สวทช. ร่วมกับ สนพ. โชว์ผลงานวิจัยด้านระบบกักเก็บพลังงาน สร้างฐานความรู้ ต่อยอดพัฒนานวัตกรรม
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ได้รับมอบหมายจาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ทำหน้าที่บริหารจัดการทุนวิจัยใน “โครงการสนับสนุนการศึกษา วิจัย พัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทน ปีงบประมาณ 2559 (Energy Storage)” มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ปี (13 ก.ย. 59 - 12 ก.ย. 62) เพื่อสนับสนุนให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานในด้านต่าง ๆ เช่น ความมั่นคงและภัยพิบัติ พลังงานทดแทน และยานยนต์ไฟฟ้าเป็นต้น ตลอดการดำเนินงานมีโครงการวิจัยภายใต้โครงการฯ จำนวน 27 โครงการ จาก 12 หน่วยงาน เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความก้าวหน้างานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานของประเทศ และเป็นช่องทางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักวิจัย จึงจัดสัมมนาเพื่อนำเสนอผลงานขึ้น เพื่อสร้างฐานองค์ความรู้ในการต่อยอดพัฒนานวัตกรรมระบบกักเก็บพลังงานสู่การใช้ประโยชน์ตามนโยบายพลังงาน 4.0 ต่อไป
ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์...
สกสว. โชว์ 13 รางวัลผลงานเด่น มุ่งสู่“งานวิจัยเพื่ออนาคต”
สกสว. จัดงานมอบรางวัลผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2561 เชิดชูเกียรตินักวิจัยที่ผลิตผลงานสามารถนำไปใช้ประโยชน์และเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมเดินหน้าสู่ความท้าทายในการต่อยอด “งานวิจัยเพื่ออนาคต”
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เดิมคือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดงานมอบโล่เกียรติยศผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2561 ณ โรงแรม อินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติแก่นักวิจัย...
อว. สวทช. จับมือ บ.สกุลฎ์ซีฯ และ CWT ร่วมทุนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีต่อยอดอุตฯ ผลิตยานพาหนะสมัยใหม่แบบครบวงจร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ บริษัท สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำกัด กลุ่มบริษัท โชคนำชัย และบริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จัดพิธีลงนามการร่วมทุนในกิจการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อก้าวสู่การผลิตยานพาหนะสมัยใหม่แบบครบวงจร (Modern Transportation) โดยมี...
สวก. (ARDA) แจงกรอบการวิจัย สวก. พร้อมประกาศปรับบทบาท บริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมการเกษตรทั้งประเทศ
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. (ARDA) ได้จัดการประชุมชี้แจงกรอบการวิจัย สวก. ประจำปีงบประมาณ 2563 ขึ้น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบการให้ทุนสนับสนุนการวิจัย พร้อมชู 7 คลัสเตอร์การเกษตรไฮไลท์ ได้แก่ ข้าว, ปาล์มน้ำมัน, อาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าและความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคและการค้า, พืชสวนพืชไร่, สมุนไพรไทย, สัตว์เศรษฐกิจ และ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ...
ทีมวิจัย มช. เร่งพัฒนาต้นแบบแก๊สเซนเซอร์ แก้ปัญหาการตรวจจับแก๊สเชิงการประยุกต์ให้มีประสิทธิภาพ และมีความจำเพาะสูง
เมื่อเร็วๆนี้ ทีมวิจัย มช. ได้เร่งพัฒนาต้นแบบแก๊สเซนเซอร์โดยพัฒนาโครงสร้างของวัสดุนาโนในรูปแบบใหม่ เพื่อแก้ปัญหาปัจจัยทางเซนเซอร์ให้การตรวจจับแก๊สเชิงการประยุกต์มีประสิทธิภาพและมีความจำเพาะสูง ภายใต้การสนับสนุนของ สกว. และทีมวิจัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ
ปัจจุบันมีการพัฒนาแก๊สเซนเซอร์ให้ใช้งานได้หลากหลาย เพื่อประโยชน์ทั้งด้านอุตสาหกรรม สังคม สิ่งแวดล้อม การแพทย์ และอื่น ๆ ผศ. ดร.ชัยกานต์ เลียวหิรัญ เมธีวิจัย สกว. สังกัดภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าห้องปฏิบัติการเซนเซอร์เคมี ได้ศึกษาถึงกลไกการทำงานเชิงลึกในส่วนสมบัติของการตรวจจับแก๊สหลายรูปแบบด้วยลักษณะของการเปลี่ยนแปลงสมบัติเชิงไฟฟ้า โดยอาศัยความเชี่ยวชาญพิเศษด้านการคิดค้นวัสดุนาโนโลหะออกไซด์และระบบการเจือวัสดุด้วยโลหะตัวเร่งปฏิกิริยาหลายชนิด...
สวทช. จับมือ สภาวิจัยฯ ตุรกี ร่วมกันพัฒนาโจทย์วิจัย มุ่งเน้นเรื่องอาหารปลอดภัย อินเทอร์เน็ต IoT และความหลากหลายทางชีวภาพ
( 22 พ.ย. 2561) ณ อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี - ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามความร่วมมือกับ Prof. Hasan MANDAL (ศ.ฮาซัน แมนเดล) ผู้อำนวยการสภาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศตุรกี (The Scientific and Technological Research...
นักวิจัยไทยเจ๋ง พัฒนาเครื่องอาบเคลือบโลหะแผ่นด้วยแลคเกอร์ ลดต้นทุนการผลิตปีละกว่า 20 ล้านบาท
สกว.จับมือเอกชนหนุนนักวิจัยจุฬาฯ พัฒนาเครื่องอาบเคลือบโลหะแผ่นด้วยแลคเกอร์ เพื่อลดผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพ เวลาสูญเปล่า และการใช้พลังงานสำหรับอุตสาหกรรมกระป๋องโลหะ ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ถึงปีละกว่า 20 ล้านบาท
ปัจจุบัน กระบวนการผลิตกระป๋องโลหะจำเป็นต้องเคลือบผิวกระป๋องด้วยแลคเกอร์ เพื่อป้องกันการกัดกร่อนของเนื้อโลหะด้านในที่สัมผัสกับอาหารที่บรรจุกระป๋อง หรือใช้รองพื้นกระป๋องด้านนอกก่อนการพิมพ์สี หรือเพิ่มความคงทนและความสวยงามของโลหะแผ่นที่พิมพ์สี โดยการเคลือบผิวโลหะแผ่นด้วยแลคเกอร์ดำเนินการโดยใช้เครื่องอาบเคลือบแลคเกอร์ ซึ่งมีขั้นตอนประกอบด้วยการนำแผ่นเหล็กเข้าเครื่อง การอาบเคลือบแลคเกอร์ การอบด้วยความร้อน และการดึงแผ่นเหล็กออกจากเครื่อง
ผลการสำรวจโรงงานพบว่า กระบวนการผลิตมีประสิทธฺภาพต่ำ และมีปัญหาเรื่องคุณภาพของโลหะแผ่นเคลือบแลคเกอร์ ซึ่งจำแนกลักษณะปัญหาได้เป็น 4 เรื่อง คือ น้ำหนักฟิล์มแลคเกอร์ไม่สม่ำเสมอ...
งานวิจัยยางพาราไทยเจ๋ง คว้ารางวัลโลก
เมื่อเร็วๆนี้ มีผลงานวิจัยจากนักวิจัยสงขลานครินทร์ ที่หวังสร้างมูลค่าเพิ่มพืชเศรษฐกิจภาคใต้ “โฟมยางพาราผสมสารล่อแมลง” และ “น้ำมันเช็ดเครื่องสำอางจากน้ำมันเมล็ดยางพารา” ล่าสุดคว้ารางวัลระดับเหรียญทองจากเวทีสิ่งประดิษฐ์นานาชาติที่กรุงโซล
ยางพารา จัดเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยสำคัญ เนื่องจากเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีกำลังผลิตได้มากกว่า 4 ล้านตันต่อปี และมีผลกระทบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น เกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ผลิตยางดิบ อุตสาหกรรมผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งในแต่ละปีราคาผันผวน จึงเป็นเหตุผลทำให้รัฐบาลพยายามสนับสนุนให้ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาแปรรูปยางดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้ในประเทศและส่งออกหลากหลายรูปแบบ
ผลงานวิจัยการพัฒนาโฟมยางพาราผสมสารล่อแมลง เพื่อการควบคุมแมลงวันผลไม้ ของ ผศ.นริศ ท้าวจันทร์...
สร้างนวัตกรรมใหม่ เพิ่มมูลค่ายางพารา พัฒนากาวน้ำผสมน้ำยางธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสร้างผลงานวิจัยและเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อพัฒนางานด้านการเกษตรของประเทศไทยให้มีความทันสมัยสามารถแข่งขันได้กับต่างประเทศ ตลอดจนยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้มีความมั่นคง มั่นคั่งและยั่งยืน สิ่งหนึ่งที่มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญคือ การส่งเสริมให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยสร้างงานวิจัย สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีศักยภาพตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และงานวิจัยมีความพร้อมที่จะให้ภาคเอกชนนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ หรือสร้างผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในยุคปัจจุบันที่ต้องการนำเทคโนโลยีที่สร้างสรรค์ขึ้นจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ไปช่วยในการพัฒนา ผู้ประกอบการของประเทศให้มีความเข้มแข็ง
เมื่อเร็วๆนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ลงนามข้อตกลงอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย "กาวน้ำที่มีส่วนผสม ของน้ำยางธรรมชาติ,ฟีนอลิก เรซิน และกัมโรซินและกรรมวิธีการผลิต"...
ส่องนวัตกรรมยางพารา “ที่น่าลงทุน”
อีกหนึ่งหนทางที่จะเพิ่มราคายางพาราที่กำลังตกต่ำ คือ การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้พัฒนา 5 ผลิตภัณฑ์จากยางพาราที่พร้อมถ่ายทอดสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์
ดร.ลักษมี ปลั่งแสงมาศ ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า ปัจจุบันราคายางตกต่ำยังเป็นปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องเกษตรกร เนื่องจากปริมาณการผลิตยางดิบมีมากกว่าความต้องการของตลาด ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางจากการขายน้ำยางสดและยางดิบลดลง จากที่เคยมีรายได้เดิมมากถึง 50% หรือบางครั้งมากกว่า ซึ่งก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อความเป็นอยู่ของครอบครัวเกษตรกร
"วว. เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) พัฒนายางพาราให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยผลงานดังกล่าวสามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์สำหรับผลิตจำหน่ายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ"...