คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือบริษัทเอ็กซโปซิส (Exposis) สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทยญี่ปุ่นและสมาคมวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย หรือ TIChE ร่วมด้วยพันธมิตรภาคอุตสาหกรรมระดับแถวหน้าของประเทศ เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมและแสดงสินค้าด้านความปลอดภัยอัจฉริยะในอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีการบำรุงรักษาขั้นสูงหรือ SISTAM (Smart Industrial Safety &Technology for Advanced Maintenance) ประจำปี 2567ที่รวมนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรมระดับแถวหน้าของเมืองไทย พร้อมจัดแสดง นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยและการบำรุงรักษาขั้นสูงจากบริษัทชั้นนำ รวมทั้งเปิดพื้นที่สร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการในการเจรจาแลกเปลี่ยนทางการค้าและธุรกิจ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้ในวันที่ 26 – 27 กันยายน 2567 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ

. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า SISTAM 2024 เป็นมหกรรมทางวิชาการและแสดงสินค้าด้านเทคโนโลยีความปลอดภัยในอุตสาหกรรมและการบำรุงรักษาขั้นสูงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีกลางในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย นวัตกรรม และดิจิทัลเพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยและการบำรุงรักษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของภาคอุตสาหกรรมไทย รวมทั้งเปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐและภาคการศึกษาได้เรียนรู้นวัตกรรม เทคโนโลยี และโซลูชันใหม่ พร้อมตัวอย่างกรณีศึกษาที่น่าสนใจเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน ตลอดจนเป็นพื้นที่ให้ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และผู้สนใจในสินค้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านความปลอดภัยและการบำรุงรักษาขั้นสูงได้มีโอกาสมาพบกันเพื่อเจรจาแลกเปลี่ยนทางการค้าและธุรกิจ

ทั้งนี้ งานดังกล่าวจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 แล้ว โดยจะเพิ่มความเข้มข้นทางวิชาการและนำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยยิ่งกว่าเดิม ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรม 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนของ การจัดแสดงเทคโนโลยีโดยมีหน่วยงานและบริษัทชั้นนำในภาคอุตสาหกรรมต่าง นำเทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระบบอัตโนมัติ(Automation) ซอฟต์แวร์ โซลูชัน ระบบและอุปกรณ์ด้านการบำรุงรักษาและความปลอดภัยต่าง มาร่วมจัดแสดงและส่วนการจัดสัมมนาวิชาการ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิระดับแถวหน้าของเมืองไทยที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ พร้อมแบ่งปันกรณีศึกษาที่น่าสนใจต่าง ภายใต้แนวคิด “3S Smart, Safe & Sustainable Technologies Toward Tomorrow” โดยมีหัวข้อสัมมนาที่น่าสนใจ เช่น การใช้เทคโนโลยี IoT ในอุตสาหกรรมเพื่อการบำรุงรักษาอัจฉริยะ การใช้ Generative AI ในการพัฒนาโรงงานอัจฉริยะ การใช้หุ่นยนต์ขั้นสูงสำหรับงานบำรุงรักษาที่มีความซับซ้อน และอื่น อีกมากมาย

ประเทศไทยเข้าสู่ยุค Digital transformation มาซักระยะหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะในระยะหลังที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งผลักดันให้การขับเคลื่อนเรื่องดิจิทัลในระบบอุตสาหกรรม ระบบการศึกษาหรือแม้แต่ภาคสังคมเชื่อมโยงถึงกันหมด Digital transformation จึงไม่ได้เกิดขึ้นแค่เฉพาะในภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่เกิดขึ้นแทบจะทุกภาคส่วนทั้งในระดับประเทศและในระดับโลก การสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทยโดยอาศัยเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนที่สำคัญจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องดำเนินการโดยเร็วที่สุด เช่นเดียวกับความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยจัดการด้านความปลอดภัยและการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน(Preventive Maintenance) ในระบบอุตสาหกรรม เช่น ระบบอัตโนมัติ (Automation) การใช้ IoT (Internet of Thing) หรือการเชื่อมโยงอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยี AI เพื่อมาช่วยเพิ่มความปลอดภัย ป้องกันอุบัติเหตุและการหยุดชะงักของเครื่องจักรระหว่างปฏิบัติงาน ซึ่งจะช่วยเพิ่ม productivity เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูง

นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่วิศวฯ จุฬาฯ มีโอกาสได้มาร่วมส่งเสริม สนับสนุน และกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมเห็นความสำคัญเรื่องการจัดการด้านความปลอดภัยและการบำรุงรักษาซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งและละเลยไม่ได้ เพราะหากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น แม้ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมจะไม่มาก แต่ผลกระทบทางอ้อม ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจเป็น 100 เท่า โดยเฉพาะผลกระทบต่อลูกค้าต่อสังคม ภาพลักษณ์ความเชื่อมั่น ซึ่งแม้ว่าโรงงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไปจะมีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อควรปฏิบัติต่าง ที่ใช้ในการดูแลเครื่องจักร อุปกรณ์ และดูแลความปลอดภัยต่าง ภายในโรงงานอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่ยังใช้แรงงานคนเป็นหลักซึ่งบางครั้งก็อาจเกิดเหตุขัดข้องที่อยู่นอกเหนือความคาดหมายหรือเกิด Human Error ทำให้เครื่องจักรต้องหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้เกิดความล่าช้าและเสียทั้งเงินและเวลาในการซ่อมบำรุงได้ การนำเทคโนโลยีมาใช้จะช่วยทุ่นแรง ปิดช่องโหว่เหล่านี้  และช่วยดูแลความปลอดภัยได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การป้องกัน เฝ้าระวัง ตรวจจับสถานการณ์อันตรายและแจ้งเตือนทันทีที่เกิดเหตุ

โดยเฉพาะปัจจุบันมี Predictive AI ที่สามารถคาดการณ์ปัญหาของอุปกรณ์ล่วงหน้าได้ก่อนเกิดเหตุจริง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการผลิตและลดโอกาสในการที่เครื่องจักรต้องหยุดทำงานกะทันหันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด ช่วยยกมาตรฐานความปลอดภัยขึ้นไปอีกระดับ ซึ่งด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ไม่ซับซ้อนไม่จำเป็นต้องมีความรู้มากเหมือนสมัยก่อนและที่สำคัญค่าใช้จ่ายไม่ได้สูงอย่างที่คิด โรงงานขนาดเล็ก หรือ SMEs ก็สามารถใช้ได้ อยู่ที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงและรับเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้หรือเปล่า ซึ่งหากผู้ประกอบการสามารถจัดการเรื่องความปลอดภัยและบำรุงรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะสร้างประโยชน์ สร้างผลกำไรเพิ่มขึ้นได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ. ดร.สุพจน์ กล่าว

นอกจากนี้ . ดร.สุพจน์ ยังกล่าวอีกว่า ในนามตัวแทนของคณะวิศวฯ จุฬาฯ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่มีโอกาสได้ร่วมจัดงานในครั้งนี้ เพราะคณะฯ มีความพร้อมทั้งด้านวิชาการและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ จึงมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะนำความรู้มาร่วมแบ่งปัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความรู้ที่ร่วมแบ่งปันกันในงานสัมมนาทางวิชาการที่จะจัดขึ้นในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับองค์กรต่าง ในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสังคมส่วนรวมสอดคล้องตามแนวคิด “MOVE” ของคณะฯ ที่ไม่เพียงมุ่งมั่นในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพผ่านระบบการศึกษาที่ตอบโจทย์คนทุกรูปแบบ (M: Maximized Learning Systems) แต่ยังมุ่งสร้างสรรค์งานวิจัยและพัฒนาสู่ภาคอุตสาหกรรม (O: Outstanding Research & Innovation) สร้างคุณค่าสู่สังคม (V: Value Creation for Society) พร้อมให้ความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและสังคมไทยอย่างมั่นคงและยั่งยืน (E: Engaging Stakeholders) ซึ่งคณะฯ ยึดมั่นและผลักดันมาโดยตลอด

ขอบคุณผู้จัดงานที่มองเห็นความสำคัญของภาคการศึกษา และรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่มีโอกาสเข้ามามีบทบาทนำในการจัดงาน SISTAM 2024 ในครั้งนี้ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องวิชาการทั้งหมด และขอบคุณทั้ง 17 หน่วยงานที่ร่วมเป็นคณะกรรมการและให้การสนับสนุนในการจัดงาน ไม่ว่าจะเป็น 1) กรมโรงงานอุตสาหกรรม 2) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล 3) กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 4) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 5) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 6) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 7) สำนักงานคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) 8) เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย 9) สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทยญี่ปุ่น) 10) สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์11) สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย 12) สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย 13) สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่(องค์การมหาชน) 14) สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ 15) สมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย 16) สมาคมวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย และ 17) สถาบันไทยเยอรมัน

การจัดงาน SISTAM 2024 ไม่ได้เป็นเพียงแค่งานสัมมนาทางวิชาการหรือการจัดแสดงสินค้าเท่านั้นแต่เป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าถึงความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีใหม่ ช่วยยกระดับและเปิดมิติใหม่ในด้านการดูแลรักษาความปลอดภัยและการบำรุงรักษาขั้นสูง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยให้แข่งขันได้ในเวทีโลก

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงาน SISTAM 2024 ได้ที่ www. https://sistam-asia.com/

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here