับใครหรือเป็นธุรกิจในรูปแบบใด และมี pain point อะไรบ้าง ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการลงพื้นที่จริง โดยเริ่มจากการพูดคุยเกี่ยวกับรูปแบบการทำงาน เพื่อหาว่าเราจะสามารถช่วยเหลือ หรือแก้ไขปัญหาอะไรที่เขาประสบอยู่ได้อย่างตรงจุด จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในรูปแบบ Journey Analysis โดยส่งต่อไปยัง PO (Product Owner) ที่รับผิดชอบคู่ค้าหรือลูกค้า และช่วยดูว่าเมนูหรือฟังก์ชั่นแบบนี้เหมาะสมกับลูกค้าหรือไม่ เพื่อให้แพลตฟอร์มนี้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และตรงใจ”
“ความท้าทายสำคัญของงานนี้คือเราต้องเป็นคนที่เข้าใจ พร้อมที่จะช่วยเขาแก้ไขปัญหา ดังนั้นการได้ลงพื้นที่ไปคุยกับลูกค้าจึงมีความสำคัญ และจำเป็นมาก เพราะหากเลือกคุยผ่านออนไลน์เพียงอย่างเดียว ก็จะไม่ได้เห็นสีหน้า แววตาหรือน้ำเสียง เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ว่าเรายังมีอะไรที่พลาดไป และลูกค้าพอใจผลงานของเรามากน้อยเพียงใด โดยที่เราก็สามารถสอบถามตรงนั้นเลยว่าลูกค้าต้องการให้เราเพิ่มเติมอะไรอีกหรือไม่ เพื่อพัฒนางานออกมาได้สมบูรณ์มากที่สุดและในท้ายสุด”
คุณสรรเสริญ สมัยสุต กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารแบรนด์ AXONS ก็ได้กล่าวสรุปว่า “AXONS การันตีคุณภาพองค์กรด้วยความสำเร็จของการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์และนวัตกรรมเทคโนโลยีให้กับคู้ค่าอย่างบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารระดับโลก ในฐานะทีมงานผู้อยู่เบื้องหลังมาตลอดกว่า 40 ปี ซึ่งทั้งหมดนี้จะประสบความสำเร็จไม่ได้เลยหากขาดกำลังสำคัญอย่างบุคลากรที่มีแนวคิดแบบคนรุ่นใหม่ ที่เปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำให้ทุกการเติบโตของเรามีส่วนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คน เพราะเราไม่ใช่เป็นเพียงนักพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่เป็นกลุ่มคนที่อยากจะให้วัตถุดิบทุกชนิด อาหารทุกจาน ที่เสิร์ฟไปยังทุกโต๊ะ ล้วนเปี่ยมไปด้วยคุณภาพที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ และวันนี้เราพร้อมแล้วที่จะก้าวสู่การเติบโตอีกระดับสู่การเป็น “โอเพ่นแพลตฟอร์ม” (Open Platform) มุ่งพัฒนา AgriTech ผลักดันให้ไทยก้าวขึ้นเป็นประเทศผู้นำด้านเกษตรกรรมที่โดดเด่นในเวทีโลก เพื่อยกระดับให้ทุกคนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ใช้ชีวิตในแต่ละวันอย่างมีความสุข”