30 เมษายน 2567บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยผลการดำเนินงานของบริษัท สำหรับไตรมาสที่ 4 ของปีการเงิน 2567 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2567 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2567 บริษัทได้รายงานผลกำไรก่อนภาษีเงินได้ 200 ล้านบาทในช่วงเดือนมกราคมมีนาคม 2567  เทียบกับผลขาดทุนก่อนภาษีเงินได้ 96 ล้านบาทในช่วงเดือนตุลาคมธันวาคม 2566 และกำไรก่อนภาษีเงินได้ 108 ล้านบาทในไตรมาสเดียวกันช่วงเดือนมกราคมมีนาคม 2566 กำไรสำหรับไตรมาสปัจจุบันประกอบด้วยกำไร 220 ล้านบาทจากการขายสินทรัพย์โครงการเตาถลุง Mini Blast Furnace (MBF) ซึ่งถูกระงับการใช้งานตั้งแต่ปี 2554 และให้ถือไว้เพื่อขาย สำหรับช่วงระยะเวลา 12 เดือน เมษายน 2566 – มีนาคม 2567 บริษัทได้รายงานผลกำไรก่อนภาษีเงินได้ 93 ล้านบาท เทียบกับกำไร 681 ล้านบาทในช่วงเดือนเมษายน 2565 – มีนาคม 2566

มร. ตารุน ดากา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าปริมาณการขายในไตรมาสนี้อยู่ที่ 320,000 ตัน สูงกว่าไตรมาสก่อนจากยอดขายเหล็กเส้นในประเทศเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในช่วง 12 เดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2567 ปริมาณการขายของบริษัทอยู่ที่ 1,120,000 ตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8 สาเหตุหลัก      มาจากการนำเข้าเหล็กลวดที่มีราคาต่ำมากมายังประเทศไทย ประกอบกับสถานการณ์ตลาดต่างประเทศที่ซบเซาลงมากและราคาเศษเหล็กที่ค่อนข้างสูงซึ่งไม่สามารถชดเชยจากสถานการณ์ราคาสินค้าสำเร็จรูปได้

 

สำหรับรายได้จากการขายในไตรมาสปัจจุบันอยู่ที่ 6,914 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน สะท้อนถึงปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลง 7% จากราคาขายที่ลดลงสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของตลาดที่อ่อนแอ ในช่วง 12 เดือน รายได้จากการขายอยู่ที่ 24,689 ล้านบาท ลดลงประมาณ 20% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สาเหตุหลักมาจากราคาขายที่ลดลงและปริมาณการขายที่ลดลงจากเหล็กลวดในประเทศและการส่งออกที่ลดลง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

ไตรมาส 4  

ปีการเงิน2566

ปีการเงิน2566

ไตรมาส 3  

ปีการเงิน2567

ไตรมาส 4

ปีการเงิน2567

ปีการเงิน2567

311

1,211

ปริมาณการขายรวม

000 ตัน

253

320

1,120

7,438

30,698

ยอดขายสุทธิ

ล้านบาท

5,493

6,914

24,689

232

1,029

EBITDA

ล้านบาท

(21)

45

172

108

681

กำไร(ขาดทุน)ก่อนภาษี

ล้านบาท

(96)

200

93

110

687

กำไร(ขาดทุน)หลังภาษี

ล้านบาท

(96)

200

96


ในปี
2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 1.9% ลดลงจาก 2.5% ในปี 2565 เนื่องจากปัญหาด้านงบประมาณ สำหรับปี2566 และ  ปี 2567 ทำให้การใช้จ่ายภาครัฐลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะโครงการใหม่ การส่งออกในหลายอุตสาหกรรมยังคงซบเซา ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ทั่วโลกที่ลดลง ค่าเงินบาทไทยและสกุลเงินเอเชียอื่นๆ อ่อนค่าลง5.0-8.5% สู่ระดับต่ำสุดในรอบหลายปี ท่ามกลางแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ย Fed ของสหรัฐฯ ที่สูงกว่าอัตราของธนาคารกลางในเอเชีย

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here