โดย เขตต์โสภณ วิเวก บรรณาธิการบริหาร

เศรษฐกิจไทยปี 2562 มีการคาดการณ์ว่า จะเติบโตประมาณ 3.8% โดยมีปัจจัยภายในเป็นแรงขับเคลื่อน เช่น การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง รวมทั้งรายได้ภาคเกษตรที่มีแนวโน้มปรับดีขึ้นในทุกสินค้า อย่างไรก็ดี เมื่อดูความสัมพันธ์ของการบริโภคสินค้าคงทนกับสินเชื่อเช่าซื้อ พบว่าในช่วงของมาตรการรถคันแรก สินเชื่อเพิ่มขึ้นถึง 2.1 แสนล้านบาท แต่มีแนวโน้มที่สินเชื่อรถจะชะลอความร้อนแรงลงในปี 62 ส่วนหนึ่งเพราะมีแรงกดดันจากภาระผ่อนรถที่ขยับสูงขึ้นเป็น 37% ของรายได้ สะท้อนถึงการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องแต่ไม่เป็นอัตราเร่ง

ในปีนี้เริ่มเห็นสัญญาณว่า ภาครัฐ จะมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องในครึ่งหลังปี 62 โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ EEC ทั้งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนของภาคธุรกิจ โดยส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน จะเกิดขึ้นได้ภายใต้ พ.ร.บ. EEC เช่น รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สนามบินและศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา ท่าเรือแหลมฉบัง ส่วนของภาคเอกชนคาดเริ่มเห็นการลงทุนของอุตสาหกรรม S-Curve ที่ได้รับการอนุมัติจาก BOI ในปี 59-60 ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ปิโตรเคมี เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

หันมาดูทางด้านอุตสาหกรรมยางพาราไทยบ้าง เมื่อช่วงต้นปีนี้ ทางด้าน รมว. เกษตรฯ นายกฤษฎา บุญราช ได้ออกมายืนยันภาพรวมเศรษฐกิจการเกษตรปี 2562 ว่ามีแนวโน้มดีขึ้น ทั้ง ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง และยางพารา ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2562 ในภาพรวมว่า มีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้นในด้านราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง และยางพารา เนื่องจากการดำเนินนโยบายด้านการเกษตรเพื่อปฏิรูปภาคเกษตรที่มีมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การปรับระบบการทำงานของข้าราชการร่วมกับเกษตรกรให้มีความสอดคล้องกัน โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และการส่งเสริมระบบสหกรณ์ให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มบทบาทในการเป็นศูนย์รวบรวมผลผลิตและจำหน่ายให้แก่เอกชน เป็นต้น

ทั้งนี้ ทาง สศก. ยังได้ทำรายงานพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะยางพารา ซึ่งจะพบข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่สำคัญ โดยรับเบอร์พลาสมีเดีย จะขอนำเสนอข้อมูลดังกล่าวต่อไปนี้

การผลิตยางพาราโลก

การผลิตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เนื้อที่ปลูกยางพาราของโลกเพิ่มขึ้นอย่สงต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจาก 77.98 ล้านไร่ในปี 2557 เป็น 89 ล้านไร่ในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ต่อปี สำหรับผลผลิตยางพาราของโลก เพิ่มขึ้นจาก 12.14 ล้านตันในปี 2557 เป็น 14.59 ล้านตันในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ4.79 ต่อปี เนื่องจาก ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่ให้ผลตอบแทนสูงเมื่อเทียบกับพืชเศรษฐกิจอื่น จึงจูงใจให้มีการขยายเนื้อที่ปลูกเพิ่ม ขึ้นอย่างต่อเนื่องใน 6-7 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในประเทศผู้ผลิตหลัก ส่งผลให้เนื้อที่เปิดกรีดเพิ่มมากขึ้น

ประเทศผู้ผลิตยางพารารายใหญ่ของโลก 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในปี 2561 มีเนื้อที่ปลูกยางพารารวม 49.87 ล้านไร คิดเป็นร้อยละ 56.03 ของเนื้อที่ปลูกยางพาราของโลกและมีผลผลิตรวม 8.94 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 61.27 ของผลผลิตโลก โดยอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีเนื้อที่ปลูกยรงพารามากที่สุดในโลก มีการขยายเนื้อที่ปลูกเพิ่มขึ้นอย่ำงต่อเนื่องร้อยละ 0.55 ต่อปี จำก 22.45 ล้านไร่ในปี 2557 เป็น 22.99 ล้านไร่ในปี 2561 แต่มีผลผลิตมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากไทย โดยผลผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.85 ต่อปีจาก 3.15 ล้านตันในปี 2557 เป็น 3.61 ล้สนตันในปี 2561 สำหรับมาเลเซีย มีเนื้อที่ปลูกเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากอินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม โดยมีเนื้อที่ปลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ0.69 ต่อปี จาก 6.54 ล้านไร่ ในปี 2557 เป็น 6.77 ล้านไร่ในปี2561 ในขณะที่ผลผลิตลดลงร้อยละ 3.26 ต่อปี จาก 0.67 ล้านตันในปี 2557 เหลือ 0.56 ล้านตันในปี 2561

ความต้องการใช้ยาง

ความต้องการใช้ยางในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ความต้องการใช้ยางพาราของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.78 ต่อปี จาก 12.18 ล้านตันในปี 2557 เพิ่มขึ้นเป็น 14.05 ล้านนตันในปี 2561 โดยความต้องการใช้ยางพาราของประเทศต่างๆ เป็นดังนี้

1) จีน เป็นประเทศที่มีการลงทุนจากต่างประเทศสูง จึงทำให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว รวมทั้งมีการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยางล้อ อุปกรณ์และอะไหล่รถยนต์ ทำให้จีนมีความต้องการใช้ยางพาราเพื่ออุตสาหกรรมดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนมาถึงปัจจุบัน โดยในปี 2557 – 2561 การใช้ยางของจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 4.80 ล้านตันในปี 2557 เป็น 5.60 ล้านตันในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.42 ต่อปี

2) กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป มีความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้น จาก 1.14 ล้านตันในปี 2557 เป็น 1.27 ล้านตันในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.87 ต่อปี เนื่องจากความต้องการใช้ยางพาราเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

3) อินเดีย มีความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้นจาก 1.01 ล้านตันในปี 2557 เป็น 1.21 ล้านตัน ในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.59 ต่อปี เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมต่อเนื่องภายในประเทศ

4) สหรัฐอเมริกา มีความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้นจาก 0.93 ล้านตันในปี 2557 เป็น 1.04 ล้านตันในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.48 ต่อปี

5) ญี่ปุ่น มีความต้องการใช้ยางพาราในประเทศลดลงจาก 0.71 ล้านตันในปี 2557 เหลือ 0.70 ล้านตันในปี 2561 หรือลดลงร้อยละ 0.43 ต่อปี เนื่องจากญี่ปุ่นได้มีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศแหล่งวัตถุดิบ เช่น อินโดนีเซีย เพิ่มขึ้น

ด้านการส่งออก ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การส่งออกยางพาราโลกเพิ่มขึ้นจาก 9.85 ล้านตันในปี 2557 เป็น 12.67 ล้านตันในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.01 ต่อปี โดยการส่งออกยางพาราของประเทศผู้ผลิตที่สำคัญนอกจากไทยมีดังนี้

1) อินโดนีเซีย ส่งออกยางพาราเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากไทย โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 2.66 ล้านตันในปี 2557 เป็น 3.11 ล้านตันในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.18 ต่อปี

2) เวียดนาม ส่งออกยางพาราเป็นอันดับ 3 ของโลก ส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 1.07 ล้านตันในปี 2557 เป็น 1.61 ล้านตัน ในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.61 ต่อปี

3) มาเลเซีย ส่งออกยางพาราเป็นอันดับ 4 ของโลก มีปริมาณการส่งออกลดลงจาก 1.19 ล้านตัน ในปี 2557 เหลือ 1.14 ล้านตันในปี 2561 หรือลดลงร้อยละ 0.25 ต่อปี โดยปริมาณการส่งออกส่วนหนึ่ง เป็นการนำเข้าจกาประเทศอื่น ๆ

ราคายางในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ราคายางในตลาดโลกปรับลดลงอย่ำงต่อเนื่อง เนื่องจากปี 2557 – 2561 เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และลุกลามไปทั่วโลก รวมทั้งจีน ซึ่งเป็นผู้ใช้ยางพารารายใหญ่ของโลกทำให้การรับซื้อและการลงทุนชะลอตัว และเริ่มปรับตัวสูงขึ้นในเดือนพฤศจิกายนปี 2559 และกลับมาลดต่ำลงในเดือนกรกฎาคมปี 2560 จากนั้นลดลงต่อเนื่องมาจนถึงปลายปี 2561 โดยราคายางพาราในตลาดต่างๆ เป็นดังนี้

1) ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสิงคโปร์: SGX ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ลดลงจำกกิโลกรัมละ 194.99 เซนต์สหรัฐฯในปี 2557 เหลือกิโลกรัมละ 158.18 เซนต์สหรัฐฯ ในปี 2561 หรือลดลงร้อยละ1.72 ต่อปี และเมื่ออยู่ในรูปของเงินบาท ลดลงจากกิโลกรัมละ63.35 บาทในปี 2557 เหลือกิโลกรัมละ 50.50 บาทในปี 2561 หรือลดลงร้อยละ 2.09 ต่อปี ราคายางแท่ง ลดลงจากกิโลกรัมละ170.67 เซนต์สหรัฐฯในปี 2557 เหลือกิโลกรัมละ 138.78 เซนต์สหรัฐ ในปี 2561 หรือลดลงร้อยละ 2.31 ต่อปีและเมื่ออยู่ในรูปของเงินบาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.46 บาทในปี 2557 เหลือกิโลกรัมละ 44.35 บาทในปี 2561 หรือลดลงร้อยละ 2.68 ต่อปี

2) ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดโตเกียว: TOCOM ราคายางแผ่นรมควันชั้น

3) เมื่อพิจารณาในรูปของเงินเยน ลดลงจากกิโลกรัมละ 204.15 เยน ในปี 2557 เหลือกิโลกรัมละ 172.67 เยนในปี 2561 หรือลดลงร้อยละ 1.11 ต่อปี และเมื่ออยู่ในรูปของเงินบาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 62.19 บาทในปี 2557 เหลือกิโลกรัมละ 49.79 บาทในปี 2561 หรือลดลงร้อยละ 1.47 ต่อปี

ตลาดยางพาราไทย

ด้านการผลิตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีเนื้อที่กรีดเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.40 ต่อปี โดยเพิ่มขึ้นจาก 18.16 ล้านไร่ ในปี 2557 เป็น 20.11 ล้านไร่ ในปี 2561 และผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 4.33 ล้านตัน ยางแห้ง ในปี 2557 เป็น 4.77 ล้านตัน ยางแห้งในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.19 ต่อปี ในขณะที่ผลผลิตต่อไร่ลดลงจำก 243 กิโลกรัมต่อไร่ (ยางดิบ) ในปี 2557 เหลือ 242 กิโลกรัมต่อไร่ (ยสงดิบ) ในปี 2561 หรือลดลงร้อยละ 0.21 ต่อปี โดยเนื้อที่กรีดได้และผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงปี 2553 – 2554 ราคายางพาราอยู่ในระดับสูงจูงใจให้เกษตรกรขยายเนื้อที่ปลูก โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

โดยปัจจุบัน ประเทศไทย มีเนื้อที่ปลูกยางพารามากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากอินโดนีเซีย แต่ไทยเป็นประเทศที่มีผลผลิตยรงมากที่สุดของโลก ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ต้นทุนการผลิตยางแผ่นดิบของเกษตรกรลดลงจาก 16,017.84 บาทต่อไร่ ในปี2557 เหลือ 13,647.09 บาทต่อไร่ในปี 2561 หรือลดลงร้อยละ 4.17 ต่อปี ส่งผลให้ต้นทุนการผลิต ต่อหน่วยลดลงจาก 63.82 บาทต่อกิโลกรัมในปี 2557 เหลือ 56.39 บาทต่อกิโลกรัมในปี 2561 หรือลดลงร้อย 3.55 ต่อปี

ความต้องการใช้ 1) ความต้องการใช้ยางพาราแยกตำมชนิดของยาง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ความต้องการใช้ยางพาราของไทย เพิ่มขึ้นจาก 541,003 ตัน ในปี 2557 เป็น 800,000 ตันในปี2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.04 ต่อปี  เนื่องจากการขยายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ ทั้งอุตสาหกรรมยางล้อ และอุตสาหกรรมแบบจุ่ม เช่น ถุงมือยาง นอกจากนี้ ภาครัฐยังส่งเสริม/ สนับสนุนให้นำยางพารามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อใช้ภายในประเทศ รวมถึงส่งเสริมให้มีการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ ความต้องการใช้ยางพารา แยกตามชนิดได้ดังนี้

1.ยางแผ่นรมควัน มีการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้น จาก 171,466 ตันในปี 2557 เป็น 205,159 ตันในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.45 ต่อปี

2) ยางแท่ง มีการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 189,232 ตันในปี 2557 เป็น 300,358 ตันในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.67 ต่อปี

3) น้ำยางข้น มีการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้นจาก119,762 ตันในปี 2557 เป็น 219,329 ตันในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.82 ต่อปี

4) ยางอื่น ๆ มีการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้นจำก 60,543 ตันในปี 2557 เป็น 75,154 ตันในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.42 ต่อปี

ความต้องการใช้ยางพาราแยกตามประเภทอุตสาหกรรมในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ความต้องการใช้ยางพาราของไทยแยกตามประเภทอุตสาหกรรม ดังนี้

1) อุตสาหกรรมยางล้อ เป็นอุตสาหกรรมที่มีความต้องการใช้ยางพารามากที่สุด มีการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้นจาก 352,862 ตันในปี 2557 เป็น 484,256 ตันในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.21 ต่อปี

2) อุตสาหกรรมถุงมือยาง มีการใช้ยางพาราสูงขึ้น จาก58,865 ตันในปี  2557  เป็น 97,267 ตันในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.20 ต่อปี

3) อุตสาหกรรมยางยืด มีการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้นจาก 79,168 ตันในปี 2557 เป็น 120,124 ตันในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.90 ต่อปี

4) อุตสาหกรรมยางรัดของ มีการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้นจาก 15,353 ตันในปี 2557 เป็น 28,149 ตันในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.93 ต่อปี

5) อุตสาหกรรมอื่นๆ มีการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้นจาก 34,755 ตันในปี 2557 เป็น 70,204 ตันในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.14 ต่อปี

การส่งออกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

การส่งออกยางพาราของไทยเพิ่มขึ้นจาก 3.77 ล้านตันในปี 2557 เป็น 4.15 ล้านตันในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.85 ต่อปีเนืองจากความต้องการใชยางพาราในอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมต่อเนื่องของจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำหรับการส่งออกของไทย จำแนกตามชนิดผลิตภัณฑ์ จากข้อมูลการส่งออกสินค้ายางพาราของกรมศุลกากร พบว่ำ การส่งออกน้ำยางข้น ยางแท่ง และยางแผ่นรมควัน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.90 ร้อยละ 2.01 และร้อยละ 0.73 ต่อปีตามลำดับ เนื่องจากอุตสหกรรมผลิตภัณฑ์ยางประเภทจุ่มที่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำยางข้นเป็นวัตถุดิบ มีการขยายตัวมากขึ้น และตลาดมีความต้องการใช้ยางแท่งเพิ่มขึ้น เพราะมีราคาต่ำกว่ายางแผ่นรมควัน สำหรับยางคอมปาวด์ในภาพรวม มีแนวโน้มลดลงร้อยละ 20.69 ต่อปี

สำหรับประเทศคู่ค้ำที่สำคัญของไทย ได้แก่

1) จีน มีแนวโน้มนำเข้ายางพาราจากไทยเพิ่มขึ้นจาก 2.13 ล้านตันในปี2557 เป็น 2.48 ล้านตันในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.54 ต่อปี

2) มาเลเซีย มีแนวโน้มนำเข้ายางพาราจากไทยเพิ่มขึ้น จาก0.40 ล้านตันในปี 2557 เป็น 0.42 ล้านตันในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.98 ต่อปี

3) ญี่ปุ่น มีแนวโน้มนำเข้ายางพาราจากไทยลดลง จาก 0.26 ล้านตันในปี 2557 เหลือ 0.21 ล้นาตันในปี2561 หรือลดลงร้อยละ 5.45 ต่อปี

4) สหรัฐอเมริกา นำเข้ายางพาราจากไทยเพิ่มขึ้นจรกปริมาณ 0.15 ล้านตัน ในปี 2557 เป็น 0.18 ล้นาตันในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.94 ต่อปี

ในปี 2561 ไทยส่งออกยางพารา 4.15 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 3.77 ล้านตันของปี 2557 ร้อยละ 2.85 เนื่องจากปริมาณผลผลิตยางของไทยเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจโลกในภาพรวมยังมีการเติบโต

ราคายางในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ราคายางในประเทศปรับตัวลดลงในปี 2557 ต่ำสุดในปี 2558 เนื่องจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่ซบเซา นอกจำกนี้ จีนซึ่งเป็นประเทศผู้ใช้ยางพารารายใหญ่ก็ประสบภาวะเศรษฐกิจซบเซาเช่นเดียวกัน รวมทั้งราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลง และ ราคายางพารา เริ่มปรับตัวดีขึ้นในปลายปี 2559 ถึงปี 2560 และเริ่มปรับตัวลดลงอีกครั้งในปี2561 โดยเป็นผลจากความกังวลของนักลงทุนที่มีต่อความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเมือง โดยเฉพาะมาตรการทางด้านการค้าระหว่ำงจีนกับสหรัฐอเมริกา ทำให้ราคายางยังคงผันผวนและปรับตัวในกรอบจำกัด โดยราคายางในตลาดต่างๆ เป็นดังนี้

1) ราคาที่เกษตรกรขขายได้ เช่น ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ยางก้อนคละ และน้ำยางสดที่เกษตรกรขายได้ ณ ไร่นา ในช่วงปี 2557 – 2561 ลดลงร้อยละ 3.17 ร้อยละ4.79 และร้อยละ 3.65 ต่อปี ตามลำดับ

2) ราคาประมูล ณ ตลาดกลางยางพารา เช่น  ราคาประมูลยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ยางแผ่นรมควันชั้น 3 และน้ำยางสด ณ ตลาดกลางยางพาราสงขลาในช่วงปี 2557 – 2561 ลดลงร้อยละ 1.71 ร้อยละ 2.94 และร้อยละ 2.25 ต่อปี ตามลำดับ

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. เช่น ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ยางแท่ง 20 และน้ำยางข้น ในช่วงปี 2557 – 2561 ลดลงร้อยละ 1.85 ร้อยละ 1.96 และร้อยละ 2.02ต่อปี ตามลำดับ

แนวโน้มยางพาราปี 2562

แนวโน้มของโลก

ในปี 2562 คาดว่า ผลผลิตยางพาราโลก มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศผู้ผลิตยางพารา ได้แก่ เวียดนาม สปป.ลาว เมียนมาร์ และกัมพูชา ที่ขยายเนื้อที่ปลูก ได้ทยอยเปิดกรีดยางเพิ่มมากขึ้น

(1)  ความต้องการใช้ยางปี 2562 คาดว่า ความต้องการใช้ยางพาราของโลก จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2561 เนื่องจาก ความต้องการใช้ยางพาราในอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมต่อเนื่องของอินเดีย ยังคงขยายตัว ประกอบกับการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกของกองทุนการเงินระหว่ำงประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ที่ประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2562 อยู่ที่ร้อยละ3.90 ขณะที่ปัจจัยลบจากปัญหามาตรการทางการค้าระหว่ำงจีนและสหรัฐฯ อจากส่งผลให้จีนชะลอการนำเข้ายางเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง

(2) การส่งออกปี 2562 คาดว่า ปริมาณการส่งออกยางพาราในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย เนื่องจากกองทุนทางการเงินระหว่ำงประเทศ คาดว่า เศรษฐกิจโลกจะมีการขยายตัวประมาณร้อยละ 3.90 ซึ่งเท่ากับกับอัตราการขยายตัวของปี 2561 และจีนซึ่งเป็นผู้ใช้ยางพารารายใหญ่ของโลก อาจชะลอการใช้ยางเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ยาง เนื่องจากมาตรการทางการค้าที่มีกับสหรัฐอเมริกา

(3) ราคายาง ปี 2562 คาดว่า ราคายางพาราโลก มีแนวโน้มทรงตัวต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีปัจจัยบวกจากการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ปัจจัยลบ ได้แก่ ปัญหาการค้าระหว่ำงประเทศจีนและสหรัฐอเมริกาที่อาจส่งผลให้ความต้องการใช้ยางของโลกชะลอตัวลง

แนวโน้มของไทย

ด้านการผลิต ปี 2562 คาดว่า จะมีเนื้อที่กรีดได้20.53 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจาก 20.11 ล้านไร่ของปี 2561 ร้อยละ 2.09 ผลผลิตมีประมาณ 4.91 ล้านตัน ยางแห้ง เพิ่มขึ้นจาก 4.77 ล้านตัน ยางแห้งของปี 2561 ร้อยละ 2.94 เนื่องจากเนื้อที่กรีดได้เพิ่มมากขึ้น สำหรับผลผลิตต่อไร่ในปี 2562 คาดว่า เพิ่มขึ้นเป็น 244 กิโลกรัมต่อไร่ (ยางดิบ) จาก 242 กิโลกรัมต่อไร่ (ยางดิบ) ในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.83 เนื่องจากปริมาณน้ำฝนมีเพียงพอในทุกภาคของประเทศ ต้นยางสมบูรณ์ดี รวมทั้งส่วนใหญ่เนื้อที่กรีดได้เป็นต้นยางพารา ซึ่งอยู่ช่วงอายุที่ให้ผลผลิตสูง

ความต้องการใช้ ปี2562 คาดว่า การใช้ยางพารา จะเพิ่มขึ้นเป็น 0.859 ล้านตัน เนื่องจากยังมีความต้องการใช้ยางพาราในอุตสาหกรรมยานยนต์ รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ยางพาราภายในประเทศให้มากขึ้น

ด้านการส่งออก ปี 2562 คาดว่า การส่งออกยางพาราของไทย จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจรกปีที่ผ่านมา จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในพื้นที่เริ่มเปิดกรีดต้นยางที่ปลูกใหม่เมื่อ 6 – 7 ปีก่อน และการเพิ่มขึ้นของปริมาณส่งออกยางของประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม (CLMV)

ราคายาง ปี 2562 คาดว่า ราคายางในประเทศ มีแนวโน้มทรงตัวต่อจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลกระทบราคาซื้อขายยางพาราในตลาดล่วงหน้า จากการชะลอการใช้ยางของประเทศจีน เนื่องจากปัญหามาตรการทางการค้าระหว่ำงจีนและสหรัฐอเมริกา

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณการผลิตและการส่งออก

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณการผลิต

(1) เนื้อที่กรีดได้เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น (2) สภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของยางพารา (3) กราดูแลรักษาของเกษตรกร

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออก

(1) อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ IMF คาดการณ์ว่า ในปี2562 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ยังคงมีการขยายตัวอยู่ที่3.9 เท่ากับของปี 2561 (2) อัตราแลกเปลี่ยนและราคาน้ำมันในตลาดโลกผันผวน ส่งผลกระทบต่อรำคายาง (3) ผลผลิตยรงพาราของโลกปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะประเทศ สปป.ลาว เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ ซึ่งปัจจุบันได้มีการเปิดกรีดหน้ายางเพิ่มขึ้น (4) ราคายางสังเคราะห์ต่ำกว่าราคายางธรรมชาติ ทำให้ผู้ใช้หันไปใช้ยางสังเคราะห์แทน เพื่อลดต้นทุนการผลิต

นอกเหนือจากปัจจัยด้านสภาวะเศรษฐกิจที่ได้กล่าวมาข้างต้น ยังมีปัจจัยด้านผลผลิตและความต้องการใช้ยางธรรมชาติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อราคายางพารา โดย The Rubber Economist คาดการณ์ว่า การบริโภคยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์จะเติบโต 3 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ แต่อาจจะชะลอตัวสู่ระดับเฉลี่ยที่ 2.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปีในช่วง พ.ศ. 2562-2563 คาดว่าปริมาณการบริโภคยางโดยรวมจะอยู่ที่ประมาณ 30.61 ล้านตันในปี 2563 โดยการบริโภคยางธรรมชาติจะเพิ่มในอัตราสูงกว่ายางสังเคราะห์ ดังนี้ ปริมาณการบริโภคยางธรรมชาติจะเพิ่มขึ้น 4 เปอร์เซ็นต์ต่อปี สู่ระดับ 14.86 ล้านตันในปี 2563 ในขณะที่ยางสังเคราะห์จะเพิ่มขึ้นเพียง 1.2 เปอร์เซ็นต์ สู่ระดับ 15.75 ล้านตัน ในปี 2563 ทำให้สัดส่วนการใช้ยางสังเคราะห์ลดลงสู่ 51.5 เปอร์เซ็นต์ในปี 2563 ทางด้าน The Economist Intelligence Unit คาดการณ์ว่าการผลิตยางธรรมชาติของโลกจะเติบโตในอัตราชะลอตัวที่ 1 เปอร์เซ็นต์ในปี 2562-2563 เนื่องจากมีสต็อกยางสะสมในปริมาณมาก และราคายางไม่จูงใจต่อการผลิต ความต้องการใช้ยางธรรมชาติของโลกจะเติบโตในอัตราชะลอตัวเช่นกัน ที่ 2.6 เปอร์เซ็นต์ในปี 2562-2563 ลดลงจากระดับ 4.5 เปอร์เซ็นต์ในปี 2561 เนื่องจากประเทศพัฒนาแล้วมีนโยบายรัดเข็มขัดในปีนี้ ทำให้การลงทุนรวมทั้งการซื้อยานพาหนะลดลง กอปรกับราคาน้ำมันอยู่ในช่วงขาลง ตามแรงอุปสงค์ที่แผ่วลง โดยเฉพาะจากประเทศจีน

ผู้ที่เป็นนักลงทุนและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยาง จงศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบคอบ และใช้วิจารณญาณในการลงทุนทำธุรกิจอย่างระมัดระวัง และขอให้ประสบผลสำเร็จในการทำธุรกิจปีหมูทองครับ

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here