บริษัท ยันม่าร์ เอส.พี. จำกัด ผู้นำเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรในประเทศไทย และบริษัท ยันม่าร์ อกริ จำกัดในเครือบริษัท ยันม่าร์ จำกัด เข้าร่วมโครงการใช้เทคโนโลยีนำทางความละเอียดสูงมาใช้ในเครื่องจักรกลการเกษตรในประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตรโดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนด้านการพัฒนาจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JICA และคณะกรรมการทำงานร่วมไทยญี่ปุ่น ยันม่าร์จึงได้จัดการสาธิตเครื่องจักรกลการเกษตรอัตโนมัติที่เชื่อมต่อกับระบบGNSS ของประเทศไทย ท่ามะปราง .แก่งคอย . สระบุรี

โครงการดังกล่าว ได้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาวประเทศไทย 4.0″ ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศ เพื่อช่วยให้เกษตรกรไทยสามารถเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้เทคโนโลยีเกษตรแม่นยำสูง ยันม่าร์จึงได้คิดค้นและพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรมาช่วยตอบโจทย์เกษตรกรไทยในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการเกษตร จึงได้ริเริ่มโครงการนี้ขึ้น และได้สาธิตเครื่องจักรกลการเกษตรแบบอัตโนมัติจำนวน 4 รุ่น ที่ได้ติดตั้งเทคโนโลยีการรับสัญญาณดาวเทียม GNSS มาใช้ควบคุมทิศทางการทำเกษตรกรรมให้กับคนไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำสูง

เครื่องจักรกลการเกษตรที่นำมาสาธิต

ยันม่าร์ เลือกใช้นวัตกรรมเครื่องจักรทางการเกษตรจำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย  1. แทรกเตอร์ไร้คนขับอัจฉริยะรุ่น YT5113A และรถดำนาควบคุมการบังคับเลี้ยวอัตโนมัติ รุ่น YR8D ซึ่งเป็นเครื่องจักรกลการเกษตรที่ล้ำสมัยที่สุดในประเทศญี่ปุ่น อีก 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ รถเกี่ยวนวดข้าว รุ่น YH1180 และแทรกเตอร์ รุ่น YM357A ที่มีการติดตั้งระบบควบคุมพวงมาลัยอัตโนมัติและเซ็นเซอร์วัดประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งจำหน่ายในประเทศไทยอยู่ในขณะนี้โดยโครงการดังกล่าว ยันม่าร์จะนำเครื่องจักรกลการเกษตรมาเป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติเป็นเส้นตรงและสามารถควบคุมทิศทางการเลี้ยวได้ด้วยการเชื่อมต่อกับระบบ GNSS ของประเทศไทย ในพื้นที่แปลงสาธิตการปลูกข้าว เพื่อแสดงศักยภาพความรวดเร็วและแม่นยำในการทำการเกษตร

การทำนาด้วยแทรกเตอร์ไร้คนขับอัจฉริยะ

ยันม่าร์ชูจุดเด่นของการทำนาโดยใช้รถแทรกเตอร์ 2 คัน เพื่อเตรียมดินและการปลูกข้าวไปพร้อมกัน โดยใช้แทรกเตอร์ไร้คนขับอัจฉรยะรุ่น YT5113A ทำหน้าที่เตรียมดินในการเพาะปลูก วิ่งนำหน้า ตามมาด้วยแทรกเตอร์รุ่นYM357A ที่ติดตั้งระบบควบคุมบังคับเลี้ยวอัตโนมัติอยู่ด้านหลังในการทำหน้าที่หยอดเมล็ดข้าว ซึ่งช่วยให้เกษตรกรประหยัดเวลาและแรงงานคน  โดยผู้ใช้ 1 คนสามารถควบคุมแทรกเตอร์จากแท็บเล็ตได้ 2 คันพร้อมกัน โดยในแท็บเล็ตยังมีการลงทะเบียนพื้นที่ของทุ่งนา และขั้นตอนการทำงานไว้ล่วงหน้าด้วยระบบดาวเทียม GNSS ทำให้สามารถทำงานไปพร้อมกับตรวจสอบพิกัดของตัวเอง ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานโดยอัตโนมัติตามเส้นทางที่กำหนดไว้ล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การปลูกข้าวด้วยรถดำนารุ่น YR8D

ยันม่าร์ไม่เพียงนำเสนอการทำงานของแทรกเตอร์ทั้งสองรุ่นที่สามารถเตรียมดินและการปลูกข้าวไปพร้อมกันได้เท่านั้น  แต่ยังสาธิตรถดำนารุ่น YR8D ที่ติดตั้งระบบควบคุมการบังคับเลี้ยวอัตโนมัติด้วย ซึ่งสามารถทำงานได้ 2 โหมด ทั้งในเส้นทางแนวตรงและการเลี้ยวบริเวณหัวและปลายนาได้อัตโนมัติอย่างปลอดภัยอีกด้วย เนื่องจากเชื่อมต่อระบบนำทางดาวเทียม GNSS ช่วยส่งข้อมูลตำแหน่งที่แม่นยำ และสามารถระบุตำแหน่งในการปักดำได้แบบทันทีซึ่งการใช้รถดำนาไม่เพียงจะได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพแล้ว ยังช่วยประหยัดเวลา ลดต้นทุน และแรงงานคนอีกด้วย

การเกี่ยวนวดข้าวด้วยรถเกี่ยวนวดข้าว รุ่น YH1180

ในขณะที่ขั้นตอนการเก็บเกี่ยว จะใช้รถเกี่ยวนวดข้าวรุ่น YH1180 มีระบบควบคุมทางไกลอัจฉริยะ (SA-R) มาพร้อมกับพวงมาลัย Mary-hand ที่ติดตั้งตัวควบคุมวิ่งแนวตรงอัตโนมัติ สามารถบังคับเลี้ยวรถเกี่ยวนวดข้าวได้อย่างอิสระซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยันม่าร์คิดค้นขึ้น ให้ผู้ใช้งานรถเกี่ยวนวดข้าวสามารถบังคับการเลี้ยวรถตามความโค้งของพื้นที่เก็บเกี่ยวได้อย่างสะดวก ง่ายดายยิ่งขึ้น ประหยัดเวลาโดยไม่ทำให้แปลงนาเสียหาย และขับผ่านทางเข้าแปลงนาแคบ ได้ นอกจากนี้ ยังติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจสอบผลผลิตข้าวในถังเก็บเมล็ด เพื่อใช้ตรวจเช็กผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้อย่างแม่นยำ ด้วยการเชื่อมต่อกับระบบนำทางในการเกี่ยวข้าวด้วยดาวเทียม GNSS ทำให้เกษตรกรบริหารจัดการได้ง่ายขึ้น โดยในอนาคต จะถูกพัฒนาให้เข้ากับผลผลิตและประเภทข้าวในประเทศไทยด้วย

อนึ่ง ยันม่าร์ ในฐานะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตร มีความยินดีที่ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการเชิงทดลองเพื่อสังคมนี้จะก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนให้สังคมไทยมุ่งสู่สังคมเกษตรอัจฉริยะสอดรับยุทธศาสตร์ชาติส่งเสริมการเกษตร 20 ปี (Thailand 4.0) ซึ่งแต่ละเทคโนโลยีล้วนตอบโจทย์เกษตรกรยุคใหม่ ทั้งในด้านการประหยัดเวลาและพลังงาน และช่วยเพิ่มผลผลิตอย่างยั่งยืน ในอนาคตยันม่าร์จะมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ICT มาใช้ในผลิตภัณฑ์และบริการอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับลูกค้าและลดความต้องการใช้แรงงานคนลง เพื่อให้ยันม่าร์เป็นผู้นำด้านการเกษตรแบบยั่งยืน

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here