จากกรณีกระแสข่าว รวมถึงประเด็นที่มีกลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการไปร้องเรียนนายกรัฐมนตรีที่ศูนย์ร้องทุกข์ (1111) เรื่องหลักฐานเกี่ยวกับหน่วยงานรัฐต่างๆ ที่ส่อไปในทางเอื้อประโยชน์แก่บริษัทเอกชน ในการจัดจำหน่ายผูกขาดแก่ผู้ประมูลได้ในโครงการถนนพาราซอยซีเมนต์ กยท. ยืนยันไม่มีการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทฯ หรือเฉพาะกลุ่ม ขณะนี้พร้อมเปิดรับทุกบริษัทที่ต้องการขอรับรองมาตรฐานวัสดุงานก่อสร้างถนนพาราซอยซีเมนต์  มุ่งเป้าหมายเพียงให้เกิดการใช้ยางพาราในประเทศเพิ่มขึ้น และช่วยยกระดับรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง
นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่า การดำเนินโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร ที่ผ่านมามีได้จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการฯ ในวันที่ 11 มกราคม 2562 ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ พร้อมทั้งเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กรมบัญชีกลาง สตงปปช. กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น เพื่อให้ข้อคิดเห็นต่อโครงการฯ  ซึ่งจากการประชุมได้มีข้อคิดเห็นจากผู้แทนกระทรวงการคลังว่า ควรมีการรับรองคุณภาพมาตรฐานวัสดุที่ใช้ในการทำถนนพาราซอยซีเมนต์ ซึ่งได้แก่  น้ำยางผสมสารผสมเพิ่มและสารผสมเพิ่ม เนื่องจากเป็นวัสดุชนิดใหม่และมีผลโดยตรงต่อมาตรฐานหรือข้อกำหนดของถนนชนิดนี้ ดังนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณารับรองมาตรฐานวัสดุน้ำยางพาราผสมสารผสมเพิ่มและสารผสมเพิ่ม ซึ่งประกอบด้วย ได้แก่ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน  ผู้แทนกรมทางหลวง ผู้แทนกรมทางหลวงชนบท  ผู้แทนกรมชลประทาน ผู้แทนสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม ผู้แทนกรมวิทยาศาสตร์บริการ  ผู้แทนกองบัญชาการกองทัพไทย  ผู้แทนกองทัพบก และผู้แทนการยางแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ มีอำนาจหน้าที่พิจารณารับรองมาตรฐานคุณภาพ ตรวจสอบคุณภาพ และการควบคุมคุณภาพน้ำยางผสมสารผสมเพิ่มและสารผสมเพิ่ม สำหรับงานก่อสร้างถนนดินซีเมนต์ฯ พร้อมทั้งได้ประกาศคู่มือการรับรองคุณภาพของน้ำยางผสมสารผสมเพิ่มและสารผสมเพิ่ม ซึ่งในคู่มือดังกล่าวประกอบด้วยขั้นตอนและหลักเกณฑ์ในการขอรับรองคุณภาพของน้ำยางผสมสารผสมเพิ่มและสารผสมเพิ่ม ซึ่งขั้นตอนในการขอรับรองมาตรฐานฯ มีดังนี้
– ผู้ประกอบการยื่นขอการรับรองพร้อมหลักฐานตามคู่มือฯกำหนด พร้อมนัดวันที่ให้คณะกรรมการ(ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากกรมทางหลวงและการยางฯ) เข้าตรวจและเก็บตัวอย่างทดสอบ
– เจ้าหน้าที่ตรวจกระบวนการผลิตและนำตัวอย่างส่งวิเคราะห์ผลสมบัติทางยางและสมบัติทางวิศวกรรม ตามเกณฑ์กำหนดในคู่มือฯโดยการยางแห่งประเทศไทยรับผิดชอบในการทดสอบสมบัติทางยางและ ส่วนการทดสอบสมบัติทางวิศวกรรมได้ใช้ห้องทดสอบของหน่วยงานอื่นแทนกรมทางหลวง เนื่องจากห้องทดสอบของกรมทางหลวงขาดแคลนบุคลากรและมีภารกิจประจำอยู่แล้ว รวมถึงความสามารถของเครื่องมือในห้องทดสอบของกรมทางหลวงนั้น สามารถทำการทดสอบได้จำนวน 20 ตัวอย่างต่อเดือน ทำให้อาจเกิดความล่าช้า กรมทางหลวงจึงขอให้คณะกรรมการฯ พิจารณา ซึ่งมติที่ประชุมเห็นชอบ ในการใช้ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีแทน เนื่องจากมีความพร้อมทั้งเครื่องมือและมีผลงานในการทดสอบสมบัติต่างๆ ให้กับงานวิจัยมาแล้ว ซึ่งศูนย์ทดสอบดังกล่าวมีการควบคุมคุณภาพเช่นกัน ทั้งนี้ ศูนย์ทดสอบไม่มีอำนาจในการตัดสินว่าบริษัทใดผ่านการทดสอบหรือไม่ เพียงแต่นำผลที่ได้เพื่อคณะกรรมการตรวจสอบตามข้อกำหนดเท่านั้น

– นำเสนอผลให้คณะกรรมการรับรองฯ เป็นผู้พิจารณาเพื่อรับรองมาตรฐานวัสดุน้ำยางพาราผสม และสารผสมเพิ่มนั้น ทั้งนี้ ศูนย์ทดสอบฯ ไม่มีอำนาจในการตัดสินว่าบริษัทใดผ่านการรับรองหรือไม่ เพียงแค่ทดสอบและส่งผลทดสอบที่ได้ให้คณะกรรมการฯ เป็นผู้พิจารณา

นายเยี่ยม กล่าวเพิ่มเติมว่า การตรวจรับรองคุณภาพวัสดุเพื่อขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ จะตรวจสอบอุปกรณ์ และกระบวนการผลิตว่ามีประสิทธิภาพในการผลิตน้ำยางพาราผสมสารผสมเพิ่ม และสารผสมเพิ่มที่เป็นไปตามข้อกำหนด  และเมื่อผ่านการรับรองนี้แล้ว หากผู้ประกอบการ/บริษัท ประสงค์จะจำหน่ยน้ำยางพาราผสมสารผสมเพิ่มหรือสารผสมเพิ่ม จะต้องแจ้งให้คณะกรรมการฯ พิจารณาเข้าตรวจสอบรับรองล็อตการผลิต (ก่อนนำไปใช้) ด้วย เพื่อเป็นเครื่องการันตีคุณภาพว่าสามารถนำไปใช้ในงานสร้างถนนได้อย่างถูกต้อง และได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ขณะนี้มีบริษัทมายื่นขอรับรองคุณภาพฯ จำนวน 10 บริษัท โดยมี 3 บริษัท ผ่านการรับรอง มี 4 บริษัท ยู่ระหว่างดำเนินการรับรอง และมี 2 บริษัท ไม่ผ่านการรับรอง ส่วนอีก 1 บริษัทยังไม่แจ้งให้เข้าตรวจสอบรับรองอย่างไรก็ตามบริษัทที่ผลิตน้ำยางผสมสารผสมเพิ่มไม่ใช่ผู้รับจ้างในการทำถนน เป็นเพียงผู้จำหน่ายวัสดุชนิดหนึ่งประกอบการทำถนนเท่านั้น ผู้รับจ้างมีสิทธิ์ที่จะเลือกซื้อวัสดุที่ได้มาตรฐานจากแหล่งใดก็ได้ คณะกรรมการฯ ได้เปิดโอกาสที่จะทดสอบและรับรองมาตรฐานน้ำยางผสมสารผสมเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการที่สนใจผลิตและดำเนินการตามขั้นตอนตลอดเวลา โดยได้มีผู้ประกอบการที่สนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

รักษาการผู้ว่าการฯ กล่าวย้ำว่า การรับรองมาตรฐานวัสดุฯ นั้น ได้เปิดให้ทุกบริษัทได้ยื่นขอรับรอง โดยไม่มีการล๊อคสเปคหรือเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ในการกำหนดมาตรฐานการรับรองวัสดุดังกล่าว เป็นการประกันคุณภาพวัสดุที่นำมาใช้ในงานก่อสร้างถนนพาราซอยซีเมนต์ ซึ่งจะได้ถนนที่มีคุณภาพ มีความแข็งแรงและคงทน ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการรายใดสนใจยื่นขอรับรองฯ สามารถติดต่อได้ที่ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง ารยางแห่งประเทศไทย โทร 0-2940-5712 ต่อ 130 ในวันเวลาราชการ

การดำเนินงานของ กยท. ในโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร มุ่งเน้นให้เกิดการใช้ยางพาราภายในประเทศเพิ่มขึ้น สร้างมูลค่าเพิ่ม สามารถแก้ไขปัญหาราคายางพาราของเกษตรกรชาวสวนยางได้โดยตรง และเห็นผลที่เป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน 

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here