อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย เตรียมขับเคลื่อนงานใหญ่ “Fi Asia 2023” (Food Ingredients Asia 2023: ฟู้ด อินกรีเดียนท์ส เอเชีย 2023) กระหึ่มวงการส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่มเอเชีย พร้อมดันวัตถุดิบท้องถิ่น เพิ่มมูลค่า สู่แมสอินกรีเดียนท์ระดับโลก พร้อมเชิญเหล่ากูรูภาครัฐ เอกชน ตอกย้ำความมั่นใจ พบกันวันที่ 20 – 22 กันยายน 2566 เต็มพื้นที่ฮอลล์ 1 – 4 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
นางสาวรุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย กล่าวว่า อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการธุรกิจไมซ์ (MICE) ในบทบาทของการเป็น Exhibition Organizer แล้ว ยังมีความตั้งใจที่จะเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญต่อการผลักดันวงการอุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะ Future Food ให้เกิดการพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้น และมุ่งมั่นกับการเป็นศูนย์กลางของอาหาร โภชนาการต่างๆ รวมถึงผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคได้เข้าถึงอย่างครบถ้วน ในงาน Fi Asia 2023 ในปีนี้ เรามีการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ Fi Asia ให้ทันสมัยมากขึ้น พร้อมแสดงจุดยืนในการเป็น The Taste Maker ศูนย์รวมของวัตถุดิบจากทั่วทุกมุมโลก เผยให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยที่จะเป็นฮับของการส่งออกวัตถุดิบอาหารในอนาคต
นางสาวรุ้งเพชร เพิ่มเติมว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้นำอุตสาหกรรมด้านการเกษตรชั้นนำของโลก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมส่วนผสมอาหาร ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาผู้คนทั่วโลก และได้รับการยอมรับในด้านคุณภาพและมาตรฐานระดับสากลอีกด้วย ฉะนั้นเพื่อเป็นการเป็นการสนับสนุนและผลักดันให้อุตสาหกรรมอาหารของไทยก้าวขึ้นไปอีกระดับ Fi Asia จึงเปรียบเสมือนเป็นเวที หรือแพลตฟอร์มในการนำส่วนผสมอาหารจากเกษตรกรรมของไทยมาปรับใช้ พัฒนา ผ่านองค์ความรู้และนวัตกรรม พร้อมทั้งเกิดการแลกเปลี่ยนแนวคิดจากผู้คนจากหลากหลายประเทศ จากทั่วทุกทุมโลก ลดการนำเข้าอาหาร พร้อมตอกย้ำการเป็นผู้ผลิตหลักในอุตสาหกรรมอาหารของโลกอย่างแท้จริง การจัดงานในครั้งนี้ นอกจากเป็นการส่งเสริมกลุ่ม SMEs และ Start Upแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ได้มามองหาส่วนผสมอาหาร และสร้างประสบการณ์จากการเข้าร่วมงานที่มีผู้ผลิตส่วนผสมอาหารจากทั่วโลก พร้อมทั้งจับนวัตกรรมตามเทรนด์ เพื่อพาสินค้าของพวกเขาให้เข้าถึงผู้บริโภค อีกด้วย
ภายในงานแถลงข่าว ยังมีเสวนาในหัวข้อ “โอกาสและทิศทางของวัตถุดิบอาหารของไทย และเทรนด์อาหารแห่งอนาคต” โดยได้รับเกียรติจากเหล่ากูรูทั้งภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมเข้าร่วม อาทิ ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), ดร. วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานหอการค้าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย, ดร. วีรวัฒน์ เลิศวนวัฒนา กรรมการบริหาร บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด, คุณเข็มอัปสร สิริสุขะ ผู้บริหารแบรนด์ SiriThai (สิริไท)
ด้าน ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานหอการค้าไทย และนายกสมาคมหอการค้าอาหารอนาคตไทย ได้กล่าวถึงทิศทางและเป้าหมายของอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคตว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยนั้นส่งออกอาหารมาเป็นอันดับที่ 13 ของโลก มีการส่งออกไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่สินค้าที่ไทยส่งออกได้แก่ ข้าว, มันสำปะหลัง, น้ำตาล,ไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป, อาหารทะเล และอาหารกระป๋อง ซึ่งภาพรวมมูลค่าการส่งออกในแต่ละปีก็มีแนวโน้มว่าจะเติบโตมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอาหารแห่งอนาคตที่ทั่วโลกยังคงให้ความสนใจ รวมถึงในประเทศไทยก็เริ่มมีการตื่นตัว ทั้งในกลุ่มผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งทิศทางในวันนี้จำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิต และลดต้นทุนเพื่อแข่งขันกับต่างชาติให้ได้ ดังนั้นจึงได้มีการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้สามารถสู้กับเจ้าใหญ่ได้ด้วยการทำตลาดที่แตกต่าง ผลิตสินค้าไม่เยอะ แต่ต้องไม่เหมือนรายใหญ่ทำ เพื่อให้ SMEs สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เพราะในปัจจุบันนี้ตลาดการส่งออก Future Food หรืออาหารแห่งอนาคตนั้นยังมีโอกาสอีกมากทั้งในอาเซียน สหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีน ซึ่งจะต้องทำให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สิ่งแวดล้อม หรือ Climate Change, ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี, ความผันผวนทางการค้า, โครงสร้างของประชากรที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงเรื่องเทรนด์ผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดการปรับตัวอย่างยั่งยืน และตอบโจทย์เทรนด์อาหารโลกในวันนี้
ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันการเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบไทย เราต้องมองเป็นจากวัตถุดิบสู่ Food ingredient หรือ Functional ingredient ที่ผ่านมาประเทศไทยส่งออกวัตถุดิบ มากมายไปยังตลาดโลก แต่ไทยยังต้องนำเข้า Food ingredient เมื่อคิดเป็นสัดส่วนของการค้าอาหาร ทั้งหมดของไทยมีการนำเข้ามากกว่า ร้อยละ 24 แต่หากเรามีการพัฒนา การปรับเปลี่ยนวัตถุดิบให้เป็นส่วนผสมอาหารที่มีมูลค่าสูงกว่า นอกจากจะลดการนำเข้าแล้วไทยยังจะมีอุตสาหกรรมใหม่ ที่เป็นส่วนสำคัญของการผลิตอาหารทั่วโลกเพิ่มขึ้นในประเทศด้วย
ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวเพิ่มเติมในส่วนการ Scale Up Plant หรือการเพิ่มกำลังการผลิตให้กับกลุ่มสตาร์ทอัพไว้ด้วยว่า ในส่วนของการขยายขนาดการผลิตจากห้องทดลองสู่ระดับการผลิตจริง หรือ Scale Up น้ัน วว. ตระหนักถึง ความสําคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SME วว.ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลใน การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมให้บริการแก่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างพื้นฐานด้านอาหาร อาทิ โรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร(Food Innovation Service Plant : FISP), โรงงานนําทางสายการผลิตอาหารแห้ง, ศูนย์นวัตกรรมหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม และ Co-Working Food Space
ด้าน ดร. วีรวัฒน์ เลิศวนวัฒนา กรรมการบริหาร บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวถึงเทรนด์อาหารแห่งอนาคตในระยะยาวไว้น่าสนใจว่า โปรตีน ถือเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับร่างกายของคนทุกเพศทุกวัย และสำหรับเทรนด์ของโปรตีนในระยะยาว คาดว่าจะขับเคลื่อนด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ผู้บริโภคตะหนักถึงการทานอาหารเพื่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น และในขณะเดียวกันปัญหาภาวะโลกร้อนและเขตเมืองที่ขยายมากขึ้นส่งผลต่อพื้นที่ภาคการเกษตรลดลง ทำให้มีการมองหา Protein ทางเลือก เช่น Plant Protein เพื่อเป็นการตอบโจทย์ให้ดังกล่าว โดยผู้บริโภคยังคงได้รับสารอาหารจากโปรตีนที่ครบถ้วนและตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน
พบกับ “Fi Asia 2023” (Food Ingredients Asia 2023: ฟู้ด อินกรีเดียนท์ เอเชีย 2023) วันที่ 20 – 22 กันยายน2566 เต็มพื้นที่ฮอลล์ 1 – 4 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมชมภายในงานฟรี ที่ https://fia.imasia-passport.com พบกับโซนที่น่าสนใจ อาทิ The Sensory Box, Start-up innovative F&B products competition, Innovation Zone, Innovation Tours, International Conferences, Technical Semina ฯลฯ