(15 สิงหาคม 2565) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในการยกระดับศักยภาพด้านนวัตกรรมและแนวทางการปรับใช้โมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (Bio-Circular-Green Economy: BCG) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก โดยมี ดร. กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. และรองศาสตราจารย์ ดร. วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ สสว. เป็นผู้ร่วมลงนาม ห้องประชุม จามจุรี บอลรูม เอ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส กรุงเทพฯ

ดร. กิติพงค์ กล่าวว่า ทาง สอวช. และ สสว. ได้ร่วมมือกันดำเนินงาน และลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ ฉบับนี้ซึ่งเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เติบโตก้าวกระโดดเป็น High-Growth Firm นั้นจะเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันประเทศให้ก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลางโดยอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญซึ่งในส่วนนี้จะตอบโจทย์เป้าหมายของสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมที่มีรายได้เกินกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 1,000 ราย ภายในระยะเวลา 5 ปีนอกจากนี้ จากการที่ประเทศไทยได้ร่วมแสดงเจตนารมณ์ในที่ประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 หรือ COP26 ในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 ร่วมกับอีกกว่า 60 ประเทศทั่วโลก จึงต้องมีการส่งเสริมและต่อยอดโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งครอบคลุมกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ที่เป็นข้อได้เปรียบของประเทศไทยจากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ

ด้าน รศ.ดร. วีระพงศ์ แสดงความยินดีที่ สสว. และ สอวช. ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกัน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อยกระดับศักยภาพด้านนวัตกรรมของเอสเอ็มอีให้เป็นผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมหรือ Innovation-Driven Enterprise (IDE) และมีศักยภาพเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดและยั่งยืน (High-Growth) ผ่านการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนให้มีความเข้มแข็ง นอกจากนี้ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการการพัฒนาธุรกิจ BCG เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (GHG Net Zero) ภายในปี 2025 และสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจที่เกี่ยวข้องผ่านกลไกด้านการพัฒนาขีดความสามารถ แพลตฟอร์มความร่วมมือ การวิจัยและพัฒนา กฎระเบียบและแรงจูงใจทางการเงินการคลัง เครื่องมือการลงทุน รวมถึงการส่งเสริมการขายและการส่งออก

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดเวทีเสวนาในหัวข้อพลิกโฉม SME สู่ Innovation-Driven Enterprise (IDE) ด้วยBCG Model” โดยมี ดร. กิติพงค์ และ รศ.ดร.วีระพงศ์ ร่วมเสวนากับตัวแทนผู้บริหารจากบริษัทยุคใหม่ที่ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อนธุรกิจ ได้แก่ นางสาวธันยพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการสมาคม Global Compact Network Thailand นายธันยวัฒน์ ทั่งตระกูล ผู้บริหารบริษัทเครื่องหนังแบรนด์ “THAIS” และนางสาวไอยรีลดา จิรโชคชยานันทร์ ผู้บริหารโรงแรม The Motifs Eco Hotel

โดย ดร. กิติพงค์ กล่าวว่า หลังจากเริ่มต้นความร่วมมือในครั้งนี้ จะทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นในเรื่องของการใช้มาตรการและเครื่องมือต่าง เข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดย สอวช. จะดำเนินการในมุมส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม เนื่องจากมีองคาพยพและโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรมและการวิจัยที่สามารถช่วยสนับสนุนกลุ่มเอสเอ็มอีได้

ขณะที่ รศ.ดร. วีระพงค์ กล่าวว่า ในช่วงเปลี่ยนผ่าน สสว. จะเข้าไปทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในส่วนของการเพิ่มนวัตกรรม เพื่อเพิ่มโอกาสในช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมาเอสเอ็มอีส่วนใหญ่จะเน้นการขายอย่างเดียว อาจขาดในเรื่องมาตรฐานของสินค้า สสว. จึงต้องช่วยยกระดับผู้ประกอบการให้เข้าสู่มาตรฐานที่เกี่ยวข้องให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ สสว. ยังมีมาตรการให้แต้มต่อในการจัดซื้อจัดจ้าง เช่น ถ้ามีประทับตรา Made in Thailand ก็จะได้รับการสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น และในอนาคตก็จะขยายกรอบให้แต้มต่อกับธุรกิจบีซีจี ที่กำลังมาแรงทั่วโลกด้วย

ในขณะที่ตัวแทนฝั่งผู้ประกอบการภาคเอกชน มีความเห็นไปในทางเดียวกันว่า สถานการณ์โควิดเป็นตัวเร่งให้ประเทศไทยเข้าสู่กระแสของบีซีจีโมเดล ที่ทั่วโลกได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งจะส่งผลให้เอสเอ็มอีไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด และยังฝากถึงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายอื่น ว่า ไม่ต้องลังเลที่จะทำธุรกิจโดยใช้บีซีจีโมเดลเพราะในอนาคตจะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายและช่วยลดการเกิดภาวะโลกร้อนได้อย่างมาก

อย่างไรก็ตาม ภาครัฐก็ต้องให้การสนับสนุนอย่างจริงจังด้วย ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการรายใดที่อาจจะเพิ่งเริ่มต้นธุรกิจก็สามารถเข้ามาขอปรึกษาและหาเครือข่ายผู้ประกอบการหรือหน่วยงาน จาก สอวช. ได้ สำหรับผู้ประกอบการที่ปฏิบัติตามโมเดลบีซีจีอยู่แล้ว ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเปลี่ยนมุมมองผู้บริโภคให้หันมาสนใจที่จะขับเคลื่อนสังคมด้วยโมเดลบีซีจีเพิ่มมากขึ้น

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here