เมื่อเร็วๆนี้ เกษตรกรกว่า 300 ราย ณ ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านหัวไม้ซุง จังหวัดสุพรรณบุรี เข้าร่วมเปิดตัวโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดภาวะโลกร้อนจากการทำนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ “ไทย ไรซ์ นามา “เรียนรู้เทโนโลยีที่ช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน โดยมีนายสุริยัน วิจิตรเลขการ รองผู้อำนวยการโครงการเกษตรกรรมและอาหาร องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) กล่าวต้อนรับ ฯพณฯเอกอัครราชฑูตเกออร์ก ชมิตท์ เอกอัครราชฑูตเยอรมัน ประจำประเทศไทย พร้อมด้วยนางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน

นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กล่าวว่า “โครงการไทย ไรซ์ นามา ผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตข้าวให้กับเกษตรกรจำนวน 100,000 ครัวเรือนในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคกลางได้แก่ จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และสุพรรณบุรี ครอบคลุมพื้นที่ ประมาณ 2.8 ล้านไร่ โดยมีเป้าหมายที่จะปรับเปลี่ยนระบบการทำนาในปัจจุบันไปสู่ระบบการทำนาแบบยั่งยืน”

ทั้งนี้โครงการฯ ได้ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พัฒนาเงินทุนหมุนเวียนเพื่อจ่ายค่าบริการปรับพื้นที่ด้วยระบบเลเซอร์ให้แก่เกษตรกร โดยเกษตรกรสามารถผ่อนชำระคืนภายหลังได้ในระยะเวลา ฤดูปลูก เงินทุนหมุนเวียนนี้จะเชื่อมโยงกับสินเชื่อสีเขียวของ ธ.ก.ส.ซึ่งให้เงินทุนแก่ผู้ประกอบการที่ต้องการซื้อเครื่องจักรกลมาใช้ในกิจกรรมการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

โครงการคาดการณ์ว่า จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 1.73 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซค์เทียบเท่า  เมื่อภาวะโลกร้อนยังคงเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงทั่วทุกมุมโลก

ฯพณฯ เอกอัครราชฑูตเกออร์ก ชมิตท์ กล่าวว่า เมื่อพูดถึงเรื่องภาวะโลกร้อน เราทุกคนต่างตกอยู่ภายใต้สถานการณ์เดียวกัน เกษตรกรเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แต่ในขณะเดียวกัน เกษตรกรเองก็สามารถช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาวะโลกร้อนได้ ผมรู้สึกดีใจที่พวกเราทุกคนร่วมมือกันหาทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำนาภายใต้โครงการไทย ไรซ์ นามา  และแสดงวิธีการผลิตข้าวรูปแบบใหม่ที่จะช่วยดูแลรักษาธรรมชาติ เพิ่มผลผลิตและรายได้ให้กับเกษตรกร”

นายสุริยัน วิจิตรเลขาการ รองผู้อำนวยการโครงการเกษตรกรรมและอาหาร องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย  กล่าวว่า “เทคโนโลยีที่โครงการฯ จะช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตข้าวได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจะมีด้วยกัน วิธี ได้แก่ เทคนิคการปรับหน้าดินด้วยเลเซอร์ซึ่งช่วยทำให้หน้าดินเรียบเสมอกัน ส่งผลให้เกษตรกรสามารถประหยัดค่าสูบน้ำมากถึง 50 เปอร์เซนต์ เทคนิคการทำนาแบบเปียกสลับแห้งที่ช่วยให้ระบบรากข้าว การแตกกอ และความสมบูรณ์ของข้าวดีขึ้น เทคนิคการใส่ปุ๋ยตามคำวิเคราะห์ดิน ช่วยลดต้นทุนการใช้ปริมาณปุ๋ยที่มากเกินความจำเป็น และรักษาแร่ธาตุในดิน ทำให้ดินมีความสมบูรณ์มากขึ้น และวิธีสุดท้ายคือ การจัดการฟางและตอซัง ซึ่งช่วยสนับสนุนให้เกษตรกรหยุดเผาเศษวัสดุเหลือใช้ในนาข้าว ลดฝุ่นละอองและหมอกควันในขณะเดียวกัน เกษตรกรสามารถนำฟางข้าวไปแปรรูปเพิ่มมูลค่าได้ การใช้เทคนิคเหล่านี้นอกจากจะทำให้เกษตรกรลดต้นทุนในการปลูกข้าวแล้ว ยังช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวและได้ข้าวที่มีคุณภาพดีขึ้น อีกทั้งยังมีการสนับสนุนการเข้าถึงตลาดจากภาคธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น”

เผย 4 เทคนิคในการปลูกข้าวลดโลกร้อน

1. เทคโนโลยีการปรับระดับพื้นที่นาด้วยระบบแสงเลเซอร์ (Laser Land Levelling) การปรับพื้นที่นาให้เรียบเสมอกันเป็นพื้นฐานของการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ทำให้การใช้ทรัพยากรการผลิตที่สำคัญ คือ น้ำมีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อน้ำครอบคลุมได้เท่ากันทั่วทั้งแปลงนา ผลคือ ลด ปริมาณการใช้น้ำได้ตลอดฤดูการเพาะปลูก ลดต้นทุน การใช้สารปราบวัชพืช น้ำมัน ค่าแรงงาน รวมทั้งต้นข้าว มีความสม่ำเสมอ ส่งผลให้ได้ผลผลิตเท่ากันทั่วทั้งแปลง   การปรับระดับพื้นที่นาด้วยระบบแสงเลเซอร์ (Laser Land Leveling)  เป็นการปรับพื้นนาในสภาพดินแห้งที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด ในระดับความคลาดเคลื่อนไม่เกิน +/- 2 เซนติเมตร ทั่วทั้งแปลง แม้จะมีต้นทุน ค่าปรับพื้นที่ที่สูงกว่าการปรับโดยใช้ระดับน้ำเป็นเกณฑ์ หรือ การปรับพื้นนาในสภาพมีน้ำท่วมขัง แต่ก็จะสามารถคืนทุนค่าปรับพื้นที่ภายใน 3 ฤดูปลูก

2. การจัดการน้ำในนาแบบเปียกสลับแห้ง (Alternate Wetting and Drying: AWD) มีรายงานผลการวิจัยของกรมการข้าวว่าการจัดการน้ำในนาข้าวที่เหมาะสมจะลดการปล่อยก๊าชเรือน กระจกและสามารถประหยัดน้ำที่ใช้ในการทำนา โดยมีรายละเอียดในเรื่องความสัมพันธ์ของการจัดการน้ำ ตลอดช่วงการเจริญเติบโตของข้าวมีความแตกต่างกัน เทคโนโลยีการปลูกข้าวด้วยการควบคุมระดับน้ำโดยให้น้ำเป็นรอบเวรในช่วงการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ จนกระทั่งข้าวเริ่มกำเนิดช่อดอก  หรือเรียกว่า “การจัดการน้ำในนาแบบเปียกสลับแห้ง”  ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว และลดปริมาณน้ำที่ใช้กับการปลูกข้าวในเขตชลประทาน ได้ร้อยละ 20 – 50 และสามารถลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงได้กว่าร้อยละ 3

3. การจัดการธาตุอาหารพืชและการใช้ปุ๋ย (Site Specific Nutrient Management) วัตถุประสงค์ของการจัดการธาตุอาหารพืช หรือ นาข้าว คือ การใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มธาตุอาหารที่ข้าวขาดแคลน ให้ข้าวได้รับทุกธาตุอย่างเพียงพอและสมดุล ได้ผลผลิตข้าวสูงขึ้น  โดยมีหลักการใส่ปุ๋ยที่ถูกต้อง 4 ประการ ดังนี้ 1. ชนิดปุ๋ยที่ถูกต้อง (Right Kind) 2. อัตราปุ๋ยที่ถูกต้อง (Right Rate) 3. ใช้ปุ๋ยให้ถูกจังหวะเวลา (Right Time) 4. ใส่ปุ๋ยในบริเวณที่ถูกต้อง (Right Place)

การใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง ทั้ง 4 ประการ จะส่งผลดีด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในระยะยาว กล่าวคือ ด้านเศรษฐกิจ ชาวนาจะมีต้นทุนการผลิตที่ลดลง มีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อทำกันอย่างกว้างขวางย่อมทำ ให้ภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น และก่อให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ ของท้องถิ่น อันเป็นผล ต่อเนื่องด้านสังคม ที่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นในทุกๆ ด้าน เกษตรกรมีกำลังทรัพย์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพ การผลิต สำหรับผลดีด้านสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นการลดการสูญเสียธาตุอาหารจากฟาร์มไปสู่สิ่งแวดล้อม  และการ ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่เหมาะสม ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก เพื่อให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและลดปัญหาการปล่อยก๊าชมีเทนในนาข้าว จึงแนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวอย่างถูกต้อง ตามค่าวิเคราะห์ดินทางเคมี ซึ่งการวิเคราะห์ดินก่อนปลูก ข้าว เป็นการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินล่วงหน้า ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเชื่อมโยงกับข้อมูลดินในระดับกลุ่มชุด ดินของกรมพัฒนาที่ดิน อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวได้อย่างยั่งยืนบนพื้นฐานข้อมูลทางวิชาการที่ สอดคล้องกับสภาพพื้นที่

4. การจัดการฟางและตอซัง (Straw and Stubble Management) การเผาฟางในนาข้าวก่อให้เกิดความเสียหายหลายประการ ทั้งสภาพแวดล้อม และ ภาวะเรือนกระจก  ควันจากการเผาฟางเป็นสาเหตุหนึ่งของอุบัติเหตุบนท้องถนน ความร้อน และฝุ่นละอองจากขี้เถ้าที่พัดมากับลม เป็นมลพิษเช่นเดียวกับควัน และที่สำคัญที่สุด คือ ฟางข้าว ซึ่งเป็นอินทรียวัตถุที่มีธาตุอาหารพืช เป็น องค์ประกอบโดยมีธาตุอาหารพืช เช่น ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โปรแทสเซียม เมื่อฟางข้าวถูกเผา ธาตุ อาหารเหล่านี้จะสูญเสียไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งไนโตรเจนสูญหายไป 93% และฟอสฟอรัส สูญหายไป 20%  จึงทำให้ดินเสื่อมโทรมลงไปจากการทำนาและเผาฟางอย่างต่อเนื่อง  นอกจากนี้การทำนาแบบไม่เผาตอซังยังช่วย ในการอนุรักษ์ดินไม่ทำให้ดินเสื่อม และทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้นจากเศษตอซังข้าวและวัชพืชที่อยู่ในแปลง นาอีกด้วยการเอาฟางออกจากแปลงนาก่อนการเตรียมดิน ด้วยการอัดฟางก้อน เป็นอาหารสัตว์ หรือเป็นวัสดุ เพาะ การไถกลบตอซังข้าวก่อนการเตรียมดิน ให้ทำการไถกลบตอซัง แล้วปล่อยทิ้งไว้ 1 เดือนก่อนการเตรียม ดินมีแนวโน้มให้ผลผลิตข้าวสูงกว่าข้าวที่ปลูกในแปลงที่มีการเผาฟาง และเอาฟางออกจากแปลงก่อนการ เตรียมดิน การไถกลบตอซังแล้วปล่อยทิ้งไว้ 15 วัน ในสภาพดินแห้งถึงชื้นจึงเตรียมดินปลูกข้าวสามารถลดการใช้ ปุ๋ยเคมีในนาข้าวลงได้ในฤดูที่ 2 และฤดูต่อๆ ไป โดยข้าวให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน

อนึ่ง โครงการไทย ไรซ์ นามา เป็นโครงการที่เกิดขึ้นมาภายใต้ความร่วมมือหลักระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน(GIZ) ประจำประเทศไทย ได้รับทุนการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 14.9 ล้านยูโร (คิดเป็นเงินไทย 530 ล้านบาท) จากรัฐบาลประเทศเยอรมนี  รัฐบาลสหราชอาณาจักร รัฐบาลเดนมาร์ก และสหภาพยุโรป ผ่าน nama facilily มีระยะเวลาดำเนินโครงการ ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2561-2566   

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here