มร.ราจีฟ มังกัล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร แถลงผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปีการเงิน 2563 (ตุลาคม–ธันวาคม 2562) พร้อมชี้แจงเศรษฐกิจไทย ได้รับผลกระทบเชิงลบหลายด้าน

มร.ราจีฟ มังกัล กล่าวถึง ผลการดำเนินงานบริษัทว่า เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังคงซบเซาจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนที่ยืดเยื้อ ในขณะที่เงินบาทที่แข็งค่ายังคงส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของการส่งออกของไทย การบริโภคภาคเอกชนและการใช้จ่ายการลงทุน ยังคงลดลงเนื่องจากอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศที่อ่อนแอ การใช้กำลังการผลิตในภาคการผลิตยังคงอยู่ในระดับต่ำ

สถานการณ์เหล็กในประเทศ ได้รับผลกระทบจากการนำเข้าเหล็กลวดมากขึ้นโดยเฉพาะจากเวียดนามและมาเลเซีย และเหล็กแท่งจากอิหร่าน ในขณะเดียวกันราคาเศษเหล็กยังคงแข็งแกร่งจากปัญหาการขาดแคลนเหล็กแท่งในตลาด

ปริมาณขายสินค้าสำหรับไตรมาสนี้อยู่ที่ 286,000 ตัน ลดลงจากไตรมาสก่อน แต่สูงขึ้นร้อยละ 2 จากปีก่อน รายได้จากการขาย ต่ำกว่าไตรมาสก่อนสะท้อนความเชื่อมั่นของตลาดที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มลวดเหล็ก มีสินค้าคงคลังลดลง 571 ล้านบาท จากเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2562

ผลการดำเนินงานเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนและปีก่อน ปริมาณการขายสินค้าในไตรมาสนี้อยู่ที่ 286,000 ตัน สำหรับช่วง 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2562 ปริมาณการขายของบริษัทอยู่ที่ 881,000 ตันสูงขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากปริมาณขายเหล็กเส้นก่อสร้างในประเทศเพิ่มมากขึ้น

รายได้จากการขายในไตรมาสนี้ อยู่ที่ 5,075 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 12 และร้อยละ 18 ตามลำดับ สะท้อนถึงราคาขายที่ลดลง ในช่วง 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2562 รายได้จากการขายลดลงจากปีก่อนร้อยละ 11 เนื่องจากราคาสินค้าสำเร็จรูปลดลง

นอกจากนี้ บริษัทได้รายงานผลขาดทุน (52) ล้านบาทในไตรมาสนี้ เทียบกับขาดทุน(13) ล้านบาทในไตรมาสก่อน เนื่องจากราคาขายสินค้าลดลงและปริมาณการขายสินค้าลดลงจากความเชื่อมั่นของตลาดที่อ่อนแอ ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนบริษัทรายงานผลขาดทุนจำนวน (196) ล้านบาท และในช่วง 9 เดือน บริษัทรายงานผลขาดทุน (21) ล้านบาท เทียบกับผสขาดทุน (55) ล้านบาทเมื่อปีที่แล้ว

มร.ราจีฟ ยังกล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2562 ได้รับผลกระทบเชิงลบ จากการรวมกันของปัญหาทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน อย่างเช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สงครามการค้า จีน-สหรัฐ ความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาล รายได้ผลิตผลเกษตร ปริมาณและราคาส่งออกตำ่ ความไม่มีเสถียรภาพ การลงทุนลดลง ความล่าช้าในการอนุมัติงบประมาณและการเบิกจ่าย-การลงทุน รายได้ครัวเรือนลดลงส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนลดลง รวมถึงโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ล่าช้า เป็นต้น

อนึ่ง บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) หรือ “TSTH” ประกอบด้วยสามบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท เอ็น.ที.เอส. สต์ลกรุ๊ป จํากัด (มหาชน) (“NTS”) ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี บริษัท เหล็กก่อสร้างสยาม จำกัด (“SCSC”) ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง และบริษัท เหล็กสยาม (2001) จํากัด (“SISCO”) ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระบุรี TSTH เป็นผู้ผลิตและจําหน่ายเหล็กทรงยาวรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยมีก่าลังการผลิตเหล็กแท่ง 1.4 ล้านต้น และเหล็กสาเร็จรูป 1.7 ล้านตัน ประกอบด้วยเหล็กเส้นก่อสร้าง เหล็กลวด เหล็กรูปพรรณขนาดเล็ก เหล็กเพลา และเหล็กเส้นตัดและดัดส่าเร็จรูป โดยจําหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านเครือข่ายผู้แทนจําหน่ายสินค้าทั่วประเทศ รวมถึงส่งออกเหล็กเส้น และเหล็กลวดไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here