ชาวสวนยางรุ่นใหม่เชียงราย ผุดไอเดีย ต่อยอดงานวิจัย “ บ่อน้ำเคลือบยางพารา ” มีอายุใช้งานถึง 10 ปี
ชาวสวนยางรุ่นใหม่ หยิบงานวิจัยมาต่อยอด นำน้ำยางพาราสดๆ จากต้นผสมสารประกอบแค่ 2-3 ตัวพ่นผ้าดิบปูพื้นทำบ่อกักน้ำใช้เองสู้แล้ง-หรือบ่อปลาได้สบาย เผยต้นทุนต่ำกว่าบ่อซีเมนต์เกิน 3 เท่า ทนนานเกิน 10 ปี แถมทำบ่อบนดอยสูงเก็บน้ำสู้ไฟป่าได้ด้วย
ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเกษตรกรชาวสวนยางบนพื้นที่สูง จ.เชียงราย ที่มีแนวคิดสร้างรายได้เสริมในภาวะที่ราคายางพาราผันผวน จึงผุดไอเดีย นำผลงานวิจัยบ่อน้ำเคลือบยางพารา ต่อยอดธุรกิจสร้างโอกาสให้เกษตรกรในพื้นที่ต่อสู้กับปัญหาขาดแคลนน้ำทำการเกษตร สร้างประโยชน์ เพิ่มการใช้ยางพาราภายในประเทศ หวังเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ นำแนวทางไปปรับใช้
นฤมล ปาณะที เกษตรกรชาวสวนยางบนพื้นที่สูง...
ถนนยางพาราซอยด์ซีเมนต์ ถนนต้นแบบสายแรกของเชียงราย
ปัจจุบัน ระบบการสร้างถนนเพื่อเป็นเส้นทางในการขนส่ง มักจะมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้นเสมอ อย่างเช่น “การสร้างถนนยางพารา” โดยใช้ยางพาราเป็นส่วนสำคัญในการผสมกับวัตถุอื่นๆ เพื่อประหยัด และทำให้ถนนมีความยืดหยุ่น แข็งแรง ใช้งานได้ทนทานมากกว่าเดิมหลายเท่าตัว และยังส่งเสริมราคายางพาราในประเทศให้เพื่องฟู มีราคาสูงขึ้น อันเป็นการช่วยให้ชาวสวนยางมีอนาคตที่ดีขึ้นอีกด้วย
ที่จังหวัดเชียงราย มีการปลูกยางพารามาตั้งแต่ปี 2547 ใน 18 อำเภอ ปัจจุบันมีพื้นที่ในการปลูกยางพารา กว่า 3.5 แสนไร่ โดยเป็นสวนที่เปิดกรีดแล้วที่ประมาณ 300,000...
หุ่นจำลองยางพาราตรวจสอบปริมาณรังสีรักษามะเร็ง ราคาถูกกว่านำเข้าสิบเท่า
สกว.สนับสนุนนักวิจัยม.นเรศวรพัฒนาหุ่นจำลองยางพาราสำหรับตรวจสอบความถูกต้องปริมาณรังสีจากการรักษาโรคมะเร็ง ต้นทุนถูกกว่านำเข้าถึงสิบเท่า มาตรฐานเทียบเท่าสากล แข็งแรงทนทาน สามารถปรับตำแหน่งการวัดรังสีได้หลายตำแหน่ง ช่วยลดการสูญเสียที่อาจเกิดจากความผิดพลาดของปริมาณรังสีที่ใช้รักษา
ผศ. ดร.นันทวัฒน์ อู่ดี คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดเผยถึงโครงการวิจัย “หุ่นจำลองยางพาราสำหรับตรวจสอบความถูกต้องปริมาณรังสีจากการรักษาโรคมะเร็งด้วยเทคนิคการรักษาสามมิติ” ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากฝ่ายการวิจัยมุ่งเป้า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ว่าในระยะแรกตนและคณะผู้วิจัยได้พัฒนาหุ่นจำลองด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติระบบฉีดเส้นพลาสติกที่ภายในบรรจุยางพารา ซึ่งมีความหนาแน่นใกล้เคียงเนื้อเยื่อมนุษย์เพื่อนำมาใช้ในการเป็นแม่พิมพ์หุ่นจำลอง โดยออกแบบให้หุ่นจำลองมีรูปร่างตามที่ต้องการ เป็นการพัฒนาหุ่นจำลองทางรังสีรักษาขนาดมาตรฐานสำหรับตรวจสอบปริมาณรังสีก่อนการรักษาผู้ป่วยจริงได้ โดยสร้างหุ่นจำลองศีรษะและลำคอรูปทรงกระบอก สำหรับการรักษาผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอเพื่อลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้จากการให้ปริมาณรังสีที่ผิดพลาด
ต่อมาในระยะที่ 2 คณะผู้วิจัยพัฒนาหุ่นจำลองศีรษะและลำคอขนาดมาตรฐานจากน้ำยางพาราธรรมชาติ ประกอบด้วย...
แจ้งเกิดอย่างเต็มตัว “ล้านนา เนเชอร์รอล ลาเทคซ์ (Lanna Natural Latex)”
เน้นสร้างเอกลักษณ์หมอนที่นอนยางพาราไทยสไตล์ล้านนา
แม้ว่าความต้องการหมอนยางพาราจะสูงขนาดไหน แต่วันนี้กำลังการผลิตหมอนยางจากโรงงานในประเทศไทย ก็ยังมีจำนวนไม่มาก และยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีน ที่ยังมีความเชื่อมั่นในคุณภาพหมอนยางจากประเทศไทยอย่างมาก
และในปัจจุบัน มีธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางเพียงไม่กี่ประเภทที่เกษตรกรสามารถเข้าถึงและลงทุนได้ และมีน้อยรายมากที่เกษตรกรจะมีศักยภาพด้านการผลิตและการแข่งขัน หนึ่งในนั้นก็คือ หมอนและที่นอนยางพารา ทั้งนี้เพราะธุรกิจดังกล่าว มีขั้นตอนการผลิตที่ไม่ยากและซับซ้อนมากนัก ใช้น้ำยางสด และน้ำยางข้น เป็นวัตถุดิบ ซึ่งเป็น ทุนพื้นฐาน ของกลุ่มเกษตรกร และเมื่อได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนดอกเบี้ยต่ำจากโครงการของรัฐบาล พร้อมๆ กับรับองค์ความรู้จากหน่วยงานที่เชี่ยวชาญของรัฐ ธุรกิจนี้จึงเติบโตและขยายสู่กลุ่มเกษตรกรอย่างรวดเร็ว
เช่นเดียวกันกับ เกวลิน อุ่นแสง เกษตรกรชาวสวนยางพารา และนักธุรกิจสาวรุ่นใหม่ในอุตสาหกรรมยางพารา จ.เชียงใหม่...
สกว.ผนึก สนช.-สวพ.ทบ.แก้ปัญหายางพารา พร้อมเปิดตัวหน้ากาก-ที่นอนสำหรับกำลังพล
สกว. จับมือ สนช. และ สวพ.ทบ. ผลักดันงานวิจัยเพื่ออนาคตยางพาราไทยภายใต้การบริหารจัดการทุนวิจัยอย่างมืออาชีพครบทุกมิติตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ พร้อมเปิดตัวหน้ากากป้องกันสารเคมี-ชีวะ และที่นอนยางพาราสำหรับกำลังพล
ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นประธานเปิดตัวโครงการวิจัย สกว."การวิจัยเพื่ออนาคตยางพาราไทย" และเปิดวิสัยทัศน์เรื่อง “สกว. กับการบริหารงานวิจัยเพื่ออนาคตยางพาราไทย” โดยกล่าวว่า สกว.ได้สนับสนุนทุนวิจัยมุ่งเป้าด้านยางพารามาตั้งแต่ปี 2555 เพื่อให้สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง เพิ่มการใช้ยางพารา ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม จึงเป็นที่มาของการเปิดตัวโครงการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์...
TFEX ร่วมกับองค์กรพันธมิตร เดินหน้าพัฒนายางพาราล่วงหน้าต่อเนื่อง
TFEX ร่วมกับองค์กรพันธมิตร เดินหน้าพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากสินค้ายางพาราล่วงหน้าต่อเนื่อง มุ่งเน้นการให้ความรู้ เพิ่มสภาพคล่อง ลดอุปสรรคการซื้อขายแก่ผู้ลงทุน พร้อมลงนาม MOU สนับสนุนการซื้อขายและส่งมอบ RSS3D Futures ระหว่างผู้ประกอบการยางพารา และบริษัทสมาชิก
บริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (TFEX) พร้อมด้วยองค์กรพันธมิตร ได้แก่ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) สมาคมยางพาราไทย และกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า...
หุ่นยนต์ขูดดอกยางเครื่องแรกของโลก โอกาสทองเอสเอ็มอีไทยสู่สากล
"ยางรถยนต์" หนึ่งในชิ้นส่วนที่ถูกเปลี่ยนบ่อยที่สุดในยานพาหนะยอดฮิตของคนไทย โดยส่วนใหญ่ยาง 1 เส้นจะมีอายุการใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ราวๆ 3-4 ปี ขึ้นอยู่การความสมบุกสมบันในการขับขี่ สาเหตุที่รถยนต์ควรจะ เปลี่ยนยางเมื่อถึงอายุขัย เนื่องจากบนยางจะมีลวดลายที่ออกแบบมาเพื่อการทรงตัวให้รถเกาะถนนและรีดน้ำให้ ไหลผ่านล้อไปทางด้านหลัง โดยเรียกกันว่า "ดอกยาง" หากดอกยางสึกหรือลายบนยางเริ่มเลือนลาง จะส่งผลต่อ การขับขี่โดยตรงและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
การเปลี่ยนยางแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าดอกยางเก่านั้นสามารถนำไปเข้า เครื่องจักรเพื่อ "ขูดยาง" ให้มีลวดลายกลับขึ้นมาใหม่อีกครั้ง เรียกว่าการทำ “Retread” แต่สาเหตุที่การขูดยาง ยังไม่เป็นที่นิยมเพราะเครื่องจักรมีราคาแพง และเครื่องจักร 1 เครื่อง สามารถใช้กับล้อได้เพียง 1 ขนาดเท่านั้น ทำให้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนของผู้ประกอบการ
ในอนาคตปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เมื่อ ผศ. ดร.ชนะ รักษ์ศิริ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากฝ่ายการวิจัยมุ่งเป้า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้วิจัยและผลิตหุ่นยนต์ไว้ใช้ในงาน "ยางหล่อดอก" มาช่วยแก้ปัญหาเดิม ๆ ของเครื่องจักรให้สามาถปรับใช้ได้ กับยางทุกขนาดทุกประเภท โดยจะใช้หุ่นยนต์ที่นิยมในงานอุตสาหกรรมอย่าง Articulated Arm Revolute Robot ในการพัฒนาตัวต้นแบบ ซึ่งหุ่นยนต์นี้จะสามารถเคลื่อนที่ได้ทั้ง 6 องศาอิสระ นับเป็นหุ่นยนต์ขูดยาง ตัวแรกของโลกที่จดสิทธิบัตรและพัฒนาในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีหุ่นยนต์ที่ใช้ในการขูดยางโดยตรง วางจำหน่ายในตลาด
ยางหล่อดอกช่วยให้ผู้ใช้รถสามารถลดต้นทุนการเปลี่ยนยางเส้นใหม่ได้ร้อยละ 30-50 และแม้จะเป็น ยางเก่าที่นำมาขูดใหม่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ยางนั้นปลอดภัยน้อยลง...
เอ็มเทค ช่วยชาวสวนยาง วิจัย “สารบีเทพ” BeThEPS ยืดอายุน้ำยางสด ผลิตยางแผ่นคุณภาพสู่เชิงพาณิชย์
เมื่อเร็วๆนี้ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้คิดค้นสารรักษาสภาพน้ำยางสดเพื่อการแปรรูปยางแผ่น “บีเทพ” (Be Thai Economic Preservative for Rubber Sheet: BeThEPS) ช่วยยืดอายุน้ำยางสดได้นาน 1-3 วัน จากเดิม 6-8 ชั่วโมง เพิ่มทางเลือกใหม่ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง และทำให้ผู้ประกอบการสามารถผลิตยางแผ่นซึ่งมีคุณภาพดีเยี่ยม...
“กฤษฏา” งัดไม้เด็ด ส่งท้ายรัฐบาล ขอความร่วมมือ อปท. ทำถนนดินผสมยางพาราแทนถนนลูกรัง 300,000 กิโลเมตรทั่วประเทศ
ทั้งนี้ ยังสั่งให้ กยท. ทำแผนลดพื้นที่สวนยางปีละ 500,000 ไร่เพื่อให้ผลผลิตยางในอนาคตมีไม่เกินปีละ 4 ล้านตัน รักษาสมดุลอุสงค์-อุปทาน มั่นใจ อนาคตราคายางพาราไทยมีเสถียรภาพแน่นอน
เมื่อรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเข้ามาบริหารประเทศในปี 2557 ราคายางพาราต่ำเตี้ยเรี่ยดิน โดยยางแผ่นรมควันชั้น 3 อยู่ประมาณกิโลกรัมละ 30 กว่าบาท จนเกษตรกรร้องว่า “ยางพารา 3 โล 100...
ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุม ANRPC 2018 ร่วมหาแนวทางแก้ปัญหาราคายาง เสนอตั้งสภายางพาราอาเซียน สร้างพลังต่อรอง
ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมวิชาการยางพาราของสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (The Association of Natural Rubber Producing Countries: ANRPC) ประจำปี 2561 โดยมีผู้แทนจากประเทศสมาชิกทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน จำนวน 13 ประเทศ ประกอบด้วย บังคลาเทศ กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย...