สวทช. ร่วมกับ สนพ. โชว์ผลงานวิจัยด้านระบบกักเก็บพลังงาน สร้างฐานความรู้ ต่อยอดพัฒนานวัตกรรม
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ได้รับมอบหมายจาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ทำหน้าที่บริหารจัดการทุนวิจัยใน “โครงการสนับสนุนการศึกษา วิจัย พัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทน ปีงบประมาณ 2559 (Energy Storage)” มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ปี (13 ก.ย. 59 - 12 ก.ย. 62) เพื่อสนับสนุนให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานในด้านต่าง ๆ เช่น ความมั่นคงและภัยพิบัติ พลังงานทดแทน และยานยนต์ไฟฟ้าเป็นต้น ตลอดการดำเนินงานมีโครงการวิจัยภายใต้โครงการฯ จำนวน 27 โครงการ จาก 12 หน่วยงาน เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความก้าวหน้างานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานของประเทศ และเป็นช่องทางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักวิจัย จึงจัดสัมมนาเพื่อนำเสนอผลงานขึ้น เพื่อสร้างฐานองค์ความรู้ในการต่อยอดพัฒนานวัตกรรมระบบกักเก็บพลังงานสู่การใช้ประโยชน์ตามนโยบายพลังงาน 4.0 ต่อไป
ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์...
ทีมวิจัย มช. เร่งพัฒนาต้นแบบแก๊สเซนเซอร์ แก้ปัญหาการตรวจจับแก๊สเชิงการประยุกต์ให้มีประสิทธิภาพ และมีความจำเพาะสูง
เมื่อเร็วๆนี้ ทีมวิจัย มช. ได้เร่งพัฒนาต้นแบบแก๊สเซนเซอร์โดยพัฒนาโครงสร้างของวัสดุนาโนในรูปแบบใหม่ เพื่อแก้ปัญหาปัจจัยทางเซนเซอร์ให้การตรวจจับแก๊สเชิงการประยุกต์มีประสิทธิภาพและมีความจำเพาะสูง ภายใต้การสนับสนุนของ สกว. และทีมวิจัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ
ปัจจุบันมีการพัฒนาแก๊สเซนเซอร์ให้ใช้งานได้หลากหลาย เพื่อประโยชน์ทั้งด้านอุตสาหกรรม สังคม สิ่งแวดล้อม การแพทย์ และอื่น ๆ ผศ. ดร.ชัยกานต์ เลียวหิรัญ เมธีวิจัย สกว. สังกัดภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าห้องปฏิบัติการเซนเซอร์เคมี ได้ศึกษาถึงกลไกการทำงานเชิงลึกในส่วนสมบัติของการตรวจจับแก๊สหลายรูปแบบด้วยลักษณะของการเปลี่ยนแปลงสมบัติเชิงไฟฟ้า โดยอาศัยความเชี่ยวชาญพิเศษด้านการคิดค้นวัสดุนาโนโลหะออกไซด์และระบบการเจือวัสดุด้วยโลหะตัวเร่งปฏิกิริยาหลายชนิด...
นักวิจัยไทยเจ๋ง พัฒนาเครื่องอาบเคลือบโลหะแผ่นด้วยแลคเกอร์ ลดต้นทุนการผลิตปีละกว่า 20 ล้านบาท
สกว.จับมือเอกชนหนุนนักวิจัยจุฬาฯ พัฒนาเครื่องอาบเคลือบโลหะแผ่นด้วยแลคเกอร์ เพื่อลดผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพ เวลาสูญเปล่า และการใช้พลังงานสำหรับอุตสาหกรรมกระป๋องโลหะ ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ถึงปีละกว่า 20 ล้านบาท
ปัจจุบัน กระบวนการผลิตกระป๋องโลหะจำเป็นต้องเคลือบผิวกระป๋องด้วยแลคเกอร์ เพื่อป้องกันการกัดกร่อนของเนื้อโลหะด้านในที่สัมผัสกับอาหารที่บรรจุกระป๋อง หรือใช้รองพื้นกระป๋องด้านนอกก่อนการพิมพ์สี หรือเพิ่มความคงทนและความสวยงามของโลหะแผ่นที่พิมพ์สี โดยการเคลือบผิวโลหะแผ่นด้วยแลคเกอร์ดำเนินการโดยใช้เครื่องอาบเคลือบแลคเกอร์ ซึ่งมีขั้นตอนประกอบด้วยการนำแผ่นเหล็กเข้าเครื่อง การอาบเคลือบแลคเกอร์ การอบด้วยความร้อน และการดึงแผ่นเหล็กออกจากเครื่อง
ผลการสำรวจโรงงานพบว่า กระบวนการผลิตมีประสิทธฺภาพต่ำ และมีปัญหาเรื่องคุณภาพของโลหะแผ่นเคลือบแลคเกอร์ ซึ่งจำแนกลักษณะปัญหาได้เป็น 4 เรื่อง คือ น้ำหนักฟิล์มแลคเกอร์ไม่สม่ำเสมอ...
งานวิจัยยางพาราไทยเจ๋ง คว้ารางวัลโลก
เมื่อเร็วๆนี้ มีผลงานวิจัยจากนักวิจัยสงขลานครินทร์ ที่หวังสร้างมูลค่าเพิ่มพืชเศรษฐกิจภาคใต้ “โฟมยางพาราผสมสารล่อแมลง” และ “น้ำมันเช็ดเครื่องสำอางจากน้ำมันเมล็ดยางพารา” ล่าสุดคว้ารางวัลระดับเหรียญทองจากเวทีสิ่งประดิษฐ์นานาชาติที่กรุงโซล
ยางพารา จัดเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยสำคัญ เนื่องจากเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีกำลังผลิตได้มากกว่า 4 ล้านตันต่อปี และมีผลกระทบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น เกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ผลิตยางดิบ อุตสาหกรรมผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งในแต่ละปีราคาผันผวน จึงเป็นเหตุผลทำให้รัฐบาลพยายามสนับสนุนให้ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาแปรรูปยางดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้ในประเทศและส่งออกหลากหลายรูปแบบ
ผลงานวิจัยการพัฒนาโฟมยางพาราผสมสารล่อแมลง เพื่อการควบคุมแมลงวันผลไม้ ของ ผศ.นริศ ท้าวจันทร์...