นายราจีฟ มังกัล กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึง ผลการดำเนินงานของบริษัทสำหรับไตรมาสที่ 2 ของปีการเงิน 2566 กรกฎาคมกันยายน 2565) ว่า สืบเนื่องจากความไม่แน่นอนที่ยืดเยื้อจากปัญหาเศรษฐกิจโลก ต้นทุนพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น และการบริโภคภายในประเทศที่ลดต่ำในจีนทำให้ความต้องการเหล็กลดลง ในขณะเดียวกัน ราคาวัตถุดิบยังคงเพิ่มสูงจากความกังวลด้านอุปทาน ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากต้นทุนพลังงานและก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น

ในสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้ สภาวะตลาดโดยรวมในประเทศไทยในช่วงไตรมาสนี้ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ปริมาณขายสินค้าของบริษัท สำหรับไตรมาสนี้อยู่ที่ 303,000 ตัน ลดลงร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับ 308,000 ตัน ในไตรมาสก่อน และ326,000 คันใน ไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับงวด 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2555 ปริมาณการขายสินค้าของบริษัทอยู่ที่ 611,000 ตัน ลดลงร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการขายที่ลดลงเป็นผลมาจากความต้องการในประเทศที่ซบเซา ประกอบกับการไม่มีการส่งออกเหล็กแท่งซึ่งส่งออกในไตรมาสที่สองของปีที่แล้ว ส่วนหนึ่งชดเชยกับการส่งออกเหล็กเส้นที่เพิ่มขึ้น

รายได้จากการขายและบริการที่เกี่ยวข้องในไตรมาสนี้อยู่ที่ 7,625 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 13 สาเหตุหลักมาจาก ราคาสินค้าที่ลดลงซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของตลาด เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 3 สาเหตุหลักมาจากปริมาณการขายที่ลดลง

สำหรับงวด 6 เดือน รายได้จากการขายอยู่ที่ 16,351 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยสาเหตุหลักมาจากราคา สินค้าที่ปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสก่อนหน้าซึ่งสอดคล้องกับราคาโลหะที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งชดเชยกับราคาและปริมาณการขายสินค้า ที่ลดลงในไตรมาสนี้

ทั้งนี้ บริษัทมีกำไรก่อนภาษี 69 ล้านบาท ในไตรมาสนี้ เทียบกับกำไร 584 ล้านบาท ในไตรมาสก่อนหน้าจากส่วนต่างที่ลดลง เนื่องจากราคาที่ลดต่ำลง ต้นทุนแปรสภาพที่สูงขึ้นจากต้นทุนพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น เชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติสูงขึ้น และปริมาณ การขายในประเทศลดลง เมื่อเทียบกับกำไรที่ 922 ล้านบาทในไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว กำไรไตรมาสนี้ลดลงจากต้นทุนพลังงาน ที่สูงขึ้น ทั้งถ่านหิน เฟอร์โรอัลลอย เชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ ส่วนต่างระหว่างราคาขายสินค้าและราคาวัตถุดิบลดลงตามราคา โลหะที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงปริมาณการขายที่ลดลงจากอุปสงค์ในประเทศที่ซบเซา

สำหรับงวด 6 เดือน บริษัทมีกำไร 653 ล้านบาท เทียบกับกำไร 1,771 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ความผันแปรนี้ เป็นผลมาจากต้นทุนแปรสภาพที่เพิ่มสูงขึ้นจากต้นทุนที่สูงขึ้นของเฟอร์โรอัลลอย ถ่านหิน ไฟฟ้า เชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ รวมทั้ง ปริมาณการขายที่ลดลง ส่วนหนึ่งถูกชดเชยด้วยส่วนต่างระหว่างราคาขายสินค้าและราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น

นายราจีฟ มังกัล เพิ่มเติมว่า แนวโน้มธุรกิจในอนาคต คาดว่า งานก่อสร้างของภาครัฐจะกลับคืนมาในไตรมาสที่ 3 หลังจากหมดฤดูมรสุมและการเบิกจ่าย งบประมาณกลับมาดำเนินการอีกครั้ง นโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานขนาด ก่อสร้างในช่วงเวลาอันใกล้ ใหญ่และโครงการสาธารณูปโภคเพื่อฟื้นฟูการเติบโตภายในประเทศและเศรษฐกิจจะช่วยภาคการก่อสร้างในช่วงเวลาอันใกล้

ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่อ่อน จะช่วยหนุนการส่งออกแต่ทําให้ต้นทุนนำเข้าสูงขึ้น รวมถึง นโยบายของจีนที่จะตัดลดการผลิตในฤดูหนาวอาจช่วยสนับสนุนราคาเหล็กในไตรมาสที่ 3

สำหรับสถานการณ์ในตลาดโลก แม้ว่ารัฐบาลและธนาคารกลางได้ดำเนินการหลายอย่างเพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลังการระบาดใหญ่ แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก ยังคงถูกคาดการณ์ว่าจะยังคงลดน้อยลง ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 และชะลอตัวลงอีกในปี 2566

การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก ได้รับผลกระทบอย่างมากจากสงครามรัสเซียยูเครน อัตราเงินเฟ้อสูงอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และการชะลอตัวในจีน

เศรษฐกิจไทย การท่องเที่ยวกำลังฟื้นตัว การลงทุนภาครัฐและเอกชนชะลอตัว

อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 6.1% อัตราเงิน เฟ้อคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.2% ในปี 2566 ยังคงเกิน เป้าหมายเงินเฟ้อจากราคาพลังงานและอาหารที่สูงขึ้น

ทั้งนี้ ค่าเงินบาทยังคงผันผวนและเผชิญกับแรงกดดันด้านค่าเสื่อมราคา ส่งผลกระทบต่อต้นทุนวัตถุดิบที่นำเข้าปริมาณการใช้เหล็กโดยรวมลดลง -11.2% ในเดือนม..-.. อัตราเงินเฟ้อ ค่าพลังงานที่สูง และ เศรษฐกิจที่ซบเซาส่งผลกระทบต่ออุปสงค์และความเชื่อมั่นของตลาดให้ลดลง

อนึ่ง บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) หรือ “TSTH” ถือหุ้นในบริษัท ทาทา สตีล การผลิต (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) (“TSMT) ร้อยละ 99.76 โดยมีโรงงานผลิตเหล็ก 3 โรงงาน ได้แก่ โรงงาน SISCO ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระบุรี โรงงาน SCSC ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง และโรงงาน NTS ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี

TSTH เป็นผู้ผลิตและจําหน่ายเหล็กทรงยาวรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยมีกำลังการผลิตเหล็กแท่ง 1.4 ล้านตันและเหล็กสําเร็จรูป 1.7 ล้านคัน ประกอบด้วยเหล็กเส้นก่อสร้าง เหล็กลวด เหล็กรูปพรรณขนาดเล็ก เหล็กเพลา และเหล็กเส้นตัดและคัดสําเร็จรูป โดยจําหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านเครือข่ายผู้แทนจําหน่ายสินค้า ทั่วประเทศ รวมถึงส่งออกเหล็กเส้น และเหล็กลวดไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here