ทาทา สตีล โชว์ผลประกอบการไตรมาส 4 ธุรกิจเหล็กขาขึ้น ดันรายได้นิวไฮ อวดงบ 12 เดือน กําไรพุ่งแรงชี้ความต้องการเหล็กลวดในประเทศไทยยังคงแข็งแกร่ง เชื่อหากรัฐควบคุมการระบาดโควิด-19 รอบใหม่ได้ ตลาดจะมีแนวโน้มเป็นบวก

นายราจีฟ มังกัล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) TSTH เปิดเผยผลประกอบการ ไตรมาสที่ 4 ของปีการเงิน 2564 (มกราคมมีนาคม 2564) ว่า ปริมาณสินค้าคงคลังในระบบต่ำ อัตราค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น และราคาวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้นทั่วโลก ทําให้ลูกค้ามีการซื้อเพิ่มขึ้นความต้องการสินค้าภายในประเทศของจีนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการซื้อเหล็กแท่งและส่งออกน้อยลง เป็นอีกปัจจัยที่สนับสนุนอุตสาหกรรมเหล็ก ส่งผลกระทบต่อราคาเศษเหล็กให้มีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่ 4 เดือนที่ผ่านมา ราคา เหล็กและวัตถุดิบสูงที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี และสิ่งเดียวกันนี้ก็สะท้อนให้เห็นในตลาดของประเทศไทยด้วยเช่นกัน

การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ทําให้เกิดความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และส่งผลกระทบต่อ ความเชื่อมั่นของตลาดในประเทศไทย ข้อจํากัดในการเดินทางระหว่างประเทศ การค้าและการหยุดชะงักของห่วงโซ่ อุปทานอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการท่องเที่ยวที่ลดลง

นายราจีฟ ยังเสริมว่า เศรษฐกิจไทยในขณะนี้ค่อยๆฟื้นตัว ทางภาครัฐวางแผนการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวโดยการรณรงค์ฉีดวัคซีน นอกจากนี้ ธนาคารยังได้ปรับประมาณการเติบโต ปี 2564 การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและการส่งออกมีสัญญาณเชิงบวก ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ การขาดความชัดเจนในการกระตุ้นเศรษฐกิจและการเงิน เป็นปัจจัยลบที่สำคัญ สำหรับแนวโน้มในอนาคตหนี้สาธารณะใกล้ถึงขีดจำกัดตามกฏหมาย อัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่สามารถปรับลดได้อีก

นายราจีฟ กล่าวว่า ปริมาณขายสินค้าของบริษัทในไตรมาสนี้อยู่ที่ 366,000 ตัน สูงกว่าไตรมาสก่อน โดยมีสาเหตุหลักมาจากปริมาณการขายเหล็กเส้นในประเทศ รายได้จากการขายสูงกว่าไตรมาสก่อนโดยได้รับแรงหนุนจาก ราคาขายที่สูงขึ้น สอดคล้องกับราคาเศษเหล็กที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งปริมาณการขายที่ดีขึ้นสินค้าคงเหลือรวม สิ้นเดือนมีนาคม 2564 เพิ่มขึ้น 944 ล้านบาทเมื่อเทียบกับสิ้นเดือนมีนาคม 2563 จากปริมาณ สินค้าสําเร็จรูปเพื่อรองรับความต้องการของตลาดในช่วงที่โรงงานจะหยุดซ่อมแซมตามแผนในเดือนเมษายน 2554 ในขณะที่ด้านระยะเวลาอยู่ที่ 43 วันเท่ากับปีที่แล้ว

สำหรับผลการดําเนินงานเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนและปีก่อนนั้น รายได้จากการขายและบริการที่เกี่ยวข้อง ปริมาณการขายสินค้าในไตรมาสนี้อยู่ที่ 366,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 และร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลําดับ จากความต้องการสินค้าในประเทศที่ดีขึ้นทั้งเหล็กเส้น เหล็กลวดคาร์บอนกลาง และเหล็กลวดคาร์บอนสูง ส่วนงวด 12 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2564 ปริมาณการขายสินค้าของบริษัทอยู่ที่ 1,303,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสาเหตุหลักมาจากอุปสงค์ในประเทศที่ดีขึ้น แต่ส่วนหนึ่ง ก็ได้รับผลกระทบจากปริมาณส่งออกที่ลดลง

รายได้จากการขายและบริการที่เกี่ยวข้องในไตรมาสนี้อยู่ที่ 7,126 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32 และร้อยละ39 เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาขายสินค้าดีขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกตามการ เพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบ ในช่วง 12 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2564 รายได้จากการขายและบริการที่เกี่ยวข้องอยู่ที่ 22,017 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากปีก่อน ซึ่งสะท้อนถึงอุปสงค์ภายในประเทศที่ดีขึ้น

ด้านผลกําไร (ขาดทุนก่อนภาษีเงินได้ บริษัทรายงานผลกําไรก่อนหักภาษี 417 ล้านบาทในไตรมาสนี้เทียบกับกําไร 131 ล้านบาท ในไตรมาสเดียวกันของปี ก่อน ขณะที่กําไรก่อนหักภาษีในไตรมาสก่อนคือ53 ล้านบาท สําหรับงวด 12 เดือน บริษัทมีกําไร 688 ล้านบาทเทียบกับ กําไร 111 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีก่อนผลการดําเนินงานที่ดีขึ้นในงวดนี้เป็นผลมาจากราคาขายสินค้าที่สูงขึ้นตาม การเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบ และปริมาณการขายสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ราคาแท่งถ่านอิเล็กโทรดและราคาก๊าซธรรมชาติที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ผลการดําเนินงานในงวดนี้ยังรวมผลขาดทุนจากค่าเพื่อการลดลงของมูลค่าทรัพย์สินไม่ใช้งานที่ ถือไว้เพื่อรอการขายจํานวน 117 ล้านบาทด้วย

นาย ราจีฟ กล่าวว่า ในรอบปีการเงินที่ผ่านมา บริษัทได้ริเริ่มดําเนินการที่สำคัญๆ คือ 1.ผลักดันทั้ง 3 โรงงานดําเนินการผลิต on-peak ตั้งแต่พฤศจิกายน 2563 2.ได้สะสมเศษเหล็กจากในประเทศได้มากกว่า100K ตัน/เดือน 3.กระบวนการโอนกิจการทั้งหมดแล้วเสร็จตามแผน 4.พัฒนาสินค้าใหม่ๆ และสินค้าที่มีความพิเศษเฉพาะสําหรับลูกค้าเหล็กลวด 5.เกรดผลิตภัณฑ์ใหม่สําหรับเหล็กเส้นส่งออกของแคนาดา 6. ออกนโยบายการปฏิบัติงานจากที่พัก เพื่อความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

นาย ราจีฟ กล่าวถึงแนวโน้มทิศทางธุรกิจว่า ผลจากการบริโภคเหล็กของไทยที่ดีขึ้นใน ปี 2564 โดยปริมาณการใช้เหล็กโดยรวมเพิ่มขึ้น 6.0% ในช่วง ..-..64 เทียบปีก่อน ส่งผลให้แนวโน้มปริมาณการขายปี 64 ดีที่สุดนับตั้งแต ปี 2560 ทำให้คาดว่า ทิศทางยังสดใสจากอุปสงค์ของเหล็กลวดในประเทศยังคงแข็งแกร่ง เนื่องจากราคานําเข้าจากจีนและต้นทุนขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น โดยความต้องการเหล็กเส้นในประเทศส่วนใหญ่มาจากโครงการของภาครัฐที่กําลังดําเนินการอยู่ เช่น รถไฟความเร็วสูงไทยจีน ความต้องการสําหรับภาคอาคารลดลง ทั้งนี้ การขาดแคลนบรรจุภัณฑ์และต้นทุนขนส่งที่เพิ่มขึ้น ยังคงเป็นข้อกังวลของการส่งออกสินค้าและนำเข้าวัตถุดิบสำคัญ รวมถึงการผ่อนคลายกฎระเบียบการกักตัว และการกระจายวัคซีน มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นความเชื่อมั่นของภาคเอกชน อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อไป

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here